Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: โกฐชฎามังษี

โกฐชฎามังษี thai-herbs.thdata.co | โกฐชฎามังษี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: โกฐชฎามังสี โกฐชฎามังษี โกฐจุฬารส

ชื่อสามัญ: Jatamansi spikenard

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nardostachys grandiflora DC.

ชื่อวงศ์: CAPRIFOLIACEAE

สกุล: Nardostachys

สปีชีส์: jatamansi

ชื่อพ้อง:

-Fedia grandiflora Wall. ex DC.

-Nardostachys jatamansi (D.Don) DC.

-Patrinia jatamansi D.Don

-Valeriana jatamansi D.Don

-Nardostachys chinensis

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

โกฐชฎามังษี thai-herbs.thdata.co | โกฐชฎามังษี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นโกฐชฎามังสี เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูง 5-50 เซนติเมตร เป็นพืชที่ลงหัว มีเหง้าแข็งและมีก้านใบติดอยู่เป็นจำนวนมาก มีขนขึ้นปกคลุมในบริเวณลำต้นและใบ

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ขอบใบเรียบ

โกฐชฎามังษี thai-herbs.thdata.co | โกฐชฎามังษี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ดอก ออกดอกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 10-20 ซม. มีดอกย่อยออกเป็นกระจุกอยู่ที่ตรงส่วนปลาย ที่ใบประดับจะมีขนปกคลุมอยู่ ดอกย่อยมีสีชมพูอมม่วง ตรงโคนกลีบดอกจะเชื่อมกันเป็นหลอด

      ผล เป็นแบบยาวและมีขนสีขาวปกคลุม

โกฐชฎามังษี thai-herbs.thdata.co | โกฐชฎามังษี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ราก (โกฐชฎามังสี) มีลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง รูปทรงกระบอกยาว 2.5-7.5 เซนติเมตร สีน้ำตาลเข้ม มีรากย่อยสีน้ำตาลแกมแดงปกคลุมเป็นเส้นยาว อยู่โดยรอบหนาแน่น เหง้าเปราะ รอยหักสีน้ำตาลแกมสีแดง รากมีรสสุขุม ขม กลิ่นหอม มีกลิ่นแรงเฉพาะตัว  รสเผ็ดและขมเล็กน้อย

สภาพนิเวศวิทยา: ป่าบนดินหินที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 3,000-4,500 เมตร

ถิ่นกำเนิด: บริเวณเทือกเขาหิมาลัย

การกระจายพันธุ์: บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศอินเดีย เนปาล ภูฏาน จีน เมียนมาร์

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด, การใช้เหง้าปลูก

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

      *ราก รสเผ็ดและขมเล็กน้อย สรรพคุณ เป็นยากระจายหนองที่เป็นก้อนอยู่ในร่างกาย ขับพยาธิออกจากร่างกาย แก้ไส้ด้วนไส้ลาม คือแผลเนื้อร้ายกินแต่ปลายองคชาติเข้าไปและองค์กำเนิดบวม ขับโลหิตระดูเน่าเสีย ขับประจำเดือน แก้ดีพิการ ช่วยย่อยอาหาร แก้พิษทั้งปวง แก้แผลเนื้อร้าย แก้รัตตะปิตตะโรค แก้โลหิตอันเกิดแต่กองปิตตะสมุฏฐาน แก้โรคปากในคอ ขับลม 

-พิกัดยา ประกอบด้วย

      1.“พิกัดโกฐทั้ง 5” ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต

      2.“พิกัดโกฐทั้ง 7” (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก

      3.“พิกัดโกฐทั้ง 9”  (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้โกฐชฎามังสีในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่   

      1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐชฎามังสีอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์: -



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง