Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ยาดำ

ชื่อท้องถิ่น: หางตะเข้ (ภาคกลาง)/ ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ 

ชื่อสามัญ: Aloe, Aloe vera, Aloin, Barbados, Jafferabad, Star cactus

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aloe vera (L.) Burm.f.

ชื่อวงศ์: XANTHORRHOEACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย ASPHODELOIDEAE

สกุล: Aloe 

สปีชีส์: vera 

ชื่อพ้อง: 

-Aloe barbadensis Mill.

-Aloe chinensis Loudon

-Aloe elongata Murray

-Aloe flava Pers.

-Aloe indica Royle

-Aloe lanzae Tod.

-Aloe maculata Forssk.

-Aloe perfoliata var. barbadensis (Mill.) Aiton

-Aloe perfoliata var. vera L.

-Aloe rubescens DC.

-Aloe variegata Forssk.

-Aloe vera var. littoralis J.Koenig ex Baker

Aloe vulgaris Lam.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ยาดำ thai-herbs.thdata.co | ยาดำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นว่านหางจระเข้ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นสั้น ใบเรียงซ้อนเป็นกอ ข้อและปล้องสั้น สูงประมาณ 0.5-1 เมตร ต้นแก่จะมีหน่อเล็กๆของต้นอ่อนแตกออกมา 


ยาดำ thai-herbs.thdata.co | ยาดำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนถี่รอบต้น กว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-80 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกว้าง สีเขียวอ่อนหรือเขียวเข้ม ด้านหน้าแบน ด้านหลังโค้งนูน ใบอ่อนมีประสีขาว ขอบใบมีหนามแหลมเล็กขึ้นห่างๆกัน ผิวใบหนา เนื้อใบหนาอวบน้ำมาก ภายในเนื้อใบมีวุ้นใสเป็นเมือก เมื่อกรีดลงไปบริเวณโคนใบจะมีน้ำยางใสสีเหลืองไหลออกมา นำน้ำยางสีเหลืองที่รวบรวมได้ไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนข้นเหนียว แล้วผึ่งแดดให้แห้ง จะแข็งกลายเป็นก้อนสีแดงน้ำตาลจนถึงดำ เปราะ ผิวมัน ทึบแสง รสขมเหม็นเบื่อ ชวนคลื่นไส้อาเจียน กลิ่นฉุน (ยาดำ)


ยาดำ thai-herbs.thdata.co | ยาดำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ยาดำ thai-herbs.thdata.co | ยาดำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ดอกออกเป็นช่อตั้งยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร แทงช่อออกจากกลางต้น ก้านชูช่อดอกยาว ดอกย่อยเป็นหลอดห้อยลง รูปแตร กลีบดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ดอกสีส้มไม้ล้มลุกอ่อน บานจากล่างขึ้นบน แต่ละดอก กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร 

ผล ลักษณะเป็นเป็นผลแห้ง แตกได้ รูปกระสวย 

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ทวีปแอฟริกาใต้

การกระจายพันธุ์: โอมาน, แอลจีเรีย, แอริโซนา, อารูบา, กาะอัสเซนชัน, อัสสัม, บาฮามาส, หมู่เกาะแบลีแอริก, บังกลาเทศ, เบอร์มิวดา, โบลิเวีย, เคปเวิร์ด,หมู่เกาะเคย์แมน, จีนตอนใต้-กลาง,เกาะคุก, คอสตาริกา, คิวบา, ไซปรัส, สาธารณรัฐโดมินิกัน, ทะเลอีเจียนตะวันออก,เอกวาดอร์, เอลซัลวาดอร์, เอธิโอเปีย, ฟลอริดา, กาลาปากอส, กรีซ, กัวเตมาลา, รัฐอ่าว, เฮติ, ฮาวาย, ฮอนดูรัส, อินเดีย, อิตาลี, จาเมกา, หมู่เกาะฆวนเฟร์นันเดซ, ครีต, เลบานอน-ซีเรีย, เกาะลีวาร์ด, ลิเบีย, มาเดรา, มอริเชียส, เม็กซิโกกลาง, อ่าวเม็กซิโก, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงเหนือ, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงเหนือ, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้, โมร็อกโก, เนปาล, เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส, นิการากัว, ปากีสถาน, ปาเลสไตน์, เปรู, โปรตุเกส, เปอร์โตริโก, ควีนส์แลนด์, เรอูนียง, ซาอุดีอาระเบีย, ซิซิเลีย, สเปน, ศรีลังกา, เซนต์เฮเลนา, เท็กซัส, ไทย, ตรินิแดด-โตเบโก, ตูนิเซีย, ตุรกี, หมู่เกาะเติกส์-เคคอส, เวเนซุเอลา, แอนทิลลิสเวเนซุเอลา, หมู่เกาะวินด์เวิร์ด, เยเมน

ยาดำ thai-herbs.thdata.co | ยาดำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ยาดำ  รสเหม็นขมจัด สรรพคุณ ถ่ายท้อง ถ่ายพิษไข้ ถ่ายพยาธิไส้เดือน ตัวตืด ขับน้ำดี แต่ไซ้ท้อง ฝนกับสุราทาหัวฝี แก้อาการฟกบวม

องค์ประกอบทางเคมี: 

-วุ้นจากใบ  สารกลุ่ม Glycolipids  เช่น aloctin A, B มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล แต่สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อน

-ยาดำ (น้ำยางสีเหลืองที่เคี่ยวน้ำออกหมดจนเป็นก้อนสีดำ) คือ สารกลุ่ม Anthraquinone เช่น aloin, barbaloin (aloe-emodin), chrysophanic acid ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย ยาถ่าย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคริดสีดวงทวาร ใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น แล้วเหลาให้เป็นปลายแหลมเล็กน้อย และนำไปแช่ตู้เย็นหรือน้ำแข็งจนเนื้อแข็ง แล้วนำไปใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ควรหมั่นทำเป็นประจำวันละ 1-2 ครั้งจนกว่าจะหาย 

-อาการแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลสด ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน ใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้นหรือนำไปปั่น มาทาบริเวณที่มีอาการจนกว่าจะหายดี เนื่องจากในว่านหางจระเข้ Aloctin A เป็น Anti-inflammatory ที่ช่วยรักษาบาดแผลและรอยแผลเป็นได้ 

-อาการแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันและลดการเกิดแผลในกระเพาะขณะท้องว่าง ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ ใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำมารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ

-อาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด หรือไหม้เกรียมจากการฉายรังสี หรือแผลเรื้อรังจากการฉายรังสี โช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำไปปั่นแล้วเอาทาผิวบริเวณที่มีอาการเป็นประจำ จะช่วยลดการอักเสบ หรือใช้ผสมร่วมกับกับน้ำมะกอก ออยด์ หรือโลชั่น

-อาการษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของสิว ช่วยลดรอยดำจากสิว และช่วยลดความมันบนใบหน้า เพราะในใบว่างหางจระเข้จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำมาทาที่ผิววันละ 2 ครั้งหลังอาบน้ำ ทำต่อเนื่องสม่ำเสมอ

-อาการท้องลายหลังคลอด ใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำมาทาบริเวณท้องเป็นประจำทั้งในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด

-ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น มารับประทานสด ๆ หรือทำเป็นน้ำปั่นว่านหางจระเข้มาดื่ม

-ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้นนำไปปั่น แล้วเอาทาผิวก่อนออกแดด หรือใช้ผสมร่วมกับน้ำมะกอก ออยด์ หรือโลชั่น

-ช่วยในการย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ ช่วยในการดีท็อกซ์ล้างสารพิษในร่างกาย เนื่องจากมีเส้านใยอาหารจำนวนมาก ใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้นหรือนำไปปั่น หรือผสมกับผัก ผลไม้ที่ต้องการเพื่อรสชาติและคุณประโยชน์ที่มากขึ้น

-ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยทำให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม ดูชุ่มชื้น แก้ปัญหาผิวแห้งกร้านตามหัวเข่า, ข้อศอก หรือส้นเท้าได้ ใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้นลงไปในอ่างอาบน้ำ ในระหว่างอาบให้ใช้เนื้อวุ้นถูตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ต้องการ หากทำเป็นประจำก็จะช่วยทำให้ผิวพรรณของคุณเนียนนุ่มชื่นชื้นและเต่งตึงได้

-ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล จากวารสารแพทย์อังกฤษตีพิมพ์ในปี 2000 (British medical journal) ระบุว่าสารสกัดจากว่านหางจระเข้สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมความดันโลหิตและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และอาจจะมีความเป็นไปได้ว่ามันสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย

-ใบว่านหางจระเข้ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมไปถึงกรดอะมิโนอีกหลายชนิดที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุแมงกานีส ธาตุซีลีเนียม ธาตุโครเมียม วิตามินเอ วิตามินซี วิตามิอี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 โคลีน และยังเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่มีวิตามินบี 

-ใบว่านหางจระเข้ สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่าง ๆ เช่น โลชัน สบู่ แชมพู ครีมบำรุงผิว ครีมทาใต้ตา ครีมรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ ครีมทาแผลสดแผลพุพอง เจลว่านหางจระเข้ เจลทรีตเมนต์บำรุงผิวหน้า ฯลฯ ผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น น้ำวุ้นลอยแก้ว วุ้นแช่อิ่ม เป็นต้น

-ในฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ร่วมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า ในการรักษาผมร่วงหรือหนังศีรษะล้าน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง