Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ดองดึง

ชื่อท้องถิ่น: ช่น ก้ามปู (ชัยนาท)/ หมอยหีย่า (อุดรธานี)/ดาวดึง หัวขวาน หัวฟาน พันมหา (ภาคอีสาน)/ พันมหา (นครราชสีมา)/ คมขวาน หัวขวาน บ้องขวาน (ชลบุรี)/ ดาวดึงส์ ว่านก้ามปู (ภาคกลาง)/ มะขาโก้ง (ภาคเหนือ)

ชื่อสามัญ: Climbing lily, Turk’s cap, Superb lily, Flame lily, Gloriosa lily

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gloriosa superba L.

ชื่อวงศ์: COLCHICACEAE

สกุล: Gloriosa 

สปีชีส์: superba

ชื่อพ้อง: 

-Eugone superba (L.) Salisb.

-Gloriosa angulata Schumach.

-Gloriosa cirrhifolia Stokes

-Gloriosa doniana Schult. & Schult.f.

-Gloriosa nepalensis G.Don

-Gloriosa rockefelleriana Stehlé & M.Stehlé

-Gloriosa rothschildiana O’Brien

-Gloriosa verschuurii Hoog

-Methonica doniana (Schult. & Schult.f.) Kunth

-Methonica gloriosa Salisb.

-Methonica superba (L.) Crantz

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ดองดึง thai-herbs.thdata.co | ดองดึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดองดึง thai-herbs.thdata.co | ดองดึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นดองดึง เป็นไม้เถาล้มลุก ที่มีลำต้น 2 ส่วน คือ ลำต้นใต้ดิน และลำต้นเหนือดิน โดยลำต้นใต้ดินมักเรียกว่า เหง้าหรือหัว ที่มีลักษณะรูปตัววีหรือรูปขวาน ซึ่งมีลักษณะทรงกระบอก 2 อัน หรือ 2 แง่ง มาเชื่อมต่อกัน หรือบางครั้งอาจพบ 2 หัว หรือ 4 แง่งก็ได้ เปลือกหัวบาง มีสีน้ำตาลอมแดง ส่วนเนื้อด้านในมีลักษณะเป็นแป้ง สีขาวนวล แข็งเล็กน้อย โดยบริเวณเชื่อมต่อของแงหรือที่พับเป็นตัววีจะมีตาที่เป็นจุดเติบโตของต้นอ่อนให้โผล่ขึ้นดิน ซึ่งหากบริเวณนี้หักออกเป็น 2 ท่อน ก็จะทำให้หัวไม่สามารถแทงยอดอ่อนได้ ส่วนลำต้นเหนือดิน เป็นส่วนที่ต่อมาจากเหง้าใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดตามต้นไม้หรือพุ่มไม้ที่พาดยาวได้มากกว่า 5 เมตร และมีขนาดเถาประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร เถาของดองดึงมักแตกกิ่งที่ความสูงหรือความยาวของเถาประมาณ 60-100 เซนติเมตร จำนวนกิ่งแต่ละต้นประมาณ 3-8 กิ่ง แต่ละกิ่งจะมีช่วงห่างของข้อหรือจุดแตกใบประมาณ 1-3 เซนติเมตร


ดองดึง thai-herbs.thdata.co | ดองดึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ หรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ไร้ก้าน ปลายใบแหลมยืดยาวออกทำหน้าที่เป็นมือเกาะ โคนใบมน เส้นใบขนานกันไปสิ้นสุดที่ปลายใบ หลังใบและท้องใบเรียบ ขอบใบเรียบ


ดองดึง thai-herbs.thdata.co | ดองดึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเดี่ยว ขนาดใหญ่ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายเถา สีเหลืองปลายกลีบสีแดง โคนกลีบเมื่อบานใหม่ๆมีสีเหลือง เมื่อดอกบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงทั้งดอก  มีกลีบ 6 กลีบ สีเขียวอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวและแดง กลีบรูปแถบ เรียวยาวประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร โค้งกลับไปทางก้านดอก ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกศรเพศผู้มี 6 อัน ชี้ออกเป็นรัศมีตามแนวนอน ก้านยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร อับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านเกสรเพศเมีย ยาวประมาณ 0.3-0.7 เซนติเมตร แยกเป็น 3 แฉก ก้านดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร


ดองดึง thai-herbs.thdata.co | ดองดึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นทรงกระบอก ขั้วผลสอบแหลม ปลายผลขยายใหญ่ และทู่มน ขนาดผลกว้างสุดประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ผิวเปลือกไม่เรียบ และมีร่องหรือพูตามแนวยาวของผล 3 ร่อง/พู โดยผลดิบมีสีเขียวอ่อน ผลสุกมีสีเหลืองอมเขียว รูปขอบขนาน ถัดมาด้านในจะมีเมล็ดจำนวนมาก 30-50 เมล็ด/ฝัก ขึ้นอยู่กับขนาดฝัก แต่ละเมล็ดมีลักษณะทรงกลม และแข็ง เมล็ดอ่อนมีสีขาว และฉ่ำน้ำ เมล็ดแก่หรือสุกมีสีแดงอมส้ม ขนาดเมล็ด 2-3 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามที่โล่ง ชายป่า ดินปนทราย สามารถขึ้นได้บนดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จนถึงระดับความสูง 2500 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนและทางใต้ของแอฟริกาและในเอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

ดองดึง thai-herbs.thdata.co | ดองดึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสร้อนเมา สรรพคุณ แก้โรคเรื้อน คุดทะราด แก้ปวดข้อ (รูมาติซั่ม) แก้กามโรค แก้พิษสัตว์กัดต่อย 

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ราก พบสาร colchicine, superbine, gloriosine และแอลคาลอยด์

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-หง้าดองดึงเป็นพิษโดยเป็นพิษต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร อาการของพิษจะเกิดเมื่อกินสารนี้เข้าไปประมาณ 2 ชั่วโมง จะรู้สึกแสบร้อนในปากและลำคอ คอแห้ง กระหายน้ำ โดยมีอาการเจ็บปวดตามตัว ปากและผิวหนังชา คลื่นไส้อย่างรุนแรง ท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระมีเลือดปน ปวดท้องปวดเบ่งแต่ไม่มีอุจจาระออกมา หายใจลำบาก กลืนไม่ลง ชัก หมดสติเนื่องจากร่างกายเสียน้ำมาก ตัวเย็น และอาจตายได้ใน 3-20 ชั่วโมง อุณหภูมิร่างกายจะลดลงต่ำมากก่อนเสียชีวิต จึงไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปนำมาใช้เอง ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ในการแพทย์แผนปัจจุบันใช้เหง้า สกัดเป็นสารบริสุทธิ์ ซึ่งมีแอลคาลอยด์ colchicines ทำเป็นยาเม็ดรักษาโรคเกาต์ (ปวดข้อ)

การใช้ประโยชน์:

-หัว มีสารอัลคลอลอย์ดหลายชนิดที่มีพิษถึงเสียชีวิตโดยเฉพาะสาร colchicines ถ้าใช้ในปริมาณน้อยสามารถใช้รักษาโรคเก๊าและมะเร็งได้

-อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้หัวนำมาต้มแล้วรับประทานแก้อาหาร

-อาการพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้หัวและรากนำมาฝนใช้ทาแก้พิษงู พิษแมงป่อง ตะขาบกัด

-อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ใช้หัวนำมาตำแล้วใช้ทาบริเวณที่มีอาการ มีสรรพคุณช่วยแก้โรคปวดข้อ แก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ

-เมล็ดและหัว นำมาโขลกให้ละเอียด ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ ส่วนหัวของดองดึงมีพิษถึงตาย

-ปลูกเป็นไม้เลื้อยกระถางหรือปลูกเลื้อยคลุมซุ้ม ใช้เป็นไม้ตัดดอก ปักแจกันได้นานหลายวัน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง