Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เทียนตากบ

ชื่อท้องถิ่น: หอมป้อม (ภาคเหนือ), ยี่หร่า (ไทย), เก๋อโหลวจื่อ จ้างหุยเซียง (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Caraway, Caraway fruit, Caraway seed, Karawya, Kummel

ชื่อวิทยาศาสตร์: Carum carvi L. 

ชื่อวงศ์:  APIACEAE-UMBELLIFERAE

สกุล: Carum 

สปีชีส์: carvi 

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นเทียนตากบ เป็นไม้ล้มลุก อายุ 2 ขึ้นไป มีความสูงของต้นประมาณ 30-80 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม ลำต้นมีลักษณะกลม ตั้งตรง สีเทาอมน้ำตาล เนื้อนิ่ม แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็กบริเวณยอดต้น ลักษณะคดงอ กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกจะแตกกิ่งก้านสาขาและในช่วงปีที่สองจะออกดอกและผล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง


เทียนตากบ thai-herbs.thdata.co | เทียนตากบ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ใบย่อยมีลักษณะคล้ายกับใบสนแผง ปลายใบแหลม ใบเป็นสีเขียวสด ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ก้านใบยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร โคนลำต้นมีกาบหุ้มขนาดใหญ่สีน้ำตาล


เทียนตากบ thai-herbs.thdata.co | เทียนตากบ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ในหนึ่งช่อจะมีก้านดอกประมาณ 8-16 ก้าน ทุกก้านจะมีกาบใบเป็นเส้นห่อหุ้มอยู่ 1-3 ใบ ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาวหรือสีขาวอมชมพู มีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกยาวไม่เกิน 1 มิลลิเมตร กลางดอกมีเกสรเพศผู้ขนาดเล็ก 5 อัน


เทียนตากบ thai-herbs.thdata.co | เทียนตากบ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล (ทียนตากบ) ผลจะออกบริเวณดอก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมยาว มีเส้นนูนคล้ายสัน มีร่อง 5 ร่อง เรียงเป็นคู่ เมล็ดมีเหลี่ยมห้าเหลี่ยม สีเหลือง มีกลิ่นหอมมากกว่าส่วนอื่น ๆ 

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เมล็ด รสเผ็ดร้อนขมหอม ขับลมในลำไส้ให้ผายเรอ แก้กระเพาะอาหารพิการ กำเริบ หย่อน พิการ

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดเนาวเทียน” ได้แก่ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวพาณี เทียนตากบ เทียนเกล็ดหอย สรรพคุณ แก้ลม เสมหะแบะดีระคนกัน แก้พิษโลหิต แก้ทางปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้มุตกิด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ลมในท้อ  แก้พรรดึก แก้ลมครรภ์รักษา

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้เทียนตกบ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมทิพโอสถ” มีส่วนประกอบของเทียนตากบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน “ยาหอมเทพจิตร” มีส่วนประกอบของเทียนตากบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย (อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม) ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของเทียนตากบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร “ยาหอมอินทจักร์” มีส่วนประกอบของเทียนตากบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ผล พบน้ำมันและน้ำมันระเหย 3.5-7% ในน้ำมันพบ Caraway oil ในน้ำมันระเหยพบ d-Carvone, d-Limonene ประมาณ 50-60% เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์กระตุ้นลำไส้ เมื่อนำสาร Caraway oil มาให้กระต่ายกิน พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นลำไส้ของกระต่ายให้บีบตัวแรงขึ้น จึงใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ได้ และยังช่วยทำให้มีการผลิตน้ำย่อยในกระเพาะและลำไส้ของกระต่ายให้มีมากขึ้นอีกด้วย

-ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus สาร Caraway oil มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus และเชื้อในลำไส้ใหญ่บางชนิด และยังสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียได้บางชนิดอีกด้วย

สารสกัดจากผลเทียนตากบในความเข้มข้น 1 ต่อ 1,000 สามารถฆ่าพยาธิใบไม้ในตับได้

-ฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ น้ำมันเทียนตากบมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในหลอดทดลองและฆ่าตัวอ่อนของแมลง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ระงับอาการเกร็งในสัตว์ทดลองอีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-เมล็ด นำมาใช้เป็นเครื่องเทศประจำบ้านได้ โดยนิยมนำใช้แต่งกลิ่นขนมผิง ขนมปัง ขนมเค้ก ขนมนึ่ง ลูกกวาด เนื้อ อาหารแช่แข็ง เครื่องดื่มทั้งที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารอื่น ๆ]

-น้ำมันจากเมล็ด ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ยาสีฟัน ยาอมบ้วนปาก น้ำหอม ยาทาบำรุงผิว สบู่ ครีม ฯลฯ





ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง