Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หางไหลขาว

ชื่อท้องถิ่น: ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Derris malaccensis Prain

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Derris 

สปีชีส์: malaccensis

ชื่อพ้อง: Derris cuneifolia var. malaccensis Benth.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นหางไหลขาว เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เถาหรือลำต้นมีลักษณะกลม โดยเถาที่แก่จะมีสีเทา ส่วนเถาอ่อนและบริเวณเถาใกล้ๆปลายยอดจะมีสีเขียวซึ่งจะเห็นได้ชัดตรงปล้องที่อยู่ก่อนถึงยอดประมาณ 2-3 ปล้อง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่เรียงสลับ ยาวประมาณ 22.5-37.5 เซนติเมตร โดยจะมีใบย่อยสีเขียว 9-13 ใบ แต่ส่วนมากจะพบ 9 ใบ โดยใบจะเกิดเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ซึ่งใบคู่แรก (นับจากโคนก้านใบ) จะมีขนาดเล็กที่สุดและเริ่มใหญ่ขึ้นเป็นลำดับจนถึงใบสุดท้ายที่อยู่ตรงยอดจะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งมีขนาดของใบใหญ่ที่สุดลักษณะของใบจะเป็นรูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้างประมาณ 2.5-3.5  เซนติเมตร ยาวประมาณ 7.5-15  เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ พื้นใบด้านบนเป็นสีเขียวมัน มองเห็นเส้นแขนงลักษณะด้านท้องใบมีสีเขียวและเห็นเส้นใบชัดกว่าด้านบน ใบอ่อนและยอดอ่อนจะมีสีเหลืองอ่อนออกเขียวและปกคลุมไปด้วยขนสั้นๆ 

ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกแคฝรั่งซึ่งช่อดอกแต่ละช่อมีความยาวประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร มีขนสั้นหนานุ่ม ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบล่างเป็นรูปโล่ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูประฆัง กลีบเลี้ยงยาวได้ถึงประมาณ 6 มิลลิเมตร  ดอกเป็นสีชมพูอมม่วง เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีชมพูอ่อนและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว 

ผล ลักษณะผลออกเป็นฝักลักษณะแบนรูปขอบขนานปลายแหลม กว้าง 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3.5-8.5 เซนติเมตร ตะเข็บบนจะแผ่เป็นปีก ฝักอ่อนมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่ และปริแตกเมื่อฝักแห้ง ภายในมีเมล็ดลักษณะกลมแบนเล็กน้อย 1-4 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: ป่าดงดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสเอียนเล็กน้อย สรรพคุณ ถ่ายเสมหะและโลหิต ถ่ายลม ถ่ายเส้นเอ็น

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ราก ใช้เป็นยาฆ่าแมลงตัวหนอนที่เกาะกินผัก ด้วยการนำรากมาทุบ ๆ ผสมกับน้ำ พอให้ขุ่นขาว แล้วนำมารดพืชผักในสวนผัก จะช่วยฆ่าแมลงและตัวหนอนได้ และใช้เป็นยาเบื่อปลาได้อีกด้วย

-ราก ใช้ผสมกับสบู่และน้ำสำหรับใช้ฆ่าสัตว์ เช่น หิดและเหาได้เป็นอย่างดี



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง