Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ตะโกสวน (ตะโกไทย)

ชื่อท้องถิ่น: ตะโกสวน ปลาบ (เพชรบุรี)/ ตะโกไทย (กลาง)/ มะเขือเถื่อน (สกลนคร)/ มะสุลัวะ (กะเหรี่ยง-ลำปาง)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Diospyros malabarica (Desr.) Kostel.

ชื่อวงศ์: EBENACEAE

สกุล:  Diospyros 

สปีชีส์: malabarica

ชื่อพ้อง: 

-Diospyros embryopteris Pers

-Diospyros peregrina (Gaertn.) Gürke

-Embryopteris peregrina Gaertn.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ตะโกสวน thai-herbs.thdata.co | ตะโกสวน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นตะโกสวน เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเป็นสีดำมีแต้มสีขาว เนื้อในเปลือกเป็นสีแดงเข้ม 


ตะโกสวน thai-herbs.thdata.co | ตะโกสวน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนเป็นสีแดง ลักษณะของใบแคบรูปขอบขนาน ปลายใบค่อนข้างแหลม ปลายใบแหลมมน โคนใบโค้งมน ใบมีขนาด กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง และเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นใบมี 10-18 คู่ เส้นคดไปมา นูนเห็นได้ชัดทางด้านล่าง เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห เห็นได้ชัดทางด้านบน ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร 


ตะโกสวน thai-herbs.thdata.co | ตะโกสวน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นสีขาวจนถึงสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกตามซอกใบ ดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นช่อ ช่อละประมาณ 2-7 ดอก กลีบเลี้ยงมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุม มี 4 แฉก ลักษณะเป็นรูปไข่กว้างและกลีบดอกเป็นหลอดกว้าง ส่วนดอกเพศเมียมักจะออกเป็นดอกเดี่ยวและมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงมีขนขึ้นปกคลุม ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่กว้าง และกลีบดอกเป็นรูประฆัง


ตะโกสวน thai-herbs.thdata.co | ตะโกสวน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล มีลักษณะกลม มีเกล็ดที่หลุดร่วงได้ง่ายขึ้นปกคลุม ผลมีขนาดโตคล้ายผลตะโกนา แต่จะโตและยาวกว่า โดยจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 เซนติเมตร ผลดิบมียางมากและมีรสฝาด ผลสุกเป็นสีส้มเหลือง เนื้อค่อนข้างเละ กลีบจุกผลมีขนสีน้ำตาลทั้ง 2 ด้าน กลีบพับกลีบ ขอบกลีบเป็นคลื่น เส้นกลีบไม่ปรากฏชัด ก้านผลยาว 2-12 มิลลิเมตร ภายในผลมีเมล็ดฝังอยู่ในเนื้อ 8 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลดำทรงรีแป้น มีขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร 

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าไม้ ป่าเบญจพรรณและมีปลูกตามเรือกสวนไร่นาทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้นและลูกอ่อน รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด สมานแผล

องค์ประกอบทางเคมี: 

-สารสำคัญที่พบ ได้แก่ amyrin, betulin, cystine, daucosterol, diospyros, flavanone, glucopyranosyl, gallic acid, hexacosane, leucopelargonidin, linoleic acid, linolenic acid, lupeol, marsformosanone, myristic acid, nonadecan-7-ol-2-one, oleanolic acid, peregrinol, raffinose, sitosterol, L-sorbose

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อปี ค.ศ.1973 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้พืชสมุนไพรหลายชนิด ซึ่งมีตะโกสวนเป็นสมุนไพรตัวหนึ่ง จากการทดลองพบว่า สารสกัดจากเปลือกต้นตะโกสวน สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่า สารสกัดจากเปลือกต้นตะโกสวนที่สกัดด้วยเอทานอลและน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 เข้าช่องท้องของหนูถีบจักร ขนาดที่สัตว์ทดลองทนได้สูงสุด คือ 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

การใช้ประโยชน์:

-ผลสุก ใช้รับประทานได้

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ดัด โดยการนำมาปลูกในกระถางหรือปลูกลงดิน แล้วตัดกิ่งก้านและตัดแต่งใบให้เป็นพุ่ม หรือดัดให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง