Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: พุทธรักษาดอกแดง

ชื่อท้องถิ่น: บัวละวงศ์ (ลำปาง)/ บัวละวง (ลพบุรี)/ พุทธศร (พายัพ)/ พุทธสร (ภาคเหนือ)/ สาคูหัวข่า สาคูมอญ (ภาคกลาง)/ ปล้ะย่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ กวงอิมเกีย เซียวปาเจีย มุยหยิ่งเจีย (จีน)/ เหม่ยเหยินเจียว เสี่ยวปาเจียว (จีนกลาง) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Canna indica L.

ชื่อวงศ์: CANNACEAE

สกุล: Canna 

สปีชีส์: indica

ชื่อพ้อง: 

-Canna achiras Gillies ex D.Don

-Canna altensteinii Bouché

-Canna amabilis T.Koyama & Nob.Tanaka

-Canna ascendens Ciciar.

-Canna aurantiaca Roscoe

-Canna aureovittata G.Lodd.

-Canna barbadica Bouché

-Canna bidentata Bertol.

-Canna bifida Roem. & Schult.

-Canna bihorellii G.Nicholson

-Canna brasiliensis Roscoe ex Spreng.

-Canna caledonis-peltata Chaté

-Canna carnea Roscoe

-Canna cearensis Huber

-Canna chinensis Willd.

-Canna cinnabarina Bouché

-Canna coccinea Mill.

-Canna coccinea var. bicolor Kraenzl.

-Canna coccinea f. flaviflora Chodat & Hassl.

-Canna commutata Bouché

-Canna compacta Roscoe

-Canna concinna Bouché

-Canna crocea Roem. & Schult.

-Canna densifolia Bouché

-Canna denudata var. grandis Petersen

-Canna discolor Lindl.

-Canna discolor var. rubripunctata Nob.Tanaka

-Canna discolor var. viridifolia Nob.Tanaka

-Canna edulis Ker Gawl.

-Canna ehrenbergii Bouché

-Canna elegans Raf.

-Canna ellipticifolia Stokes

-Canna exigua Bouché

-Canna eximia Bouché ex Horan.

-Canna expansa-rubra G.Nicholson

-Canna flavescens Link

-Canna floribunda Bouché

-Canna formosa Bouché

-Canna fuchsina Ciciar.

-Canna fulgida Bouché

-Canna gaboniensis Chaté

-Canna heliconiifolia Bouché

-Canna heliconiifolia var. xalapensis (Bouché) Kraenzl.

-Canna humilis Bouché

-Canna indica var. edwardsii Regel

-Canna indica var. limbata (Regel) Petersen

-Canna indica var. patens Aiton

-Canna indica var. sanctae-rosae (Kraenzl.) Nob.Tanaka

-Canna indica var. warszewiczii Nob.Tanaka

-Canna insignis G.Nicholson

-Canna juncea Retz.

-Canna laeta Bouché

-Canna lagunensis Lindl.

-Canna lambertii Lindl. ex Ker Gawl.

-Canna lanuginosa Roscoe

-Canna leptochila Bouché

-Canna limbata Roscoe

-Canna lutea Larrañaga

-Canna lutea Mill.

-Canna lutea var. genuina Kraenzl.

-Canna macrophylla Horan.

-Canna maculata (Hook.) Link

-Canna maxima Lodd. ex Roscoe

-Canna montana Blume

-Canna moritziana Bouché

-Canna musifolia Année ex Chaté

-Canna orientalis Roscoe

-Canna orientalis Bouché

-Canna pallida Roscoe

-Canna patens (Aiton) Roscoe

-Canna pentaphylla D.Dietr.

-Canna peruviana-purpurea Année ex Chaté

-Canna peruviana-robusta Année ex Chaté

-Canna platyphylla Nees & Mart.

-Canna plurituberosa T.Koyama & Nob.Tanaka

-Canna poeppigii Bouché

-Canna polyclada Wawra

-Canna polymorpha Bouché

-Canna portoricensis Bouché

-Canna pruinosa Hoffmanns.

-Canna pulchra Hassk.

-Canna pulchra Bouché ex Horan.

-Canna purpurea-spectabilis Année ex Chaté

-Canna recurvata Bouché

-Canna rendatleri G.Nicholson

-Canna roscoeana Bouché

-Canna rotundifolia André

-Canna rubra Willd.

-Canna rubricaulis Link

-Canna sanctae-rosae Kraenzl.

-Canna sanguinea Warsz. ex Otto & A.Dietr.

-Canna sanguinea Bouché

-Canna saturate-rubra Bouché ex K.Koch

-Canna schubertii Horan.

-Canna seleriana Kraenzl.

-Canna sellowii Bouché

-Canna speciosa Roscoe ex Sims

-Canna spectabilis Bouché

-Canna sulphurea Bouché

-Canna surinamensis Bouché

-Canna tenuiflora Bouché ex A.Dietr.

-Canna textoria Noronha

-Canna thyrsiflora Hegetschw.

-Canna variabilis Willd.

-Canna variegata Besser

-Canna variegata Bouché

-Canna variegatifolia Ciciar.

-Canna ventricosa Bouché

-Canna warszewiczii A.Dietr.

-Canna warszewiczii var. flameus Ram.Goyena

-Canna xalapensis Bouché

-Cannacorus indicus (L.) Medik.

-Cannacorus ovatus Moench

-Distemon brasiliensis (Roscoe ex Spreng.) Bouché

-Distemon grandis Horan.

-Xyphostylis lutea (Mill.) Raf.


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

พุทธรักษาดอกแดง thai-herbs.thdata.co | พุทธรักษาดอกแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นพุทธรักษา เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า เนื้ออ่อนอวบน้ำ ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน มีความสูงของลำต้นประมาณ 1.5-2.5 เมตร ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน (รากมีความเฉลี่ย 11.8 เซนติเมตร มีความยาวรอบรากเฉลี่ย 0.2 เซนติเมตร โดยความยาวของรากจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของรากด้วย) ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม แต่บางครั้งอาจพบผงเทียนไขปกคลุม 


พุทธรักษาดอกแดง thai-herbs.thdata.co | พุทธรักษาดอกแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปรีแกมขอบขนานกว้าง หรือเป็นรูปรียาว ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบเป็นสีเขียว สีแดง สีเขียวขลิบแดง หรือสีม่วงเข้ม ภายในเป็นสีอมม่วงแดง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15-25 เซนติเมตรและยาวประมาณ 35-60 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม เส้นใบคล้ายขนนก กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัด มีก้านใบยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน


พุทธรักษาดอกแดง thai-herbs.thdata.co | พุทธรักษาดอกแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกสีแดง เป็นช่อบริเวณปลายยอดของลำต้น ก้านช่อดอกยาว ช่อหนึ่งมีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยหลายดอก ประมาณ 8-10 ดอก ช่อดอกมีรูปคล้ายทรงกระบอก เมื่อดอกบานจะแตกออกเป็นกลีบ 3 กลีบ ปลายกลีบแหลม ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ เป็นสีเขียวอ่อนและมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร หุ้มอยู่บริเวณโคนดอก รูปไข่กลมรี ดอกมีผงเทียนไขปกคลุม มีเกสรเพศผู้เป็นหมันมีลักษณะคล้ายกลีบดอกเป็นสีส้มแดง


พุทธรักษาดอกแดง thai-herbs.thdata.co | พุทธรักษาดอกแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย   พุทธรักษาดอกแดง thai-herbs.thdata.co | พุทธรักษาดอกแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณผลเป็นผลแห้ง รูปทรงกลม เป็นพู 3 พู ผลมีขนาดเท่ากับผลมะไฟ ผิวผลขรุขระ เปลือกนอกเป็นสีเขียวหรือสีแดงและมีขนหรือหนามอ่อน ๆ คล้ายกับลูกละหุ่งหรือลูกเร่ว โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดสีขาวหลายเมล็ด พอแก่เป็นสีน้ำตาล มันวาว

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าดงดิบ ป่าดงดิบแล้งในที่ลุ่ม หรือตามลำห้วย

ถิ่นกำเนิด: อเมริกาเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

พุทธรักษาดอกแดง thai-herbs.thdata.co | พุทธรักษาดอกแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการแยกหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสเย็นขื่น สรรพคุณ บำรุงปอด แก้อาเจียนและไอเป็นโลหิต

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-มีรายงานการใช้เหง้าสดรักษาโรคตับอักเสบแบบเฉียบพลันและมีอาการตัวเหลือง โดยใช้เหง้าสด 60-120 กรัม (ใช้ไม่เกิน 275 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ติดต่อกัน 20 วัน (คิดเป็น 1 รอบของการรักษา) ในระหว่างการรักษาห้ามรับประทานกุ้ง ปลา จิงฉ่าย ของเผ็ด และน้ำมัน โดยจากการรักษาคนไข้ตับอักเสบจำนวน 67 ราย พบว่าหายจำนวน 58 ราย มีอาการดีขึ้น 3 ราย และไม่เห็นผล 2 ราย โดยระยะเวลาการรักษามีตั้งแต่ 20 วันจำนวน 34 ราย, 30วัน จำนวน 18 ราย และรักษานานที่สุด 45-47 วัน จำนวน 6 ราย นอกจากนี้ยังมีการทดลองใช้ต้นพุทธรักษาร่วมกับรากคอเช่าและทิแบเปียง (Lespebesa pilosa (Thunb) Sicb.et zcc) เพื่อทำเป็นยารักษาคนไข้จำนวน 100 ราย และพบว่าหายจำนวน 92 ราย ส่วนอีก 8 ราย แก้ไขได้ในขั้นต้น

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ตำรับยาแก้ประจำเดือนมาไม่หยุด ให้ใช้เหง้ากับดอกเข็ม (Ixora Chinensis Lam) นำมาตุ๋นร่วมกับไก่กิน หรือจะใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียวตุ๋นกับไก่กินก็ได้ 

-ตำรับยาแก้ตกขาว ใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียวนำมาตุ๋นกับไก่กิน 

-อาการปวดฟัน ใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียว แล้วนำมาตุ๋นกับไก่กิน

-อาการปวดศรีษะ ใช้เมล็ดมีรสเมาเย็น นำมาตำพอกแก้อาการปวดศีรษะ

-ช่วยทำความสะอาดบาดแผล ดอกสด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกแผล ห้ามเลือด รักษาบาดแผลสด หรือบาดแผลมีหนอง แก้ฝีหนองได้ หรือใช้เหง้าตำพอกรักษาแผลอักเสบบวม ช่วยสมานแผล แก้ฝีหนองปวดบวม แก้ฟกช้ำ 

-แพทย์ตามชนบทจะใช้เหง้า มีรสเย็นฝาดขื่น นำมาต้มกินเป็นยาบำรุงปอด

-ชาวชวาจะใช้เมล็ดนำมาบดให้เป็นผงใช้พอกบริเวณขมับแก้อาการปวดศีรษะ

-ชาวชวาจะใช้น้ำคั้นจากเหง้าเป็นยาแก้อาการท้องร่วง

-ชาวอินเดียจะใช้เหง้าเป็นยาขับเหงื่อปัสสาวะในอาการไข้และอาการบวมน้ำ

-ชาวกัมพูชาจะใช้เหง้าต้มและคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาแก้คุดทะราด และใช้ชะล้าง

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นพุทธรักษาเป็นไม้ประดับที่มีดอกสวยงาม จึงเป็นที่นิยมปลูกเพื่อชมดอก




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง