Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: จิกนา

ชื่อท้องถิ่น: ตอง จิกน้ำ (ภาคกลาง)/ จิ๊ก (กรุงเทพ)/ กระโดนสร้อย (พิษณุโลก)/ ลำไพ่ (อุตรดิตถ์), กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ (หนองคาย-ภาคอีสาน)/ ตอง ปุยสาย (ภาคเหนือ)/ จิก จิกนา จิกอินเดีย จิกมุจลินท์

ชื่อสามัญ: Indian oak, Freshwater mangrove

ชื่อวิทยาศาสตร์: Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.

ชื่อวงศ์: LECYTHIDACEAE-BARRINGTONIACEAE

สกุล:  Barringtonia

สปีชีส์:  acutangula 

ชื่อพ้อง: 

-Barringtonia rubra Baill. ex Laness.

-Butonica acutangula (L.) Lam.

-Butonica rubra Miers

-Huttum acutangulum (L.) Britten

-Michelia acutangula (L.) Kuntze

-Stravadium acutangulum (L.) J.St.-Hil.

-Stravadium rubrum Pers.

-Caryophyllus acutangulus (L.) Stokes

-Eugenia acutangula L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นจิกนา เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือแผ่กว้าง มีลำต้นเป็นปุ่มปม เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสันแหลมตามยาว กิ่งก้านมักคดงอ ปลายกิ่งมักลู่ลง 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบออกเวียนสลับถี่ที่บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปไข่หัวกลับ หรือรูปรี โคนใบแหลม ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นจักถี่ ๆ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มและมีขน ใบมีขนาดใหญ่เป็นมันสวย เมื่อเวลามีดอกจะทิ้งใบ เหลือเพียงแต่ใบอ่อนสีแดง


จิกนา thai-herbs.thdata.co | จิกนา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจายที่ปลายกิ่ง ดอกห้อยลงมาเป็นระย้า ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ มีสีแดงหรือสีชมพู หลุดร่วงได้ง่าย เมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่เป็นฝอย ๆ สีชมพูหรือสีแดงจำนวนมาก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานหรือทรงกลม มีสันเป็นเหลี่ยม 4 สัน เรียงตามความยาวของผล ปลายผลยังมีฐานดอกติดอยู่ ในผลมีเมล็ด อยู่ 1 เมล็ด 

เมล็ด ลักษณะคล้ายรูปไข่ มีเมล็ดเดียว

สภาพนิเวศวิทยา: สำหรับประเทศไทย สามารถพบต้นจิกน้ำได้ทั่วทุกภาคตามริมฝั่งน้ำ ริมคลอง ริมบึง ป่าพรุและป่าชายเลน

ถิ่นกำเนิด: ภูมิภาคเอเชียใต้และอัฟกานิสถาน ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียในแถบรัฐควีนส์แลนด์

การกระจายพันธุ์: อัฟกานิสถาน, อัสสัม, บังกลาเทศ, บอร์เนียว, กัมพูชา, อินเดีย, ลาว, ซุนดา, มาลายา, เมียนมาร์, นิวกินี, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, ควีนส์แลนด์, ศรีลังกา, สุลาเวสี, สุมาเตรา, ไทย, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ แก้ปวดศีรษะ แก้เลือดออกตามไรฟัน ใช้เบื่อปลา

*เนื้อไม้ รสร้อนเฝื่อนๆ สรรพคุณ ขับระดูขาว

*เมล็ด รสร้อน สรรพคุณ แก้แน่นจุกเสียด รัดมดลูกหลังการคลอดบุตร แก้เยื่อตาอักเสบ แก้อาเจียน ฝนทาแก้ตัวร้อน แก้ไอเด็ก

*ใบ รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง

*ราก รสขื่นเอียน สรรพคุณ ระบายท้อง

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ดอกและยอดอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดหรือผักจิ้มกับแจ่ว ลาบ น้ำตก และขนมจีน ให้รสชาติมันปนฝาด ช่วยเพิ่มความอร่อยได้ดีมาก

-เปลือกและต้น มีสรรพคุณใช้เบื่อปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิกเล จึงเป็นที่มาของชื่อภาษาอังกฤษว่า “Poison fish tree” ซึ่งชาวประมงนิยมนำมาใช้ในการเบื่อปลากันอย่างแพร่หลาย

-นิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับที่ริมน้ำริมตลิ่ง เนื่องจากมีช่อดอกที่สวยงามแปลกตา และมีความแข็งแรง ทนน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี

-ไม้จิกนา มีเนื้อสีขาวหรือสีอมแดงเรื่อ ๆ มีเสี้ยนตรง เป็นไม้ค่อนข้างอ่อนเหมาะใช้ในร่ม สามารถนำมาทำเป็นไม้อัด ไม้บาง กระดานกรุบ่อ ใช้ทำเรือเล็ก ๆ ทำเครื่องมือเกษตรและทำเครื่องเรือนได้ ฯลฯ



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง