Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ทำมัง

ชื่อท้องถิ่น: แมงดา

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Litsea Petiolata Hook.f.

ชื่อวงศ์: LAURACEAE

สกุล: Litsea 

สปีชีส์: petiolata 

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ทำมัง thai-herbs.thdata.co | ทำมัง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นทำมัง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีทรงพุ่มโปร่งคล้ายพีระมิด เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทา มีกลิ่นฉุนคล้ายแมงดา ความสูงของลำต้นมีประมาณ 30-44 เมตร มีขนาดความกว้างของทรงพุ่มประมาณ 30-40 เซนติเมตร การเจริญเติบโตเป็นไปค่อนข้างช้า


ทำมัง thai-herbs.thdata.co | ทำมัง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับกันอยู่รอบๆ กิ่ง ใบมีลักษณะกลมมนหรือแหลมคล้ายกับใบขนุน แผ่นใบบางสีเขียวเป็นมัน ใบมีเส้นแขนงประมาณ 4-12 คู่ มองเห็นได้ชัดเจน ขนาดความกว้างของใบมีประมาณ 3-9 เซนติเมตร. ยาวประมาณ 6-20 เซนติเมตร ก้านใบมีลักษณะเรียวและยาวได้ประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ใบที่แก่จะมีต่อมน้ำมันกลิ่นฉุนกว่าใบอ่อน

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกขนาดเล็กบริเวณกิ่งแก่ แต่ละช่อจะมีดอกย่อยสีเหลืองอมเขียวอยู่ประมาณ 6-8 ดอก กลีบดอกมีลักษณะคล้ายรูปช้อนสั้นๆ เรียงซ้อนกันอยู่ 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ เมื่อดอกบานจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่แยกกันคนละดอก ภายในดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 12 อัน ก้านดอกมีความยาวประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอม จะบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

ผล ลักษณะผลเป็นรูปทรง ทรงกลมรีคล้ายรูปไข่ สีเขียวเข้ม กว้างประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร ยาว ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร  เมื่อผลแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาลแดง ปลายแยกเป็น 6 แฉก มีเมล็ดสีน้ำตาลรูปไข่อยู่ภายในเพียงเมล็ดเดียว 

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อน และเขตกึ่งร้อนของเอเชีย 

การกระจายพันธุ์: เขตร้อนและเขตกึ่งร้อนของเอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกา

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสร้อนหอมฉุน สรรพคุณ ขับผายลม แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ใบอ่อน นำมาทำเป็นผักจิ้ม

-ใบแก่ เปลือก นิยมนำมาตำกับน้ำพริก

-ใบ ลำต้น ผล ให้กลิ่นคล้ายกลิ่นแมงดานา เหมาะสำหรับคนที่รับประทานมังสวิรัติ

-ลำต้น ในอดีตนิยมนำมาทำเป็นไม้กระดาน ซึ่งเนื้อไม้ ปลวกหรือ มอด จะไม่กัดกิน

-นิยมนำไม้มาทำสาก ตำน้ำพริก เนื่องจากให้กลิ่นคล้ายกับกลิ่นแมงดานาตัวผู้

-นิยมปลูกตามบ้านเรือนเพราะถือว่าเป็นไม้มงคลมาแต่สมัยพุทธกาล



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง