Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กวาวเครือขาว

ชื่อท้องถิ่น: กวาวเครือ  จานเครือ (อีสาน)/ ตานเครือ ทองเครือ จอมทอง (ใต้)/ ตานจอมทอง (ชุมพร)/ โพ้ต้น ( กาญจนบุรี)

ชื่อสามัญ: Pueraria mirifica, White kwao krua

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pueraria candollei var. mirifica (Airy Shaw & Suvat.) Niyomdham

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Pueraria

สปีชีส์: candollei

ชื่อพ้อง: Pueraria mirifica Airy Shaw & Suvat.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กวาวเครือขาว thai-herbs.thdata.co | กวาวเครือขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

กวาวเครือขาว thai-herbs.thdata.co | กวาวเครือขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกวาวเครือขาว เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งอายุหลายปี จัดเป็นไม้เลื้อย มีหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลม มีหลายขนาด ถ้าหัวที่มีอายุมากอาจหนักถึง 20 กิโลกรัม เมื่อเอามีดผ่าออกจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อในจะมีสีขาวคล้ายมันแกว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก ส่วนหัวเล็ก เนื้อในจะละเอียด มีน้ำมาก 

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กว้าง ใบย่อยคู่ข้างเบี้ยว กว้างประมาณ 7-13 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13-19 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมโคนใบรูปลิ่ม หรือตัด


กวาวเครือขาว thai-herbs.thdata.co | กวาวเครือขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  กวาวเครือขาว thai-herbs.thdata.co | กวาวเครือขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ และปลายกิ่ง ดอกมีขนาดยาวประมาณ 29 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่ว สีม่วง

ผล ลักษณะผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน ขนาดกว้างประมาณ 6 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผิวมีขนเมล็ดรูปคล้ายโล่ แบน สีม่วงแกมน้ำตาล

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณแล้ง ที่ระดับความสูง 100-300 เมตร

ถิ่นกำเนิด: ไทย

การกระจายพันธุ์: ไทย

กวาวเครือขาว thai-herbs.thdata.co | กวาวเครือขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกเถา รสเย็นเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษงู

*หัว รสเย็นเบื่อเมา สรรพคุณ บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพให้สมบูรณ์ บำรุงความกำหนัด (ถ้ารับประทานมากอาจเป็นอันตรายได้)

องค์ประกอบทางเคมี: 

-หัว พบสารสำคัญได้แก่ 1) สารกลุ่มคูมารินส์ (Coumarins)ได้แก่ Coumestrol, Mirificoumestan, Mirificoumestan Glycol และ Mirificoumestan hydrate 2) สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) โดยในหัวกวาวเครือขาวมีสารจำพวก lsoflavonoid หลายชนิด เช่น Genistain, Daidzein, Daidzin, Puerarin, Puerein-6-monoacetate, Mirificin, Kwakhurin และ Kwakhurin hydrate 3) สารกลุ่มโครมีน (Chromene) สาระสำคัญอันดับหนึ่งในกวาวเครือ ได้แก่ Miroestrol ซึ่งเป็นสารที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน พบปริมาณ 0.002 – 0.003 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักหัวแห้ง หรือประมาณ 15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของกวาวเครือแห้ง มีรูปผลึก 2 แบบ คือ แบบที่มีน้ำหนักอยู่ในผลึก (hydrate form) ลักษณะเป็นรูปเข้มอ้วน และแบบผลึกที่ไม่มีน้ำอยู่ในผลึก (anhydrate form) มีลักษณะเป็นแผ่น ไม่มีสี มีจุดหลอมเหลว 268 – 270 องศาเซลเซียส 4) สารกลุ่มสเตียรอยด์ (steroids) สเตียรอยด์ที่พบในหัวกวาวเครือ ได้แก่ B-sitosterol, Stigmasterol, Pueraria และ Mirificasterol 

นอกจากสารกลุ่มที่กล่าวแล้วข้างต้น ในหัวกวาวเครือขาวยังมีสารจำพวกแอลเคน แอลกอฮอร์และสารจำพวกไขมัน คือ Puereria, Mififica glyceride lithium, Potassium, Sodium, Phosphate, แคลเซียม, โปรตีน, ไขมัน, และไฟเบอร์ นอกจากนี้ยังมีสารประเภท Saponim อยู่อีกหลายชนิด ซึ่งสารต่างๆ เหล่านี้หลายชนิดมีคุณสมบัติเป็นไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen) ซึ่งหมายความว่าเป็นเอสโตรเจนที่ได้จากพึชและออกฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจนทุกประการ หรืออาจหมายถึงสารที่ออกฤทธิ์ที่ตัวรับ (Receptor) เดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งปัจจุบันทราบแล้วว่า receptor นี้มี 2 Subtype คือ estrogen receptor alpha และ beta subtype ปัจจุบันไฟโตเอสโตรเจนที่มีอยู่ในกวาวเครือขาวสามารถแบ่งได้เป็นสารที่มีความแรงสูงและความแรงต่ำ โดยกลุ่มที่มีความรุนแรงต่ำ ได้แก่ Coumestrol, Daidzein, Daidzin, Genistin, Genistein, Mirificn และ Puerarin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ กวาวเครือขาวมีผลยับยั้งการเกี้ยวพาราสี การผสมพันธุ์และการเจริญของอัณฑะในนกพิราบเพศผู้ และยับยั้งการออกไข่โดยยับยั้งการเจริญของฟอลลิเคิลในนกพิราบตัวเมีย ส่วนการทดลองในหนูเพศเมียที่กินกวาวเครือขาวพบว่า มีผลยับยั้งการให้นมของหนูที่กำลังให้นม โดยไปยับยั้งการเจริญของต่อมน้ำนม และการสร้างน้ำนม มีผลป้องกันการตั้งครรภ์ เมื่อให้หนูกินในช่วงตั้งท้องวันที่ 1-10 ติดต่อกัน หรือให้กินในช่วงที่มีการเคลื่อนย้ายของตัวอ่อน โดยทำให้เกิดการแท้ง และเมื่อให้ในหนูที่ตัดรังไข่ออก กินกวาวเครือพบว่าน้ำหนักของมดลูกและปริมาณของเหลวในมดลูกเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับที่พบในหนูที่ได้รับ ethinyl estradiol และมีรายงานว่ากวาวเครือขาวมีฤทธิ์คุมกำเนิดที่ดีในหนูขาวเมื่อให้ในขนาด 1 กรัม/ตัว/สัปดาห์ ส่วนผลของกวาวเครือขาวต่อหนูเพศผู้พบว่า สัตว์มีพฤติกรรมการสืบพันธุ์ลดลง และมีขนาด และน้ำหนักของอัณฑะ epididymis ต่อมลูกหมาก และ seminal vesicles ลดลง รวมทั้งมีจำนวนตัวอสุจิ และเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิลดลง

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การศึกษาพิษเฉียบพลันของผงหัวกวาวเครือขาวในรูปผงยาแขวนตะกอนในน้ำ พบว่าไม่ทำให้เกิดอาการพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่ามากกว่า 16 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม การทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์โดยการป้อนผงหัวกวาวเครือขาวในรูปผงยาแขวนตะกอนในน้ำ ขนาด 10, 100 และ 1,000 มก./กก./วันติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 90 วันพบว่าการให้ในขนาด 10 และ 100 มก./กก./วัน ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อค่าโลหิตวิทยา และค่าทางชีวเคมี หรือพยาธิสภาพใดๆ แต่การให้ในขนาด 1,000 มก./กก./วัน ทำให้หนูเกิดภาวะโลหิตจาง จำนวนเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ระดับโคเลสเตอรอล น้ำหนักอัณฑะ ของหนูเพศผู้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และมีอัตราการเกิด hyperemia ของอัณฑะ ในหนูเพศเมียที่ได้รับในขนาด 100 และ 1,000 มก./กก./วันพบว่าระดับโคเลสเตอรอลดลง มดลูกบวมเต่ง มีอัตราการเกิด cast ที่ไตสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 2 ในอาสาสมัครกลุ่มก่อนและหลังวัยหมดประจำเดือน ที่มีอาการพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน จำนวน 37 ราย ใช้เวลา 6 เดือน พบคะแนนของงอาการวัยหมดระดูลดลงจาก 35.6 เป็น 15.1 และ 32.6 เป็น 13.69 ในกลุ่มที่ได้รับ 50 มก.ต่อวัน และ 100 มก.ต่อวัน ตามลำดับ แต่พบอาการข้างเคียง คือ อาการคัดตึงเต้านมประมาณร้อยละ 35 และอาการเลือดออกกระปริดกระปรอยประมาณร้อยละ 16.2

การใช้ประโยชน์:

กวาวเครือขาว thai-herbs.thdata.co | กวาวเครือขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-หัว บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ผอมแห้ง นอนไม่หลับ มีฮอร์โมนเพศหญิงสูง ทาหรือรับประทานทำให้เต้านมขยายตัว เส้นผมดกดำ เพิ่มเส้นผม เป็นยาปรับรอบเดือน บำรุงความกำหนัด บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก ทำให้ความจำดี บำรุงโลหิต ผิวหนังเต่งตึงมีน้ำมีนวล ถ้ารับประทานเกินขนาดจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียน อาจทำให้แท้งบุตรได้

-ในพม่าใช้ หัว เป็นยาอายุวัฒนะของทั้งหญิงและชาย แต่ไม่เหมาะกับคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง