Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หนามพรม (พรมป่า, พรมบ้าน)

ชื่อท้องถิ่น: ขี้แฮด (ภาคเหนือ)/ พรม หนามพรม (ภาคกลาง)

ชื่อสามัญ: Conkerberry, Bush Plum

ชื่อวิทยาศาสตร์: Carissa spinarum L

ชื่อวงศ์: APOCYNACEAE

สกุล: Carissa 

สปีชีส์: spinarum 

ชื่อพ้อง: 

-Antura edulis Forssk.

-Antura hadiensis J.F.Gmel.

-Arduina campenonii Drake

-Arduina edulis (Forssk.) Spreng.

-Arduina inermis (Vahl) K.Schum.

-Arduina laxiflora (Benth.) K.Schum.

-Arduina xylopicron (Thouars) Baill.

-Cabucala brachyantha Pichon

-Carandas edulis (Forssk.) Hiern

-Carissa axillaris Roxb.

-Carissa brownii F.Muell.

-Carissa brownii var. angustifolia Kempe

-Carissa brownii var. ovata (R.Br.) Maiden & Betche

-Carissa candolleana Jaub. & Spach

-Carissa carandas G.Lodd.

-Carissa cochinchinensis Pierre ex Pit.

-Carissa comorensis (Pichon) Markgr.

-Carissa congesta Wight

-Carissa coriacea Wall. ex G.Don

-Carissa cornifolia Jaub. & Spach

-Carissa dalzellii Bedd.

-Carissa densiflora Baker

-Carissa diffusa Roxb.

-Carissa dulcis Schumach. & Thonn.

-Carissa edulis (Forssk.) Vahl

-Carissa gangetica Stapf ex Gamble

-Carissa hirsuta Roth

-Carissa horrida Pichon

-Carissa inermis Vahl

-Carissa lanceolata Dalzell

-Carissa lanceolata R.Br.

-Carissa laotica Pit.

-Carissa laxiflora Benth.

-Carissa macrophylla Wall. ex G.Don

-Carissa madagascariensis Thouars

-Carissa mitis Heynh. ex A.DC.

-Carissa obovata Markgr.

-Carissa oleoides Markgr.

-Carissa opaca Stapf ex Haines

-Carissa ovata R.Br.

-Carissa ovata var. pubescens F.M.Bailey

-Carissa ovata var. stolonifera F.M.Bailey

-Carissa papuana Markgr.

-Carissa paucinervia A.DC.

-Carissa pilosa Schinz

-Carissa pubescens A.DC.

-Carissa revoluta Scott Elliot

-Carissa richardiana Jaub. & Spach

-Carissa scabra R.Br.

-Carissa sechellensis Baker

-Carissa septentrionalis (Pichon) Markgr.

-Carissa suavissima Bedd. ex Hook.f.

-Carissa tomentosa A.Rich.

-Carissa velutina Domin

-Carissa villosa Roxb.

-Carissa xylopicron Thouars

-Carissa yunnanensis Tsiang & P.T.Li

-Jasminonerium densiflorum (Baker) Kuntze

-Jasminonerium dulce (Schumach. & Thonn.) Kuntze

-Jasminonerium edule (Forssk.) Kuntze

-Jasminonerium inerme (Vahl) Kuntze

-Jasminonerium laxiflorum (Benth.) Kuntze

-Jasminonerium madagascariense (Thouars) Kuntze

-Jasminonerium ovatum (R.Br.) Kuntze

-Jasminonerium pubescens (A.DC.) Kuntze

-Jasminonerium sechellense (Baker) Kuntze

-Jasminonerium suavissimum (Bedd. ex Hook.f.) Kuntze

-Jasminonerium tomentosum (A.Rich.) Kuntze

-Jasminonerium xylopicron (Thouars) Kuntze

-Damnacanthus esquirolii H.Lév.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หนามพรม thai-herbs.thdata.co | หนามพรม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

หนามพรม thai-herbs.thdata.co | หนามพรม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหนามพรม เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงของต้นประมาณ 4-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากเป็นพุ่มทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง มีหนามแหลมยาวตามกิ่ง ลำต้น และบริเวณโคนต้น ยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร และลำต้นมียางสีขาว 


หนามพรม thai-herbs.thdata.co | หนามพรม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปกลม รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมมีติ่ง โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก หลังใบและท้องใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างบางและเกลี้ยง ใต้ท้องใบมีเส้นใบประมาณ 5-7 คู่ ซึ่งจะเห็นได้ชัดมาก ส่วนก้านใบสั้น ยาวได้ประมาณ 1-3 มิลลิเมตร


หนามพรม thai-herbs.thdata.co | หนามพรม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก เป็นแบบสมบูรณ์เพศ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีขาวมีกลิ่นหอม มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายกลีบดอกแหลม กลีบดอกยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ กลีบเป็นรูปหอก โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ปลายกลีบแยกออกจากกัน และมีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ภายในหลอดดอกหรือกลางท่อดอก


หนามพรม thai-herbs.thdata.co | หนามพรม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นรูปทรงกลมรีหรือรูปไข่ ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว พอแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มหรือสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรี เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ส่วนอีกข้อมูลบอกว่าภายในผลมีเมล็ด 4 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป 

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: เขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*แก่น    รสเฝื่อนมันขมฝาดเล็กน้อย     สรรพคุณ    บำรุงไขมัน บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ผลสุก เนื้อหุ้มเมล็ด มีรสหวาน รับประทานได้



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง