Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะเดื่อปล้อง

ชื่อท้องถิ่น: เดื่อสาย (เชียงใหม่)/ เดื่อปล้อง (นครศรีธรรมราช, สระบุรี, ภาคเหนือ)/ เดื่อป่อง (กรุงเทพฯ)/ หมากหนอด (ไทใหญ่)/ ตะเออน่า เอาแหน่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ดิ๊โจ่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง)/ ฮะกอสะนียา (มลายู-นราธิวาส)/ ไฮ่มะเดื่อปล้อง (ปะหล่อง)/ กระซาล (ขมุ)/ ลำเดื่อ ลำเดื่อปล้อง (ลั้วะ)/ งงหยอเจีย (เมี่ยน)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus hispida L.f.

ชื่อวงศ์: MORACEAE

สกุล: Ficus 

สปีชีส์: hispida

ชื่อพ้อง: 

-Covellia assamica Miq.

-Covellia courtallensis Miq.

-Covellia daemonum (J.Koenig ex Vahl) Miq.

-Covellia dasycarpa Miq.

-Covellia hispida (L.f.) Miq.

-Covellia oppositifolia (Roxb.) Gasp.

-Covellia setulosa Miq.

-Covellia wightiana Miq.

-Ficus caudiculata Trimen

-Ficus compressa S.S.Chang

-Ficus daemonum K.D.Koenig ex Vahl

-Ficus fecunda Blume

-Ficus goolereea Roxb.

-Ficus heterostyla Merr.

-Ficus letaqui H.Lév. & Vaniot

-Ficus oppositifolia Willd.

-Ficus perinteregam Pennant

-Ficus  poilanei Gagnep.

-Ficus prominens Wall. ex Miq.

-Ficus sambucixylon H.Lév.

-Ficus simphytifolia Lam.

-Ficus symphytifolia Spreng.

-Gonosuke demonum Raf.

-Gonosuke hispida (L.f.) Raf.

-Gonosuke scaber

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะเดื่อปล้อง thai-herbs.thdata.co | มะเดื่อปล้อง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะเดื่อปล้อง เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ขนาดเล็กถึงขนาดกลางหรือใหญ่ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10 เมตร และอาจสูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นเรียบหนาเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาปนดำ ตามลำต้นมีรอยเป็นข้อปล้องห่าง ๆ คล้ายรอยควั่นเป็นข้อ ๆ ตลอดถึงกิ่ง กิ่งก้านอ้วนสั้น กิ่งอ่อนและลำต้นอ่อนกลวง ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวข้น


มะเดื่อปล้อง thai-herbs.thdata.co | มะเดื่อปล้อง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปรียาว รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายใบมนมีติ่งแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบหยักถี่ ๆ ตลอดใบ โดยเฉพาะครึ่งปลายบน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 11-28 เซนติเมตร เนื้อใบคล้ายกระดาษ ผิวใบด้านบนมีขนสากคายมือ ส่วนท้องใบด้านล่างมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ใบแก่มีขนหยาบ ๆ และบนเส้นใบด้านล่าง เส้นใบข้างโค้ง 5-9 คู่ เส้นใบที่ฐานยาวประมาณ 1/5 ของใบ ก้านใบยาวประมาณ 1.5-4 เซนติเมตร มีต่อมเป็นปม หูใบยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร หลุดร่วงง่าย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อมะเดื่อ โดยจะออกตามลำต้นและกิ่ง และอาจพบออกตามโคนต้นหรือตามกิ่งที่ห้อยลงไม่มีใบ หรือพบได้บ้างที่เกิดตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กอัดกันแน่น เจริญเติบโตอยู่ในฐานรองดอกที่ห่อหุ้มไว้เพื่อที่จะเจริญเติบโตไปเป็นผล มีลักษณะคล้ายผล ภายในกลวง ที่ปลายมีช่องเปิดที่มีใบประดับปิดอยู่ มีก้านช่อดอกยาว ดอกอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนดอกแก่เป็นสีเหลือง ที่โคนมีใบประดับ 3 ใบ ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ภายในมีดอก 3 ประเภท คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกปุ่มหูด ดอกเป็นแบบแยกเพศ แต่อยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกเพศผู้มีประมาณ 1-2 แถว กลีบรวมจักเป็น 3-4 พู ที่ปลายมีขน เกสรเพศผู้มี 1 อัน ส่วนดอกเพศเมียมีหรือไม่มีก้าน กลีบรวมเชื่อมติดกันคล้ายปลอดหรือท่อสั้น ๆ และดอกปุ่มหูดไม่มีก้าน กลีบรวมปกคลุมรังไข่ 


มะเดื่อปล้อง thai-herbs.thdata.co | มะเดื่อปล้อง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะรูปทรงกลมออกแป้น รูปลูกข่าง แคบที่ฐาน ก้นผลมีรอยบุ๋ม มีเส้นสัน 7-9 เส้น แผ่รอบ ๆ จากยอด มีขนอ่อนนุ่ม และมีเกล็ดปกคลุมแบบห่าง ๆ ออกผลติดเป็นกลุ่มแน่นประมาณ 10-15 ผล ผลมีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ มีจุดสีขาวตลอดทั้งผล ผลสดเป็นสีเขียว พอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ก้านผลยาวประมาณ 0.6-2.5 เซนติเมตร มีกาบรูปสามเหลี่ยม 3 กาบ เป็นช่อยาวตามแนวของกิ่ง ห้อยลงจากลำต้นและกิ่งใหญ่ 

สภาพนิเวศวิทยา: สหรับในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าละเมาะ พื้นราบ ที่ว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร 

ถิ่นกำเนิด: จีนใต้ ไปจนถึงถึงเอเชียเขตร้อน และออสเตรเลียตอนเหนือ

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, บอร์เนียว, กัมพูชา, จีนตอนกลางตอนใต้, จีนตะวันออกเฉียงใต้, หิมาลายาตะวันออก, ไหหลำ, อินเดีย, จาวา, ลาว, ซุนดา, มาลายา, มาลูกู, เมียนมาร์, เนปาล, นิวกินี, เกาะนิโคบาร์, ดินแดนทางตอนเหนือ, ควีนส์แลนด์, ศรีลังกา, สุลาเวสี, สุมาตรา, ไทย, เวียดนาม, หิมาลัยตะวันตก, ออสเตรเลียตะวันตก

มะเดื่อปล้อง thai-herbs.thdata.co | มะเดื่อปล้อง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกราก รสฝาดเฝื่อน สรรพคุณ แก้เม็ดฝี แก้ปวดข้อ ปวดกระดูก

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการม้ามโต

-ยาแก้ซางปากเปื่อย ใช้ผลผสมกับเหง้าไพล และรากกล้วยตีบ อย่างละ 3 ชิ้น ใส่ถ้วยเติมน้ำ เอาเหล็ก (ขาง) เผาไฟให้แดงแล้วจุ่มแช่ลงไป ดื่มน้ำที่ได้ ช่วยแก้ซางปากเปื่อยในเด็ก

-อาการไข้หลังการคลอดบุตร ใช้ใบมะเดื่อปล้อง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการไข้ หนาวสั่น หรือรักษาอาการไข้หลังการคลอดบุตร หนาวสั่น

-อาการบวมทั้งตัว ใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับกล้วยน้ำว้าเอาผ้าชุบน้ำพันรอบตัว ช่วยแก้อาการบวมทั้งตัว

-ผล ใช้รับประทานได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากมักมีแมลงมาอาศัยอยู่ข้างในผล และมีบ้างที่ใช้ผลสุกนำมาทำแยม

-ใบอ่อน ใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ส่วนช่อดอกและผลอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดหรือต้มจิ้มกับน้ำพริก นำมาปรุงอาหารจำพวกแกงส้ม ผลดิบใช้รับประทานกับแกงบอนหรือหลามบอน หรือนำไปประกอบอาหารโดยการหลามกับกระดูกหมู

-เปลือกต้น ใช้ทำเชือกหยาบ ๆ

-คนเมืองจะใช้ไม้ร้อยผลร่วมกับไพล กล้วยดิบที่ฝานเป็นแว่น ๆ นำมาแช่ในน้ำ แล้วให้คนที่มีอาการท้องร่วงกินแก้อาการท้องร่วง 

-ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง มูเซอ จะใช้ราก ลำต้น เหง้า นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยากระตุ้นการหลั่งของน้ำนม  ส่วนผลก็มีสรรพคุณช่วยขับน้ำนมเช่นกัน 

-ชาวปะหล่องจะใช้กิ่งที่กลวง นำมาทำเป็นหลอดดูดน้ำ เชื่อว่าจะช่วยทำให้มีความจำดี

-ชาวลั้วะจะใช้ยอดอ่อนนำมาต้มเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงหมู และใช้ต้นสำหรับทำฟืน




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง