Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: คางแดง (คาง, กางขี้มอด, มะขามป่า)

ชื่อท้องถิ่น: กางแดง คางแดง (แพร่)/ จันทน์ (ตาก)/ มะขามป่า (น่าน)/ ตุ๊ดเครน (ขมุ)

ชื่อสามัญ: Black siris, Ceylon rose wood

ชื่อวิทยาศาสตร์: Albizia lebbekoides (DC.) Benth.

ชื่อวงศ์:  FABACEAE-LEGUMINOSAE

สกุล:  Albizia 

สปีชีส์: lebbekoides

ชื่อพ้อง: 

-Acacia lebbekoides DC.

-Albizia lebbekioides (DC.) Benth.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

คางแดง thai-herbs.thdata.co | คางแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นคางแดง เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีความสูงได้ประมาณ 10-30 เมตร กิ่งก้านลู่ลง ปลายยอดและกิ่งอ่อนมีรอยแผล มีรูอากาศตามลำต้นและกิ่ง เปลือกต้นเป็นสีเทาอมเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในเป็นสีแดง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ ออกเรียงสลับแบบตรงข้าม ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 10-25 คู่ แผ่นใบเรียบบาง ใบย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานหรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบมนหรือสอบ โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง


คางแดง thai-herbs.thdata.co | คางแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นที่ปลายยอด ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอกรวมกันเป็นกลุ่ม ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาวนวล กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขน ปลายแยกออกเป็น 6 แฉก ส่วนกลีบดอกเป็นรูปกรวย ผิวมีขน ยาวประมาณ 6.5-9 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นสีขาวจำนวนมาก ยาวเท่าหลอดกลีบดอก โคนก้านเกสรเพศผู้เชื่อมกันเป็นหลอด


คางแดง thai-herbs.thdata.co | คางแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล มีลักษณะเป็นฝักแบนรูปขอบขนาน ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 17-22 เซนติเมตร ผิวเรียบ ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ฝักแห้งและแตกออกด้านข้าง ภายในมีเมล็ดประมาณ 8-12 เมล็ด    

เมล็ด มีลักษณะรูปรีกว้าง สีน้ำตาลเข้ม 

สภาพนิเวศวิทยา: พบที่ระดับความสูงถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล สำหรับในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าผลัดใบ 

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้ตกโลหิต แก้บวม แก้ฝี แก้พยาธิ เปื่อยเน่า แก้ลำไส้พิการ บำรุงธาตุ ฝนทารักษาโรคเรื้อน แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง ทาหัวฝี 

*ใบ รสเฝื่อน สรรพคุณ แก้ไอ

*ดอก รสหวาน สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้ปวดบาดแผล แก้พิษฟกบวม  แก้คุดทะราด แก้ตาอักเสบ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-เมื่อปี ค.ศ.1976 ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากเปลือกต้นคาง นำมาทดลองในหนูขาว พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวได้การศึกษาทางพิษวิทยา:

-สารสกัดจากเปลือกต้นคางด้วยเอทานอล : น้ำ (1:1) ขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม ให้ทางปากหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ไม่พบความเป็นพิษ

การใช้ประโยชน์:

-เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในการสร้างบ้าน ก่อสร้างภายในที่ไม่รับน้ำหนักมาก ทำไม้อัด เป็นเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ

-ชาวไทใหญ่จะใช้ยอดอ่อนในพิธีสร้างบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง