Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะเดื่อชุมพร

ชื่อท้องถิ่น: เดื่อเกลี้ยง (ภาคเหนือ)/ มะเดื่อน้ำ มะเดื่อหอม หมากเดื่อ เดื่อเลี้ยง (ภาคอีสาน)/ มะเดื่อ มะเดื่อเกลี้ยง มะเดื่อชุมพร เดื่อน้ำ กูแซ (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ: Cluster fig, Goolar (Gular),  Fig

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus racemosa L.

ชื่อวงศ์: MORACEAE

สกุล: Ficus 

สปีชีส์: racemosa

ชื่อพ้อง: 

-Covellia glomerata (Roxb.) Miq.

-Ficus acidula King

-Ficus chittagonga Miq.

-Ficus glomerata Roxb.

-Ficus henrici King

-Ficus lanceolata Buch.-Ham. ex Roxb.

-Ficus leucocarpa (Miq.) Miq.

-Ficus lucescens Blume

-Ficus semicostata F.M.Bailey

-Ficus trichocarpa f. glabrescens Engl.

-Ficus vesca

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะเดื่อชุมพร thai-herbs.thdata.co | มะเดื่อชุมพร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะเดื่อชุมพร เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ทรงพุ่มกว้าง ใบหนาทึบ ลำต้นสูงประมาณ 5-20 เมตร ลำต้นเกลี้ยง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนกิ่งแก่เป็นสีน้ำตาลเกลี้ยง 


มะเดื่อชุมพร thai-herbs.thdata.co | มะเดื่อชุมพร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตามกิ่ง ใบเป็นรูปทรงรี หรือรูปหอก โคนใบมนหรือกลม ปลายใบแหลม ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนไม่หลุดร่วงง่าย ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงในใบประมาณ 6-8 คู่ และก้านยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อยาวตามกิ่ง โดยแต่ละช่อก็จะมีดอกย่อยขนาดเล็กเป็นกลุ่ม ดอกช่อจะเกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปร่างคล้ายผล และดอกมีสีขาวอมชมพู

   มะเดื่อชุมพร thai-herbs.thdata.co | มะเดื่อชุมพร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลทรงกลมแป้นหรือรูปไข่ ผลจะเกาะกลุ่มอยู่ตามต้นและตามกิ่ง ห้อยเป็นระย้าสวยงาม โดยผลอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดงม่วง มีรสฝาดอมหวาน สามารถรับประทานได้ ซึ่งดอกและผลนี้จะออกตลอดปี

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์: ประเทศอินเดียไปจนถึงประเทศจีน

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผลทำให้สมานแผล

*ราก รสฝาดเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ กล่อมเสมหะและโลหิต แก้ไข้หัวลม ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้คนทาในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่

1.ยาแก้ไข้ ปรากฎตำรับ “ยาห้าราก” มีส่วนประกอบของรากคนทาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการไข้

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เปลือกรากมะเดื่อชุมพร ได้แก่สาร isocoumarin (bergenin), triterpenes ได้แก่ polypodatetraene, α-amyrin acetate, gluanol acetate, lupeol acetate, b-amyrin acetate,   24,25-dihydroparkeol acetate, α-amyrin octacosanoate, lanostane derivative, lanost-20-en-3b-acetate),  สาร phytosteroids ได้แก่ (beta-sitosterol และ beta-sitosterol-beta-D-glucoside) และ long chain hydrocarbon (n-hexacosane) (Jain, et al., 2013)

-รากพบสาร cycloartenol, euphorbol, อนุพันธ์ hexacosanoate,  taraxerone, tinyatoxin (Joseph and Raj, 2010)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์แก้ไข้ ศึกษาฤทธิ์แก้ไข้ของสารสกัดเอทานอลจากรากมะเดื่อชุมพร เปรียบเทียบกับยาแอสไพริน (acetylsalicylic acid) โดยใช้ lipopolysaccaride (LPS) และ brewer’s yeast ในการกระตุ้นให้หนูขาวสายพันธุ์วิสตาร์มีไข้ (เมื่อให้ brewer’s yeast และ LPS อุณหภูมิที่ทวารหนักของหนูขาวจะเพิ่มขึ้น 2.24 °C และ 1.84°C ตามลำดับ) เมื่อฉีด LPS ในขนาด 50 μg/kg ที่กล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง ป้อนสารสกัดรากมะเดื่อชุมพรในขนาด 50-400  mg/kg หรือยาแอสไพริน 300 mg/kg ในหนูแต่ละกลุ่ม วัดอุณหภูมิทวารหนักก่อนการทดลอง 1 ชั่วโมง และวัดอีกครั้งหลังจากที่หนูได้รับการฉีด LPS ไปแล้ว 7 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดรากมะเดื่อชุมพรทุกขนาดสามารถลดอุณหภูมิทวารหนักของหนูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยมีฤทธิ์ลดไข้ได้เทียบเท่ากับยาแอสไพริน  และเมื่อฉีด 20% brewer’s yeast ขนาด 10 ml/kg ทางชั้นใต้ผิวหนังของหนู หลังจากนั้น 18 ชั่วโมงผ่านไป ป้อนสารสกัดรากมะเดื่อชุมพรในขนาด 50-400  mg/kg  หรือยามาตรฐานแอสไพรินในหนูแต่ละกลุ่ม อุณหภูมิที่ทวารหนักจะถูกวัดหลังจากที่ให้สารสกัดรากมะเดื่อชุมพรไปแล้ว 7 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดจากรากมะเดื่อชุมพรทุกขนาดสามารถลดอุณหภูมิทวารหนักของหนูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p<0.05 และสารสกัดจากรากมะเดื่อชุมพรขนาด 200 และ 400 mg/kg  มีฤทธิ์ลดไข้เทียบเท่ากับยาแอสไพริน (Chomchuen, et al., 2010)

-ฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระและปกป้องรังสี การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทางเคมีในหลอดทดลองด้วยวิธีจับอนุมูลอิสระ DPPH (2,2-diphenyl-1-picrylhdrazyl)  พบว่าสารสกัดเอทานอลจากเปลือกราก แก่นราก และสารมาตรฐาน ascorbic acid  สามารถจับอนุมูลอิสระ DPPH ได้โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 5.80, 4.49 และ 5.27 μg/ml ตามลำดับ โดยแก่นรากมะเดื่อชุมพรมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด และออกฤทธิ์ดีกว่าสารมาตรฐาน  การทดสอบฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน ด้วยวิธี FRAP เป็นการวัดความสามารถในการรีดิวซ์ Fe3+เป็น Fe 2+ซึ่งเป็นสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระในการให้อิเล็คตรอน พบว่าทุกความเข้มของสารสกัดแก่นราก (10-80 μg/ml) ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน ascorbic acid (Jain, et al., 2013)

-ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดเอทานอลจากรากมะเดื่อชุมพร เพื่อประเมินฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย 4 ชนิด และเชื้อรา 4 ชนิด ที่ความเข้มข้นที่แตกต่างกัน โดยใช้วิธี disc diffusion โดยความเข้มข้นของสารสกัดที่เกิด clear zone สูงสุด ต่อเชื้อแบคทีเรีย   E. coli, B. subtilis, P. aeroginosa, E. cloacae เท่ากับ 8 mg/disc มีความกว้างของ clear zone เท่ากับ 24.4, 7.2, 9.1 และ 16.1 มิลลิเมตร ตามลำดับ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา โดยความเข้มข้นของสารสกัดที่เกิด clear zone สูงสุดต่อเชื้อรา P. chrysogenum, A. niger, T. rubrum และ C. albicans เท่ากับ 8 mg/disc มีความกว้างของ clear zone เท่ากับ 15.4, 8.2, 16.5 และ 14.2 มิลลิเมตร ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าสารสกัดรากมะเดื่อชุมพรมีฤทธิ์ต้านจุลชีพซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นยารักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราได้ (Goyal, 2012)

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ใบอ่อน ยอดอ่อน ใช้ลวก นึ่ง กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก

-ผลอ่อน ใช้รับประทานเป็นอาหารได้

-หัวใต้ดิน สามารถนำไปนึ่งรับประทานได้

-ช่อดอกหรือที่คนไทยเรียกว่าผลหรือลูกมะเดื่อ สามารถนำมารับประทานเป็นผักได้โดยใช้จิ้มกับผัก หรือใช้ทำแกงอย่างแกงส้มก็ได้เช่นกัน

-ผลสุกสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้หลายชนิด เช่น กระรอก นก หนู ฯลฯ 

-ยางเหนียว ใช้ลงพื้นสำหรับปิดทอง

-เนื้อไม้ สามารถใช้ทำเป็นแอกไถ หีบใส่ของ ไม้จิ้มฟันได้

-ไม้มะเดื่อจัดเป็นไม้มงคลที่สามารถปลูกไว้ในบ้านและยังเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะในสมัยอดีตจะใช้ไม้มะเดื่อทำพระที่นั่งในพระราชพิธีราชาภิเษก ใช้ทำเป็นกระบวยตักน้ำเจิมถวาย และใช้ทำหม้อน้ำสำหรับกษัตริย์ทรงใช้ในพระราชพิธี

-ในคาบสมุทรมลายูจะใช้รากต้มกับน้ำ ปรุงเป็นยาบำรุงหลังการคลอดบุตร 




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง