Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เถาเอ็น (เถาเมื่อย)

ชื่อท้องถิ่น: มะม่วย (เชียงใหม่)/ ม่วย (เชียงราย, อุบลราชธานี)/ ม่วยขาว เมื่อยขาว (อุบลราชธานี)/ แฮนม่วย (เลย)/ เถาเมื่อย (สุโขทัย)/ เมื่อย (ตราด)/ แฮนเครือ มะเมื่อย ม่วยเครือ (ทั้วไป)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gnetum montanum Markgr.

ชื่อวงศ์: GNETACEAE

สกุล: Gnetum 

สปีชีส์: montanum

ชื่อพ้อง: Thoa montana (Markgr.) Doweld

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เถาเอ็น-เถาเมื่อย thai-herbs.thdata.co | เถาเอ็น-เถาเมื่อย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเถาเอ็น (เถาเมื่อย) เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง หรือเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ เลื้อยพันไปตามต้นไม้ใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก เปลือกนอกแตกเป็นสะเก็ด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลปนดำ กิ่งเป็นข้อต่อกันและตามข้อพองบวม ลักษณะเป็นข้อปล้อง 


เถาเอ็น-เถาเมื่อย thai-herbs.thdata.co | เถาเอ็น-เถาเมื่อย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับกับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีขนาดแตกต่างกันมาก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบกลม มน หรือแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 13-16 เซนติเมตร แผ่นใบหนาและเหนียว เมื่อแห้งจะเป็นสีออกดำ เส้นใบมีลักษณะโค้ง มีเส้นใบประมาณ 6-8 คู่ ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร


เถาเอ็น-เถาเมื่อย thai-herbs.thdata.co | เถาเอ็น-เถาเมื่อย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  เถาเอ็น-เถาเมื่อย thai-herbs.thdata.co | เถาเอ็น-เถาเมื่อย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อเชิงลดที่ปลายยอดและตามลำต้น ช่อดอกแตกแขนงมากและมีดอกย่อยอยู่เป็นจำนวนมาก ช่อดอกแยกเป็นช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมีย แต่อยู่บนต้นเดียว สร้างโคนหรือสตรอบิลัสออกเป็นช่อแกน มีลักษณะเป็นกลุ่ม โดยจะออกเรียงกันเป็นชั้น ๆ ตามซอกใบ มีสีเขียวปนเหลือง โคนเพศผู้เป็นช่อเชิงลด แตกแขนง และออกตามลำต้นหรือปลายยอด มีขนาดกว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ก้านโคนยาวประมาณ 0.5-2.4 เซนติเมตร ก้านโคนย่อยยาว 0.5-1 เซนติเมตร โดยโคนย่อยมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-4.2 เซนติเมตร ปลายมน โคนมน สีเขียว และมีขนสั้นจำนวนมากและหนาแน่น แต่ละโคนมีชั้น 8-15 ชั้น และในแต่ละชั้นมีเกสรเพศผู้ 8-25 อัน เรียงเป็นวงรอบ ๆ ข้อ ยาวประมาณ 0.5-1.5 มิลลิเมตร เป็นสีเหลืองหรือขาวอมเหลือง ส่วนอับเรณูเป็นสีขาว มีก้านชูเกสรเพศผู้เป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนโคนเพศเมียแตกแขนง ก้านโคนยาวประมาณ 1.7-4.9 เซนติเมตร ในแต่ละโคนจะมีชั้น 6-14 ชั้น และในแต่ละชั้นจะมีเมล็ด 1-8 เมล็ด มีขนเล็กน้อย และก้านของโคนย่อยยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร


เถาเอ็น-เถาเมื่อย thai-herbs.thdata.co | เถาเอ็น-เถาเมื่อย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  เถาเอ็น-เถาเมื่อย thai-herbs.thdata.co | เถาเอ็น-เถาเมื่อย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นรูปกระสวย โคนและปลายมน ผิวเกลี้ยง มีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เมล็ดไม่มีผลห่อหุ้ม แต่จะมีกลีบนุ่มคล้ายหนังหุ้มอยู่ เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูแดงหรือสีแดง ก้านเมล็ดสั้นและเกลี้ยง ยาวได้ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นได้ตามป่าดิบแล้ง

ถิ่นกำเนิด: ฮิมาลายาไปจนถึงจีนตอนใต้และอินโดจีน

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนตอนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, ลาว, พม่า, เนปาล, ไทย, เวียดนาม

เถาเอ็น-เถาเมื่อย thai-herbs.thdata.co | เถาเอ็น-เถาเมื่อย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสขมติดเมา สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นตึง บำรุงเส้นเอ็น

*เมล็ด รสร้อน สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แน่น จุกเสียด ท้องขึ้นอืดเฟ้อ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคไข้มาลาเรีย  รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย 

-อาการแผลสด แผลเปื่อยอักเสบ ฝี หนอง และตุ่ม ใช้ใบนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างแผลสด แผลเปื่อยอักเสบ ฝี หนอง และตุ่มหนอง 

-ใบ ใช้รับประทานเป็นผัก ต้ม ลวก รับประทานกับน้ำพริก

-เมล็ดหรือผล นำมาทำให้สุกหรือต้มใช้รับประทานได้

-เมล็ดให้น้ำมัน หรือนำมารับประทาน หรือใช้ทำไวน์ได้

-เปลือกต้น มีความเหนียวมาก สามารถนำมาใช้ทำเชือกได้

-เส้นใยจากเปลือก สามารถนำมาใช้ทำกระสอบหรือแหจับปลาได้

-ตำรับยาพื้นบ้านอีสานจะใช้ลำต้นผสมกับลำต้นของเถาเอ็นอ่อน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อย

-ยาพื้นบ้านอีสานจะใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยในการอยู่ไฟของสตรี บำรุงร่างกายของสตรีหลังการคลอดบุตร

-ส่วนชาวขมุและชาวเมี่ยนจะใช้เครือนำมาทำสายหน้าไม้ เพราะมีความเหนียวมาก

-ชาวเขาผ่าอีก้อใช้ใบต้มน้ำชะล้างแผลสด แผลเปื่อยอักเสบ ฝี หนอง ตุ่ม  ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง