Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: แพงพวยบก (แพงพวยฝรั่ง)

ชื่อท้องถิ่น: แพงพวยบก แพงพวยฝรั่ง (กรุงเทพฯ)/ นมอิน (สุราษฎร์ธานี)/ ผักปอดบก (ภาคเหนือ)/ แพงพวยบก พังพวยบก แพงพวยฝรั่ง พังพวยฝรั่ง (ภาคกลาง)/ ฉางชุนฮวา (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: West Indian periwinkle, Madagascar periwinkle, Bringht eye, Indian periwinkle, Cape periwinkle, Pinkle-pinkle, Pink periwinkle, Vinca, Cayenne jasmine, Rose periwinkle, Old maid

ชื่อวิทยาศาสตร์: Catharanthus roseus (L.) G.Don

ชื่อวงศ์: APOCYNACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย RAUVOLFIOIDEAE 

สกุล: Catharanthus 

สปีชีส์: roseus

ชื่อพ้อง: 

-Ammocallis rosea (L.) Small

-Lochnera rosea (L.) Rchb. ex Spach

-Pervinca rosea (L.) Gaterau

-Vinca rosea L.

-Vinca speciosa Salisb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

แพงพวยบก thai-herbs.thdata.co | แพงพวยบก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นแพงพวย เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนพุ่มเตี้ย มีความสูงได้ประมาณ 50-120 เซนติเมตร ลำต้นช่วงบนแตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลปนเขียว มียางสีขาว 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายใบมนเป็นติ่งหนาม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร แผ่นใบหนา หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบ เส้นกลางใบเป็นสีเขียวอ่อนหรือเป็นสีเหลืองลากเป็นเส้นเห็นได้ชัดเจน


แพงพวยบก thai-herbs.thdata.co | แพงพวยบก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกหรือออกเป็นกลุ่ม ๆ กระจุกละประมาณ 1-3 ดอก โดยจะออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีชมพูหรือสีม่วงและสีขาว ถ้าเป็นดอกสีชมพูตรงกลางดอกจะเป็นสีแดง ส่วนดอกสีขาวตรงกลางดอกจะเป็นสีเหลือง กลีบดอกมีชั้นเดียวและมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับ ปลายกลีบมนและมีติ่งแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร เมื่อดอกร่วงหล่นไปก็จะติดฝักหรือผลเป็นรูปทรงกระบอก

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก มักออกเป็นคู่ ยาวประมาณ 2-3.75 เซนติเมตร เมื่อผลแห้งจะแตกออกด้านเดียว ภายในผลมีเมล็ดสีดำอยู่มากมาย

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: หมู่เกาะมาดากัสการ์ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง

การกระจายพันธุ์: อลาบามา, อัลดาบรา,  อันดามัน, อารูบา, เกาะอัสเซนชัน, อัสสัม, บาฮามาส, บังกลาเทศ, เบลีซ, เบนิน, บอร์เนียว, บูร์กินา, แคลิฟอร์เนีย, กัมพูชา, แคเมอรูน, หมู่เกาะคานารี, เมืองเคป, หมู่เกาะเคย์แมน, อเมริกากลาง, ชาด, หมู่เกาะชากอส, จีนตอนกลางตอนใต้, จีนตะวันออกเฉียงใต้, เกาะคริสต์มาส, เกาะคุกส์, คอสตาริกา, คิวบา, ไซปรัส, จิบูตี, สาธารณรัฐโดมินิกัน, หิมาลัยตะวันออก, อีสเตอร์อิส, เอลซัลวาดอร์, เอริเทรีย, เอธิโอเปีย, ฟิจิ, ฟลอริดา, เฟรนช์เกียนา, กาบอง, กาลาปากอส, แกมเบีย, กิลเบิร์ตอิส , กัวเตมาลา, อ่าวกินีคือ., เฮติ, ฮอนดูรัส, อินเดีย, อิตาลี, ไอวอรีโคสต์, จาเมกา, จาวา, คาซาน-เรตโต, เคนยา, เคอร์มาเดคไอส์, กฤติ, เกาะแลคาดีฟ.เกาะลีวาร์ด, เกาะซุนดาน้อย, มาลายา, มัลดีฟส์, มาร์เกซัส, มอริเชียส, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้, โมซัมบิก, โมซัมบิก, แชนเนล, เมียนมาร์, เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส, นิวแคลิโดเนีย, นิวกินี, นิการากัว, นิโคบาร์ไอเอส, นีอูเอ, โอกาซาวาระ-โชโต, ปานามา, ฟิลิปปินส์, ฟีนิกซ์ไอส์, เปอร์โตริโก, ควีนส์แลนด์, โรดริเกซ, เรอูนียง, ซามัว, เซเนกัล, เซเชลส์, เซียร์ราลีโอน, โซไซตี้ , ทะเลจีนใต้, แคริบเบียนตะวันตกเฉียงใต้, เซนต์เฮเลนา, สุมาเตรา, ไต้หวัน, แทนซาเนีย, ไทย, โตโก, โทเคอเลา-มานิฮิกิ, ตองกา, ตรินิแดด - โตเบโก, ตูนิเซีย, หมู่เกาะเติกส์-เคคอส, ยูกันดา, เวียดนาม,

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง และปักชำกิ่งส่วนยอด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเย็นเบื่อ สรรพคุณ แก้มะเร็ง น้ำเหลืองเสีย

องค์ประกอบทางเคมี: 

-สารสำคัญที่พบ ได้แก่ acenine, ajalicine, akummigine, ammocalline, arginins, carosine, campesterol, glutamine, Leurosidine, loganin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ลดปริมาณเม็ดเลือดขาว นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการแยกสารอัลคาลอยด์และตั้งชื่อว่า Vinblastine และได้นำไปใช้ทดลองกับหนูทดลอง พบว่าสารชนิดนี้มีฤทธิ์ทำให้ปริมาณของเม็ดเลือดขาวลดน้อยลง ต่อมาได้ทำการสกัดและแยกสารอัลคาลอยด์จากพรรณไม้ชนิดนี้ได้ประมาณ 50 ชนิด (อีกข้อมูลบอกว่าพบประมาณ 70 กว่าชนิด เช่น Vincaleukoblastine, Vinblastine, Vinrosidine, Vincristinem Vinleurosine, Rovidine, Leurosivine อีกทั้งยังมี Carosine, Perivinem Perividine, Catharanthine, Vindolie, Vincolidine เป็นต้น[3]) ซึ่งในจำนวนนี้จะมีสารอัลคาลอยด์อยู่ด้วยกัน 4 ชนิดที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคได้ คือ Vincristine, Vinblastine, Vinrosidine, Vinleucostine (สารทั้ง 4 ชนิดนี้เป็นสารอัลคาลอยด์ที่มีอยู่ในพวก Dimeric indoleindoline) โดยต้นแพงพวยฝรั่งหนัก 500 กิโลกรัม จะให้สารอัลคาลอยด์ Vincristine เพียง 1 กรัมเท่านั้น โดยสาร Vinblastine ที่นิยมใช้ Vinblasine sulphate ทำเป็นยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือใช้ทำเป็นยารับประทานเพื่อบำบัดรักษาโรคมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง ส่วนสาร Vincristine ที่นิยมใช้ Vincristine sulphate ทำเป็นยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก

-ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด เมื่อปี ค.ศ. 2004 ในประเทศไทยได้ทำการศึกษาทดลองผลของแพงพวยในการลดไขมันในเลือดสูง โดยทำการทดลองในหนู (Mice) ด้วยการให้สารสกัดจากแพงพวยในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม สำหรับทดสอบค่าความเป็นพิษ และทดสอบผลการลดความดันโลหิตสูงในแมวที่ให้สารสกัดแพงพวยในขนาด 0.3 กรัมต่อกิโลกรัม และทดสอบผลในการลดไขมันในเลือดในหนูด้วยการให้สารสกัดแพงพวยในขนาด 0.3 กรัมต่อกิโลกรัมเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และดูผลในการขับปัสสาวะในขนาด 0.1 กรัม ใช้เวลา 24 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับสาร Furosemide ผลการทดลองสรุปว่าสารสกัดแพงพวยที่ใช้ในรูปยาที่มีชื่อว่า RUVINAT นั้น ได้ผลดีในการลดความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ และลดไขมันในเลือดสูง

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-จากการทดสอบความเป็นพิษด้วยการฉีดสารสกัดจากใบแพงพวยฝรั่งด้วย 95% เอทานอลเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 4 กรัมต่อกิโลกรัม

การใช้ประโยชน์:

-โรคกลากน้ำนม ใช้ต้นสดตำพอกบริเวณที่เป็น

-อาการหัวฝีกลัดหนองยังไม่แตก ใช้ต้นสดนำมาต้มเอาน้ำชะล้างและใช้ตำพอกบริเวณที่เป็น

-อาการแผลบวมจากการหกล้ม แผลเน่าเปื่อย ใช้ต้นสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น

-นิยมปลูกต้นแพงพวยฝรั่งไว้เป็นไม้ประดับสวนทั่วไป ปลูกตามริมถนน ริมทางเดิน สวนสาธารณะ ริมทะเลได้ดี หรือในที่น้ำไม่ท่วมขัง ปลูกเป็นไม้กระถางก็ดูงดงาม เนื่องจากดอกสวยเด่นมีหลายสี จัดเป็นไม้ดอกที่ปลูกง่าย โตเร็ว ดูแลง่าย ตายยาก 

-บางท้องถิ่นทางภาคใต้ของประเทศไทย หรือในประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซียมักจะปลูกต้นแพงพวยไว้เป็นไม้ประดับหลุมฝังศพ และจะไม่ปลูกตามบ้านเรือ

-ในประเทศอินเดีย (เมือง Orissa) จะใช้น้ำสกัดจากใบแพงพวยฝรั่งมารักษาโรคแมลงกัดต่อย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง