Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: โปรงขาว

ชื่อท้องถิ่น: โปรง โปรงหมู ปะโลง โหลง (กลาง)/ กระปูโลง โปลง โปรง (เพชรบุรี)/ แหม (ภูเก็ต)/ แสมมาเนาะ (สตูล)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ceriops decandra (Griff.) Ding Hou

ชื่อวงศ์: RHIZOPHORACEAE

สกุล: Ceriops

สปีชีส์: decandra 

ชื่อพ้อง: 

-Bruguiera decandra (Roxb.) W. Griffith

-Ceriops candolleana Náves

-Ceriops decandra (Griff.) W. Theobald

-Ceriops roxburghiana Arn.

-Ceriops zippeliana Bl.

-Rhizophora decandra Roxb. ex Griff.

-Rhizophora glomerulata Zipp. ex Bl.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

โปรง thai-herbs.thdata.co | โปรง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นโปรง เป็นไม้ต้นขนาดกลาง กึ่งไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-7 เมตร โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อย พองขยายออก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนสั้น กลม ยาวประมาณ 6-13 เซนติเมตร เหนือผิวดิน ทรงพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกต้น สีเทาอ่อน เรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด ช่องอากาศสีนํ้าตาลอมชมพู


โปรง thai-herbs.thdata.co | โปรง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทางเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบ รูปไข่กลับหรือรูปรีแกมไข่กลับถึงรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร เป็นมัน ปลายใบป้านมน กลม หรือเว้าตื้นๆ โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนสีเขียว ผิวใบด้านล่างซีด ก้านใบยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร หูใบยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร


โปรง thai-herbs.thdata.co | โปรง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบ แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ก้านช่อดอกหนาสั้น ไม่มีก้านดอกย่อย ดอกอยู่เป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อดอก วงกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร  กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่แหลม กว้างประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร  ยาวประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร  ตรงหรือโค้งขึ้นเข้าหาผล ใบประดับเชื่อมติดกันที่โคนหลอด กลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนานสีขาว เมื่อแก่ตัวลงกลายเป็นสีน้ำตาล


โปรง thai-herbs.thdata.co | โปรง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะ

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามพื้นที่ป่าชายเลน

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสฝาดจัดเฝื่อนเล็กน้อย สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน คุมอาจม แก้เสมหะและโลหิต สมานแผล

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์: 

-เปลือกต้น ใช้ต้มกับน้ำไว้ชะล้างบาดแผล

-ใบและเปลือกต้น ใช้ในการฟอกหนัง 

-เปลือกต้นและน้ำยาง ให้สารสีแดงและดำ ใช้ในการทำผ้าบาติก ใช้ย้อมฝาดแห อวน และเสื่อ ในเปลือกลำต้นมีแทนนิน 20 – 40% เปลือกให้สีย้อมสีน้ำตาล เมื่อผสมกับครามจะให้สีออกดำหรือม่วง

-ลำต้น ใช้ทำเสาและเผาถ่าน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง