Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะกล่ำตาหนู (มะกล่ำเครือ)

ชื่อท้องถิ่น: กล่ำตาไก่ กล่ำเครือ มะกล่ำแดง มะกล่ำเครือ มะแค้ก มะแค๊ก (เชียงใหม่)/ เกมกรอม (สุรินทร์)/ มะขามเถา ไม้ไฟ (ตรัง)/ กล่ำเครือ ก่ำเครือ กล่ำตาไก่ ก่ำตาไก่ ตากล่ำ มะกล่ําเครือ (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน)/ หมากกล่ำตาแดง (ภาคอีสาน)/ ชะเอมเทศ ตากล่ำ มะกล่ำตาหนู (ภาคกลาง)/ เกรมกรอม (เขมร)/ โทวกำเช่า เซียงจือจี้ (จีนแต่จิ๋ว)/ เซียงซือจื่อ เซียงซัวโต้ว (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: American pea, Buddhist rosary bean, Crab’s eye, Crab’s eye vine, Indian bead, Jequirity bean, Seminole bead, Prayer beads, Precatory bean, Rosary Pea, lucky bean, Weather plant, Wild licorice

ชื่อวิทยาศาสตร์: Abrus precatorius L.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Abrus 

สปีชีส์: precatorius

ชื่อพ้อง: 

-Abrus maculatus Noronha

-Abrus pauciflorus Desv.

-Glycine abrus L.

-Orobus americanus Mill.

-Zaga latifolia Raf.

-Zaga parvifolia Raf.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ thai-herbs.thdata.co | มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะกล่ำตาหนู เป็นไม้เถาเลื้อยมีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นได้ถึง 5 เมตร โดยจัดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนสีเขียวขนาดเล็ก เถามีลักษณะกลมเล็กเรียวและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ที่โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่ 


มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ thai-herbs.thdata.co | มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ออกเรียงสลับ ในก้านหนึ่งจะมีใบย่อประมาณ 8-20 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบมน มีหนามขนาดเล็กติดอยู่ โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร แผ่นใบเรียบ หลังใบมีขนปกคลุม ส่วนท้องใบมีขนเล็กน้อย และมีหูใบ


มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ thai-herbs.thdata.co | มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ โดยจะออกตามซอกใบ ยาวประมาณ 2.5-12 เซนติเมตร ก้านช่อดอกใหญ่ นิ่ม และมีขนปกคลุม ยาวได้ประมาณ 9 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวหรือสีม่วงอ่อน เชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ส่วนกลีบดอกมีรอยหยัก 4 รอย เป็นสีเขียวอมเหลือง ผิวนอกมีขนปกคลุม กลีบดอกด้านล่างจะใหญ่กว่ากลีบดอกด้านบน และจะอัดกันแน่นติดอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกเป็นสีชมพูแกมสีม่วง ดอกมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร กลีบกลางเป็นรูปไข่กลับ ส่วนกลีบคู่ด้านข้างเป็นรูปขอบขนาน และกลีบคู่ด้านล่างเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ดอกมีเกสรเพศผู้ 9 ก้าน เกสรเพศเมียมีรังไข่เป็นรูปขอบขนาน มีขน ติดกันเป็นกระจุก มีใบประดับเป็นรูปหอก ใบประดับย่อยเป็นรูปแถบแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม


มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ thai-herbs.thdata.co | มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ thai-herbs.thdata.co | มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปกระบอกแกมรูปไข่ โดยจะออกเป็นพวง ๆ ฝักมีลักษณะแบนยาว ปลายฝักแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 1.2-1.4 เซนติเมตรและยาวได้ประมาณ 2-4.5 เซนติเมตร ฝักมีขนสีน้ำตาล เปลือกฝักเหนียว ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนฝักแก่แตกได้ตามแนวยาว ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 3-6 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีแดง บริเวณขั้วมีแถบสีดำ ผิวเรียบเงามัน

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นทั่วไปตามป่าเปิดหรือในที่โล่ง ที่รกร้าง ป่าตามทุ่งนา หรือตามป่าเต็งรัง

ถิ่นกำเนิด: โลกเก่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนไปจนถึงออสเตรเลียเหนือ-ตะวันนออก

การกระจายพันธุ์: -

มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ thai-herbs.thdata.co | มะกล่ำตาหนู-มะกล่ำเครือ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ มีรสหวาน ใช้แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ใบชงน้ำรับประทานแทนน้ำชา ใบต้มน้ำดื่มแก้เจ็บคอ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ตับอักเสบ กระตุ้นน้ำลาย ขับปัสสาวะ แก้ปวดบวมตามข้อ ปวดตามแนวประสาท ตำพอก แก้ปวดบวม แก้อักเสบ และแก้จุดด่างดำบนใบหน้า รากใช้แก้เจ็บคอ ไอแห้ง ขับปัสสาวะ 

*ราก  รสเปรี้ยวขื่น ขับเสมหะ แก้เสียงแห้ง กล่องเสียงอักเสบ แก้ไอ แก้หวัด 

*เถาและราก รสจืดชุ่ม เป็นยาสุขุม ไม่มีพิษ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับพิษร้อน แก้คออักเสบ คอเจ็บ คอบวม ขับเสมหะ แก้เสียงแห้ง แก้ไอหวัด แก้หืด แก้ไอแห้ง แก้หลอดลมอักเสบ แก้อาเจียน แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน ขับปัสสาวะ และขับเสมหะ 

*เมล็ด เป็นพิษ ใช้ได้เฉพาะภายนอก รสขมเผ็ดเมาเบื่อ บดผสมน้ำมันพืช ทาแก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิผิวหนัง ฝีมีหนอง และใช้ทำยาฆ่าแมลง

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ พบสารหวานชื่อ abrusosides (หวานกว่าน้ำตาลทราย 30-100 เท่า), glycyrrhizic acid มีความหวานสูง และไม่มีพิษ  เป็นต้น

-เมล็ด พบสาร Abrine, Abraline, Abrussic acid, Campesterol, Cycloartenol, Gallica acid, Glycyrrhizic acid, Hypaphorine, Precatorine, Squalene เป็นต้น

-ราก พบสาร Abrol, Abrasine, Precasine, Precol เป็นต้น

-ราก เถา และใบ พบสาร glycyrrhizic acid เป็นต้น

-ราก เถใบ และเมล็ด พบสาร Trigonelline เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-สารที่สกัดจากรากมะกล่ำตาหนูด้วยแอลกอฮอล์ มีประสิทธิภาพในการต่อต้านฮอร์โมนเพศหญิง

-สารโปรตีน Abrin ที่เป็นพิษในเมล็ดมะกล่ำตาหนู จะมีการออกฤทธิ์คล้ายกับสาร Ricin ที่พบในเมล็ดละหุ่ง

-สารที่สกัดจากเมล็ดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Staphelo coccus, เชื้อบิดอะมีบา, เชื้อในลำไส้ และเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังได้

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน หิด ฝีมีหนอง ฆ่าพยาธิผิวหนัง และอาการบวมอักเสบ ใช้เมล็ดมีรสเผ็ดเมาเบื่อ นำมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำมันพืช น้ำ น้ำมันมะพร้าว หรือเกลือ ใช้พอกหรือทาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน หิด ฝีมีหนอง ฆ่าพยาธิผิวหนัง และแก้อาการบวมอักเสบได้ 

-อาการร้อนในกระหายน้ำ ใช้ใบ มีรสหวาน ชงกับน้ำดื่มแทนน้ำชา จะช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้ หรือส่วนเถาและรากก็เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำเช่นกัน 

-อาการเจ็บคอ แก้หลอดลมอักเสบ  ใช้ใบ มีรสหวาน ต้มกับน้ำดื่มแก้อาการเจ็บคอ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ 

-อาการเจ็บคอ ไอแห้ง คออักเสบ คอบวม คอเจ็บ ใช้รากแห้ง มีรสเปรี้ยวขื่น ประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม 

-อาการขัดปัสสาวะ ช่วบขับปัสสาวะ ใช้รากแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม

-อาการปวดบวม อักเสบ ใช้ใบตำพอกแก้ปวดบวม แก้อักเสบ หรือนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำมันพืชก่อนนำมาใช้พอก




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง