Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ขจร

ชื่อท้องถิ่น: สลิด ขจร (ภาคกลาง)/ ผักสลิด (นครราชสีมา)/ ผักสลิดคาเลา (ภาคเหนือ)/ผักขิก  ผักสลิดป่า ผักกะจอน (ภาคอีสาน) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Cowslip creeper

ชื่อวิทยาศาสตร์: Telosma cordata (Burm. f.) Merr.

ชื่อวงศ์: APOCYNACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย ASCLEPIADOIDEAE-ASCLEPIADACEAE

สกุล:  Telosma 

สปีชีส์: cordata 

ชื่อพ้อง: 

-Apocynum odoratissimum Lour. ex Pritz.

-Asclepias cordata Burm.f.

-Asclepias odoratissima (Lour.) Roxb.

-Cynanchum odoratissimum Lour.

-Marsdenia glaziovii (E.Fourn.) Spellman & Morillo

-Oxystelma ovatum P.T.Li & S.Z.Huang

-Pergularia limbata Wall. ex Wight

-Pergularia minor Andrews

-Pergularia odoratissima (Lour.) Sm.

-Pergularia viridis Buch.-Ham. ex Wight

-Stephanotella glaziovii E.Fourn.

-Telosma minor (Andrews) Craib

-Telosma odoratissima (Lour.) Coville

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ขจร thai-herbs.thdata.co | ขจร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นขจร เป็นไม้เถาเลื้อย พาดเลื้อยพันไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร เถามีขนาดเล็ก ลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวเป็นตะปุ่มตะป่ำ และจะมีน้ำยางสีใสไหลออกมา ปลายเถาหรือปลายกิ่งมีขนอ่อนปกคลุมซึ่งเถาขจรไม่มีมือเกาะเหมือนไม้เถาเลื่อยอื่นๆ ส่วนเนื้อไม้มีลักษณะแข็ง และเหนียว


ขจร thai-herbs.thdata.co | ขจร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ คล้ายใบโพธิ์หรือใบพลู ปลายใบเรียวแหลมยาวเป็นติ่ง (คล้ายใบต้นข้าวสาร) โคนใบมนเว้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-11 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบบาง เกลี้ยง ไม่มีจัก จะเห็นเส้นใบชัด หน้าใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นสีเขียวอมสีแดงเล็กน้อย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร


ขจร thai-herbs.thdata.co | ขจร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ขจร thai-herbs.thdata.co | ขจร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามหรือออกเป็นพวง ๆ คล้ายพวงอุบะตามซอกใบหรือโคนก้านใบ โดยในช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 10-20 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะแข็งเป็นสีเขียวอมสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม (หอมแรงกว่าดอกชำมะนาดหรือกลิ่นของใบเตย โดยจะหอมมากในช่วงเย็นถึงกลางคืน) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ กลีบดอกย่นและบิด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ติดอยู่บนหลอดกลีบดอก เชื่อมติดกันเองและเชื่อมติดกับยอดเกสรเพศเมีย แล้วจะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นชั้นกระบังรอบ ล้อมรอบก้านยอดเกสเพศเมียและเกสรเพศเมียเอาไว้ และมีชุดกลุ่มเรณูอยู่ 5 ชุด ซึ่งมีลักษณะการเกิดคล้ายกับในดอกรัก เกสรเพศเมียจะมีรังไข่ 2 อัน แต่มีก้านยอดเกสรเพศเมียและยอดเกสรเพศเมียร่วมกัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว มี 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ


ขจร thai-herbs.thdata.co | ขจร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ขจร thai-herbs.thdata.co | ขจร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นฝักมีรูปร่างกลม เรียวยาวผิวเกลี้ยง ตัวฝักโค้งเล็กน้อย ปลายฝักแหลม ฝักกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาล และเมื่อฝักที่แก่เต็มที่จะปริแตกแยกออกเป็น 2 ซีก ภายในฝักมีเมล็ดรูปไข่กว้างลักษณะแบนปลายตัด และมีขนซึ่งจะมีจำนวนมาก

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง

ถิ่นกำเนิด: ปากีสถานไปจนถึง จีน (กวางสี, กวางตุ้ง)

การกระจายพันธุ์: บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนตะวันออกเฉียงใต้, อินเดีย, ลาว, เมียนมาร์, ปากีสถาน, ไทย, เวียดนาม, เทือกเขาหิมาลัยตะวันตก, จาวา, หมู่เกาะมาเรียนา, ฟิลิปปินส์

ขจร thai-herbs.thdata.co | ขจร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเย็นเบื่อ สรรพคุณ ทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อเมา ดับพิษทั้งปวง หยอดตา แก้ตาอักเสบ ตาแฉะ ตาแดง ตามัว

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ผลการศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของขจรหลายฉบับระบุว่า ดอกขจรมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง บำรุงกระดูก และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เป็นต้น

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ดอกและยอดใบอ่อน มีวิตามินสูง การรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาได้

-ยอดอ่อน ผลอ่อน และดอกใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกให้สุกใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ส่วนดอกยังสามารถนำไปปรุงอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงส้มดอกขจร แกงจืดดอกขจร แกงเลียง ขจรผัดไข่ ขจรชุบแป้งทอด ยำดอกขจร ข้าวต้มดอกขจร ผัดน้ำมันหอย ผัดกับปลาหมึก เป็นต้น

-ดอก นำมาใช้ในงานดอกไม้สด ด้วยการนำไปร้อยอุบะติดชายมาลัยหรือเครื่องแขวนต่าง ๆ 

-เถา มีความเหนียวมาก สามารถนำมาใช้แทนเชือได้

-ในสมัยก่อนจะนำดอกขจรมานึ่งให้สุก ผสมกับมะพร้าวอ่อนหรือมะพร้าวแก่ขูดฝอย นำมาปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย งา และเกลือเล็กน้อย ใช้ทำเป็นขนมที่เรียกว่า “ขนมดอกขจร”

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นสลิดมีดอกที่มีกลิ่นหอมมีสีเหลือง เวลาบานจะเป็นช่อสวยงาม มีเถาเลื้อยได้ยาว แตกกิ่งมาก จึงนิยมปลูกจึงมีการปลูกเพื่อทำซุ้มสำหรับให้ร่มเงา และเป็นไม้ประดับ

-ในมลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกายังมีการใช้ดอกขจรในการร้อยมาลัยคล้องคอที่เรียกว่า “เลย์ส หรือ lais” ใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ ของท้องถิ่น




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง