Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ก่อ

ก่อ thai-herbs.thdata.co | ก่อ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: ก่อสร้อย (เชียงใหม่)/ ก่อหนัด ก่อหัด(เพชรบรูณ์ ร้อยเอ็ด)/

ชื่อสามัญ: Evergreen Chinkapin

ชื่อวิทยาศาสตร์: Castanopsis  acuminatissima  Rehd.

ชื่อวงศ์: FAGACEAE

กุล: Castanopsis  

สปีชีส์: acuminatissima

ชื่อพ้อง: 

-Castanea acuminatissima Blume

-Castanea sessilifolia Blume

-Castanopsis bejaudii A. Camus

-Castanopsis junghuhnii (Miq.) Markgr.

-Castanopsis nebularum Hickel & A.Camus

-Castanopsis schlenckerae FMBailey

-Castanopsis sessilifolia A.DC.

-Pasania acuminatissima (Blume) Oerst.

-Quercus acuminatissima (บลูม) A.DC.

-Quercus fagiformis Jungh

-Quercus junghuhnii Miq.

-Quercus lineata Miq

-Quercus varingifolia Miq.

-Synaedrys acuminatissima (Blume) Koidz

-Synaedrys fagiformis (Jungh.) Koidz

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นก่อ เป็นไม้ต้นกึ่งผลัดใบขนาดกลาง ความสูง 15-35 เมตร เปลือกนอกสีเทา แตกเป็นร่องตื้นๆตามยาวและตามขวาม เปลือกในสีน้ำตาลแดงหรือสีเลือดหมู

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบเวียนสลับ ใบรูปหอก กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ฐานใบแหลม ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ใบทั้งสองด้านเกลี้ยง ผิวใบด้านบนมีสีเขียว ส่วนผิวใบด้านล่างมีสีแดงเรื่อๆหรือน้ำตาล เมื่อขยี้ใบจะมียาง และมีกลิ่นหอม

ดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงลดแน่น เกิดตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่ง ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกสีเหลืองอ่อน มีวงกลีบรวมเป็นรูปถ้วยยาว อาจเชื่อมติดกัน สีน้ำตาล ไม่มีกลีบดอก    

ก่อ thai-herbs.thdata.co | ก่อ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ผล มีลักษณะทรงกลม ขนาดประมาณ 5-7 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว ผลแก่มีเปลือกสีแดง และแก่จัดมีสีดำอมน้ำตาล เปลือกผลมีผิวขรุขระ และปริแตกออกเป็น 2 ซีก เมื่อแก่จัดหรือเมื่อผลแห้งจนมองเห็นเมล็ดด้านใน ซึ่งมีลักษณะทรงกลม เปลือกเมล็ดมีสีดำ และเป็นมัน ขนาดเมล็ดประมาณ 2.5-3.5 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบตั้งแต่ระดับความสูง 100-1,600 เมตร โดยขึ้นอยู่หนาแน่นที่ระดับ 1,200-1,300 เมตร สำหรับประเทศไทยพบกระจายทั่วไปในป่าดิบเขาของและพบบ้างในป่าผลัดใบผสมและป่าเต็งรัง

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: เอเชียตะวันออก จีน บังกลาเทศ เมียนมาร์ ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย นิวกินี

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นเหียนอาเจียน สมานแผล ห้ามโลหิต 

*เนื้อในเมล็ด รสหวาน สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงลำไส้ แก้อ่อนเพลีย

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-เนื้อไม้ ใช้ทำโครง สร้างส่วนต่างๆของบ้าน เช่น เสาบ้าน

-เนื้อไม้ เพาะเห็ดหอม

-เมล็ดนำมาต้ม หรือ คั่วให้สุกก่อนรับประทานกับน้ำพริก



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง