Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้าหนวดแมว (พยับเมฆ)

ชื่อท้องถิ่น: พยับเมฆ (กรุงเทพฯ)/ บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์)/ อีตู่ดง (เพชรบุรี)/ หญ้าหนวดเสือ เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Java tea, Kidney tea plant, Cat’s whiskers

ชื่อวิทยาศาสตร์: Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.

ชื่อวงศ์: LAMIACEAE-LABIATAE

สกุล: Orthosiphon 

สปีชีส์: aristatus

ชื่อพ้อง: Ocimum aristatum Blume

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้าหนวดแมว thai-herbs.thdata.co | หญ้าหนวดแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

หญ้าหนวดแมว thai-herbs.thdata.co | หญ้าหนวดแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหญ้าหนวดแมว เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีลำต้นและกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม มีสีน้ำตาลหรือสีม่วงแดง และมีขนเล็กน้อย ต้นมีความสูงประมาณ 0.3-0.8 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก โคนต้นอ่อนโค้ง ปลายตั้งตรง ตามยอดอ่อนมีขนกระจาย 


หญ้าหนวดแมว thai-herbs.thdata.co | หญ้าหนวดแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปข้าวหลามตัด มีขอบใบหยักเป็นจักคล้ายฟันเลื่อย แผ่นใบบางเป็นสีเขียวเข้ม ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 2-4.5 เซนิเมตร ยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร และก้านใบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร


หญ้าหนวดแมว thai-herbs.thdata.co | หญ้าหนวดแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  หญ้าหนวดแมว thai-herbs.thdata.co | หญ้าหนวดแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุก ปลายยอดดอกลักษณะคล้ายฉัตร มีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีริ้วประดับรูปไข่ ยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ไม่มีก้าน ส่วนกลีบของดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังงอเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 2.5-4.5 มิลลิเมตร ออกดอกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง มีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์ที่มีดอกสีขาวอมม่วงอ่อนและพันธุ์ที่มีดอกสีฟ้า ดอกหญ้าหนวดแมวจะบานจากล่างขึ้นบน ดอกมีเกสรตัวผู้ประมาณ 3-4 เส้น เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก มีลักษณะคล้ายหนวดแมว และที่ปลายเกสรจะมีติ่งสีน้ำเงินอมม่วงอยู่

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน กว้าง และแบน มีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ตามผิวมีรอยย่น เป็นผลแห้งไม่แตก

สภาพนิเวศวิทยา:พบขึ้นที่ชื้น มีแดดรำไรในป่าริมลำธาร หรือน้ำตก

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนำปจนถึงออสเตรเลียเหนือ

การกระจายพันธุ์: -

หญ้าหนวดแมว thai-herbs.thdata.co | หญ้าหนวดแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น รสจืด สรรพคุณ ขับปัสสาวะขับนิ่ว แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว ใช้มากเป็นอันตราย กดหัวใจทำให้หยุดเต้นได้

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ต้นหญ้าหนวดแมว พบสารกลุ่ม phenolic compoundsได้แก่ rosmarinic acid, 3’-hydroxy-5, 6,    7, 4’-tetramethoxyflavone, sinensetin และeupatorin รวมทั้ง pentacyclic triterpenoid ที่สำคัญคือ betulinic acid2 นอกจากนี้ยังพบ glucoside orthosiphonin, myoinositol, essential oil, saponin, alkaloid, phytosterol, tannin พบสารกลุ่มฟลาโวน เช่น sinensetin, 3’-hydroxy-5,6,7,4’-tetramethoxy flavonesPotassium Salf ในใบ และ Hederagenin, Beta-Sitosterol, Ursolic acid ในต้นอีกด้วย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทดลองป้อนทิงเจอร์ของสารสกัดจากใบด้วยเอทานอลร้อยละ 50 และร้อยละ 70 ให้หนูแรทพบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 50 มีฤทธิ์ขับปัสสาวะและขับโซเดียมได้ดีกว่าสารสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 70   แต่ขับโปแตสเซียมออกได้น้อยกว่า นอกจากนี้สารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 50 ยังมีฤทธิ์ขับกรดยูริคได้ดีมาก และพบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 50 มีปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ sinesetine, eupatorine, caffeic acid และ cichoric acid สูงกว่าสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 70 แต่มีสาร rosemarinic acid น้อยกว่า

-ฤทธิ์ในการรักษานิ่ว มีการศึกษาฤทธิ์ในการรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะส่วนบนของหญ้าหนวดแมวเปรียบเทียบกับการรักษามาตรฐานด้วยไฮโดรคลอไรไธอาไซด์ และโซเดียมไบคาร์บอเนต พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับหญ้าหนวดแมวมีการเคลื่อนตัวของนิ่วบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บมากกว่า และช่วยลดการใช้ยารับประทานแก้ปวดได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้ยามาตรฐาน แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยที่ได้รับหญ้าหนวดแมวจะมีความดันโลหิตลดลงเล็กน้อย ในขณะที่กลุ่มที่ได้ยามาตรฐานจะมีความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยที่ได้รับหญ้าหนวดแมวจะมีชีพจรในระยะแรก (วันที่ 3 ของการทดลอง) เร็วขึ้น แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับโปแตสเซียมในเลือด กลุ่มที่ได้ยามาตรฐานจะมีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะในวันที่ 30 ของการทดลองลดลง การเปลี่ยนแปลงของความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่พบผลข้างเคียงในกลุ่มที่ใช้หญ้าหนวดแมวน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ยามาตรฐาน แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ มีรายงานผลการรักษานิ่วในไตในผู้ป่วยที่ให้กินยาต้มที่เตรียมจากใบหญ้าหนวดแมวแห้ง ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 ขนาด 300 มิลลิลิตร ครั้งเดียว ติดต่อกันนาน 1-10 เดือน พบว่า 9 ราย มีการตอบสนองทางคลินิกที่ดี พบว่าปัสสาวะของผู้ป่วยมีแนวโน้มเป็นด่างเพิ่มขึ้น ซึ่งชี้แนะว่าน่าจะช่วยลดการเกิดนิ่วจากกรดยูริคได้

-ฤทธิ์ลดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ เมื่อนำหญ้าหนวดแมวมาใช้ในระบบทางเดินปัสสาวะ ผลพลอยได้ที่น่าสนใจคือ นอกจากจะขับปัสสาวะที่ช่วยให้อาการของการติดเชื้อดีขึ้นแล้ว ยังสามารถลดการเกาะติดของเชื้อประเภท uropathognicEscherichia coli กับเซลล์กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เชื้อถูกขับออกไปจากระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายและเร็วขึ้น นอกจากนี้คุณสมบัติในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน ที่จะลดความเครียดจากภาวะออกซิเดชัน (oxidative stress) จึงลดการบาดเจ็บที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันสำคัญคือ lipid peroxidation  ทำให้ลดการเกิดแผลเป็น (scar formation) ได้

-ฤทธิ์ต้านการอักเสบ  สารสกัดจากใบหญ้าหนวดแมว  (chloroform extract) มีคุณสมบัติตามอักเสบได้ดี จึงมีการนำมาใช้ใน rheumatoid arthritis gout และโรคอันเกิดจากการอักเสบต่างๆ กลไกหนึ่งของสารสกัดหญ้าหนวดแมวที่ลดการอักเสบคือยับยั้ง cytosolic phospholipaseA2a (cPLA2a) ทำให้การสลาย phospholipid ลดลงสาร eupatorin และ sinensetin ยับยั้งการแสดงออกของยีน iNOS และ COX-2 ทำให้การสังเคราะห์ nitric oxide และ PGE2 ลดลงตามลำดับ นอกจากสารกลุ่ม phenolic compounds  คือ eupatorin และsinensetin แล้วสารกลุ่ม diterpines ในหญ้าหนวดแมวก็สามารถยับยั้งการสังเคราะห์ nitric oxide ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังลดการสังเคราะห์ tumornecrosis factor a อีกด้วย สันนิษฐานว่ากลไกการต้านอักเสบผ่าน transcription factor ที่ชื่อ STAT1a

-ฤทธิ์ลดไข้ สารสกัดจากหญ้าหนวดแมวมีคุณสมบัติลดการเกิดไข้ได้โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์คือ rosmarinic acid,sinensetin, eupatorin และ tetramethoxy-flavone ข้อดีที่นอกเหนือจากการต้านอักเสบและลดไข้แล้วยังช่วยลดอาหารปวดได้อีกด้วย31  ซึ่งอาการอักเสบ ไข้และปวดจะพบได้บ่อยในการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ

-ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด การใช้หญ้าหนวดแมวในผู้ป่วยเบาหวานน่าจะมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากสารสกัดหญ้าหนวดแมว สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองที่เป็นเบาหวานได้ โดยยับยั้งเอนไซม์ a-glucosidase เพิ่มการแสดงออกของยีนอินซูลินและป้องกันความเป็นพิษที่เกิดจากการรับกลูโคสขนาดสูง  ๆ (high glucosetoxicity) โดยผ่านการเติมหมู่ฟอสเฟตให้กับphosphatidylino-sitol 3-kinase (PI3K)

-ฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ a-glucosidase และ a-amylase เมื่อทำการสกัดแยกสาร sinensetin ออกมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ a-glucosidase และ a-amylase ก็พบว่าประสิทธิภาพของสารบริสุทธิ์sinensetin ในการยับยั้งเอนไซม์ a-glucosidase สูงกว่าสารสกัดหญ้าหนวดแมว (ethanolic extract) ถึง 7 เท่า ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 0.66 และ 4.63 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ขณะที่ประสิทธิภาพของsinensetin ในการยับยั้งเอนไซม์ a-amylase สูงกว่าสารสกัดหญ้าหนวดแมวถึง 32.5 เท่า ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 1.13 และ 36.7 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ จึงสันนิษฐานว่าสาร sinensetin อาจเป็นสารสำคัญชนิดหนึ่งในการออกฤทธิ์ของหญ้าหนวดแมวในการต้านเบาหวานชนิดที่ไม่ขึ้นกับอินซูลิน (non-insulin-dependent diabetes) ได้

-ฤทธิ์ลดระดับความดันโลหิตสูง สารสกัดหญ้าหนวดแมว สามารถลดภาวะหลอดเลือดหดรัด (vasoconstriction) ด้วยการยับยั้งตัวรับalpha 1 adrenergic และ angiotensin 1 จึงน่าจะปลอดภัยในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง  นอกจากจะปลอดภัยในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแล้วยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาความดันโลหิตสูงได้ด้วยคาดว่าสารสำคัญที่ออกฤทธิ์มาจากกลุ่ม diterpenes และ methylripario-chromene A

-ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก หญ้าหนวดแมวที่สกัดด้วยวิธี supercritical carbon-dioxide ให้ผลที่น่าสนใจ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากด้วยความเข้มข้นที่ยับยั้งการเจริญของเซลล์ (inhibitory concemtration) ได้ 50 % คือค่า IC50 ต่ำเพียง 28 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อศึกษาลงไปในระดับเซลล์ก็พบว่าทำให้เซลล์ตายในลักษณะ apoptosis ที่สามารถเห็น nuclearcondensation และความผิดปกติของเยื่อไมโตคอนเดรียได้อย่างชัดเจนเมื่อทำการสกัดสาร eupatorin มาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลาย ๆ ชนิดก็ให้ค่า    IC50  ในระดับตำเป็นไมโครโมล่าร์ ด้วยการยับยั้งวงจรการแบ่งเซลล์ ระยะ G2/M phase ข้อดีที่เหนือยาเคมีบำบัดในปัจจุบันคือ eupatorin ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ปกติ

-ฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น สารสกัดหญ้าหนวดแมวสามารถลดสารอนุมูลอิสระ เช่น การลดปฏิกิริยา lipid peroxidation ทำให้เยื่อเซลล์คงทนและแข็งแรง จึงลดการเกิดแผลเป็นของระบบทางเดินปัสสาวะได้  นอกจากลดการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation แล้วยังสามารถลดการเกิด hydrogen peroxide ได้อีกด้วย ทำให้เซลล์รอดพ้นจากการตายแบบ apoptosis ด้วยการเพิ่มการแสดงออกของยีน  Bcl-2  พร้อมกับลดการแสดงออกของยีน Bax42  Ho และคณะทดลองใช้เทคนิคultrasound-assisted extraction (UAE) มาช่วยในการสกัดสารจากหญ้าหนวดแมวทำได้สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันดีขึ้น โดยพบสารrosmarinic  acid,  kaempferol-rutinoside  และsinesetine อยู่ในสารสกัดดังกล่าว

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-เมื่อฉีดสารสกัดด้วยน้ำร้อนจากใบและลำต้นเข้าช่องท้องหนูแรทเพศผู้และเพศเมีย หนูเม้าส์เพศผู้และเพศเมีย พบความเป็นพิษปานกลาง   เมื่อป้อนสารสกัดเดียวดันนี้ให้กับหนูแรททั้งสองเพศทุกวันติดต่อกัน 30 วัน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ค่าการตรวจทางชีวเคมีในเลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสำคัญเมื่อดูด้วยตาเปล่า  และเมื่อศึกษาความเป็นพิษในระยะยาวนาน 6 เดือน โดยการป้อนหนูแรทด้วยยาชงด้วยน้ำร้อน ซึ่งมีความแรงเทียบเท่ากับ 11.25, 112.5 และ 225 เท่าของขนาดที่ใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไต ไม่พบความแตกต่างของการเจริญเติบโต  การกินอาหาร ลักษณะภายนอกหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติ และค่าการตรวจทางชีวเคมีในเลือดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ยกเว้นจำนวนเกร็ดเลือดจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้ยาในขนาด 18 กรัม/กิโลกรัม/วัน พบว่าระดับโซเดียมในเลือดในกลุ่มทดลองทุกกลุ่ม โปแตสเซียมในหนูเพศเมีย และคอเลสเตอรอลในหนูเพศผู้ จะมีระดับต่ำกว่ากลุ่มควบคุม   นอกจากนี้ เมื่อป้อนหนูแรทด้วยสารสกัดจากหญ้าหนวดแมว ติดต่อกันนาน 6 เดือน เปรียบเทียบกลุ่มควบคุม พบว่า หนูทุกกลุ่มมีการเจริญเติบโตและกินอาหารได้ใกล้เคียงกัน ไม่พบความผิดปกติในระบบโลหิตวิทยาและความผิดปกติของอวัยวะภายใน ส่วนการตรวจผลทางชีวเคมีพบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดทุกขนาดมีระดับโซเดียมต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แต่ระดับโปแตสเซียมมีแนวโน้มสูงขึ้น ในหนูเพศผู้ที่ได้รับสารสกัด 0.96 กรัม/กิโลกรัม/วัน จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยของตับและม้ามมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามการตรวจทางจุลพยาธิสภาพไม่พบความผิดปกติที่เซลล์ตับและอวัยวะอื่นๆ ยกเว้นการโป่งพองของกรวยไตในหนูขาวที่ได้รับสารสกัด 4.8 กรัม/กิโลกรัม/วัน ที่มีจำนวนเพิ่มมากกว่ากลุ่มควบคุม  กล่าวโดยสรุปสารสกัดหญ้าหนวดแมวมีพิษน้อย  แต่ต้องคอยติดตามวัดระดับโซเดียมและโปแตสเซียมหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

การใช้ประโยชน์:

-ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว สลายนิ่ว หรือช่วยลดขนาดก้อนนิ่ว ใช้ต้นกับใบประมาณ 1 กอบมือ (หากใช้ใบสดให้ใช้ประมาณ 90-120 กรัม แต่ถ้าเป็นใบแห้งให้ใช้ประมาณ 40-50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา หรือประมาณ 75 cc. วันละ 3 ครั้ง ช่วยทำให้อาการปวดของนิ่วลดลงและทำให้นิ่วมีขนาดเล็กลงและหลุดออกมาเอง 

-ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว สลายนิ่ว หรือช่วยลดขนาดก้อนนิ่ว ใช้กิ่งกับใบขนาดกลาง (ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป) นำมาล้างให้สะอาดแล้วผึ่งในที่ร่มให้แห้ง ให้ใช้ประมาณ 4 หยิบมือ (ประมาณ 4 กรัม) นำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 750 cc. เหมือนชงชา แล้วนำมาดื่มต่างน้ำตลอดทั้งวัน นานประมาณ 1-6 เดือน จะช่วยทำให้ปัสสาวะใสและคล่องขึ้น ช่วยทำให้อาการปวดของนิ่วลดลงและทำให้นิ่วมีขนาดเล็กลงและหลุดออกมาเอง 

-หญ้าหนวดแมวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้ เช่น หญ้าหนวดแมวแคปซูล หญ้าหนวดแมวผง ชาหญ้าหนวดแมว เป็นต้น

-หญ้าหนวดแมวสามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น หญ้าหนวดแมวกรุบกรอบ อ่อมแซ่บปูนาใส่หญ้าหนวดแมว เป็นต้น

-ใช้ปลูกเป็นพืชประดับสวนหรือริมรั้วกำแพงบ้านเพื่อความสวย เนื่องจากมีช่อดอกที่สวยงามและดูแปลกตา และสามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี

-ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศออสเตรเลีย มีการใช้หญ้าหนวดแมวเพื่อรักษาอาการอักเสบของไตและนิ่วในไต

-ในอินโดนีเซียมีการใช้ใบนำมาชงเป็นชาดื่ม ช่วยแก้โรคไตและกระเพาะปัสสาวะ




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง