Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: นางแย้ม

ชื่อท้องถิ่น: ปิ้งสมุทร (เชียงใหม่)/ ป้องช้อน ปิ้งชะมด (ภาคเหนือ)/ ส้วนใหญ่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ปิ้งหอม กะอุมเปอ

ชื่อสามัญ: Glory bower, Rose clerodendrum, Burma conehead, Lady nugent’s rose

ชื่อวิทยาศาสตร์: Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.

ชื่อวงศ์: LAMIACEAE-LABIATAE

สกุล: Clerodendrum 

สปีชีส์: chinense

ชื่อพ้อง: 

-Agricolaea fragrans (Vent.) Schrank

-Clerodendrum chinense var. hamrense Das, Sarma & Borthakur

-Clerodendrum chinense var. parviflorum M.R.Almeida

-Clerodendrum chinense var. plenum M.R.Almeida

-Clerodendrum chinense var. simplex (Moldenke) S.L.Chen

-Clerodendrum fragrans Willd.

-Clerodendrum fragrans f. pleniflorum (Schauer) Standl. & Steyerm.

-Clerodendrum fragrans var. pleniflorum Schauer

-Clerodendrum japonicum (Jacq.) Gandhi

-Clerodendrum lasiocephalum C.B.Clarke

-Clerodendrum macradenium Miq.

-Clerodendrum philippinum Schauer

-Clerodendrum philippinum f. multiplex (Sweet) Moldenke

-Clerodendrum philippinum f. pleniflorum (Schauer) Moldenke

-Clerodendrum philippinum var. simplex C.Y.Wu & R.C.Fang

-Clerodendrum philippinum f. subfertile Moldenke

-Clerodendrum riedelii Oliv.

-Clerodendrum roseum Poit.

-Cryptanthus chinensis Osbeck

-Ovieda fragrans (Vent.) Hitchc.

-Volkameria fragrans Vent.

-Volkmannia japonica Jacq.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

นางแย้ม thai-herbs.thdata.co | นางแย้ม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นนางแย้ม เป็นไม้พุ่มลำต้นเตี้ย ลำต้นค่อนข้างตรง มีขนปกคลุมเล็กน้อย เนื้อไม้อ่อน มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร สามารถพบได้มากตาม


นางแย้ม thai-herbs.thdata.co | นางแย้ม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายใบโพธิ์ หรือรูปไข่กว้างคล้ายรูปหัวใจ ใบกว้างประมาณ 8-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-17 เซนติเมตร ผิวใบมีขนละเอียดปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน ผิวใบสากระคายมือ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยัก รอบใบเป็นฟันเลื่อยห่าง ๆ เมื่อเด็ดใบแล้วนำมาขยี้จะมีกลิ่นเฉพาะ


นางแย้ม thai-herbs.thdata.co | นางแย้ม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามยอดและปลายกิ่ง ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ หนึ่งช่อดอกจะกว้างประมาณ 10-12 เซนติเมตร ดอกย่อยมีลักษณะคล้ายดอกมะลิซ้อน คือมีดอกเป็นพวงเล็ก ๆ หลาย ๆ ดอกเรียงรายซ้อนกันอยู่ แต่ละดอกเมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีขาว เมื่อบานแล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนสีเป็นสีชมพู สีม่วงแดงสลับขาว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ๆ ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบเลี้ยงมีสีม่วงแดง ดอกย่อยจะบานไม่พร้อมกัน ดอกด้านบนจะบานก่อนดอกด้านล่าง แต่ถ้าบานจะบานอยู่นานหลายวัน ดอกมีเกสรตัวผู้ 4 ก้าน ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 ก้าน เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 4 ก้าน ดอกนางแย้มมีกลิ่นหอมมากทั้งในเวลาวันและกลางคืน และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี

ผล ลักษณะผลมีกลีบเลี้ยงหุ้ม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1 เซนติเมตร  มี 2-4 พู สุกสีน้ำเงินดำ

สภาพนิเวศวิทยา: พบป่าดิบและป่าเบญจพรรณ ที่ความสูงระดับ 1,500 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เทือกหิมาลัยไปจนถึงจีนใต้ และมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์: หมู่เกาะอันดามัน, อัสสัม, โบลิเวีย, บอร์เนียว, กัมพูชา, จีนตอนกลางตอนใต้, จีนตะวันออกเฉียงใต้, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, จาวา, มาลายา, โมลุกกะ, เมียนมาร์, เนปาล, นิโคบาร์ไอส์, ฟิลิปปินส์, สุลาเวสี, สุมาเตรา, ไทย, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่งและการปักชำกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเย็น สรรพคุณ แก้พิษฝีภายใจ ขับปัสสาวะ แก้โรคลำไส้ แก้กระษัย ไตพิการ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-นิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม อีกทั้งดอกยังมีกลิ่นหอมทั้งกลางวันและกลางคืน และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี

-ดอก นำมาใช้บูชาพระ ถวายพระ หรือ ใส่ทำน้ำหอมทรงพระ

-ใบนางแย้ม มีขนาดใหญ่ หากเก็บรวบรวมจะได้จำนวนมาก สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้ได้ดี

-ชาวไทยสมัยก่อนนิยมนำดอกนางแย้มไปใช้เป็นเครื่องบูชาพระ



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง