Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: สมอทะเล

ชื่อท้องถิ่น: กระหูด(กลาง) กุระ กือเราะ คือรัก (มลายู-ใต้)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Sapium indicum Willd

ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE

สกุล: Sapium

สปีชีส์: indicum

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นสมอทะเล เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่ม ปลายกิ่งเรียว ยาวย้อยลง มีน้ำยางสีขาวเฉพาะที่ยอดอ่อน ช่อดอก และผล เปลือกเรียบ ถึงแตกเป็นร่องถี่ สีเทาคล้ำ ถึงเกือบดำ เปลือกชั้นในสีเหลือง ถึงสีน้ำตาลอ่อน

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน ถึงรูปใบหอก ขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ถึงเรียวแหลม โคนใบมนมีต่อม 1 คู่ อยู่ชิดก้านใบ ขอบใบหยักมน ใบหนาคล้ายหนัง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีชีด ก้านใบเรียวยาวประมาณ 0.8-1.4 เซนติเมตร

ดอก ออกที่ง่ามใบ หรือปลายกิ่ง เป็นช่อเชิงลด ยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็ก สีเขียว เป็นดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ ที่โคนก้านช่อดอก มีก้านเกสร 3 อัน แยกกันเป็นอิสระ ดอกเพศผู้มีหลายดอกเรียงตลอดความยาวของก้านช่อดอก

ผล ลักษณะเป็นผลแห้งแตก เปลือกหนาแข็ง มี 3 พู ค่อนข้างกลม ปลายเป็นตึ่งแหลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลสีเขียวก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมน้ำตาล แต่ละผลมี 3 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะรูปรี ค่อนข้างแบน ผิวสีอ่อน เป็นมัน

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นอยู่ตามที่ลุ่ม หรือ ตามริมทะเลที่น้ำเค็มขึ้นถึง

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: อินเดีย พม่าไปจนถึงเกาะนิวกินี

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบและผล รสร้อน สรรพคุณ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายลม ถ่ายโลหิตเป็นพิษ(ห้ามใช้ถ่ายในผู้ป่วยเป็นไข้) ใบนึ่งให้สุขเสียก่อนตากแห้งจึงใช้ทำยา

*เปลือกต้น รสร้อน สรรพคุณ ขับผายลม

*เมล็ดใน รสร้อน สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือน

*ราก รสร้อน สรรพคุณ แก้โลหิตระดูพิการมาไม่ตามปกติ

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้สมอเทศ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาประสะเจตพังคี” มีส่วนประกอบของสมอเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้กษัยจุกเสียด ขับผายลม

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-สีย้อม ใช้ผลให้สีดำและสีเขียวเหลือง ใช้ย้อมด้ายให้เป็นสีเหลืองแกมเขียว หรือย้อมหวายเป็นสีดำ 

-ผลอ่อน เป็นพิษใช้เบื่อปลา 

-เปลือกผล มียางกัดผิวหนัง

-เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน  หรือใช้ทำเรือแคนนู



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง