Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: จิงจ้อแดง (จิงจ้อเหลี่ยม)

ชื่อท้องถิ่น: จิงจ้อเหลี่ยม, จิงจ้อเล็ก

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea hederifolia L.

ชื่อวงศ์: CONVOLVULACEAE

สกุล: Ipomoea

 สปีชีส์: hederifolia

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:จิงจ้อแดง thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นจิงจ้อแดง เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก อายุปีเดียว ลำต้นทอดเลื้อยปกคลุมดินหรือพันไม้อื่น ลำต้นเป็นสัน สามเหลี่ยม มีปีกแคบๆ ยาวประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นกลม ตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน กระจายทั่วไป


จิงจ้อแดง thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่กว้าง เรียบหรือจักเป็นพูตื้น ๆ 3 พู ยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตรปลายแหลมยาว โคนรูปหัวใจ เส้นโคนใบ 1-2 คู่ ก้านใบยาวประมาณ  3-12 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ  3-20 เซนติเมตร ใบประดับขนาดเล็ก


จิงจ้อแดง thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นข่อที่ซอกใบ  กลีบเลี้ยงรูปรียาวประมาณ  2-2.5 มิลิเมตร ใต้ปลายกลีบมีรยางค์แข็ง ยาวประมาณ  3-4 มิลิเมตร ติดทน ดอกรูปแตร สีแดงหลอดกลีบดอกยาวประมาณ  3-4.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉกตื้น ๆ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  2-2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย ก้านดอกยาวประมาณ  5-7 มิลิเมตร


จิงจ้อแดง thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลค่อนข้างกลม ผิวเกลี้ยง สีน้ำตาล ขนาดประมาณ  5-7 มิลลิเมตร เมล็ด มี 4 เมล็ด เมล็ดยาว ประมาณ 4 มิลิเมตร สีดำมีขนสั้นนุ่ม

สภาพนิเวศวิทยา: พบทั่วไปในเขตร้อน ขึ้นปะปนกับวัชพืชหรือเลื้อยพันไม้อื่นตามป่าโปร่ง ที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ถิ่นกำเนิด: อเมริกาเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

จิงจ้อแดง thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสหวาน สรรพคุณ บำรุงเนื้อให้สดชื่น

*ราก รสร้อนขื่นเล็กน้อย สรรพคุณ แก้เสมหะและลม ช่วยการย่อยอาหาร แก้กำเดา และโลหิต

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้จิงจ้อ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยาสหัศธารา” มีส่วนประกอบของจิงจ้อร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับลมในเส้น แก้โรคลมกอง

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ลำต้น ค่อนข้างเหนียวใช้เป็นเชือกผูกของได้

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นจิ้งจ้อแดงให้ดอกสีแดงโดดเด่นสวยงาม




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง