Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักกูด

ชื่อท้องถิ่น: ผักกูดขาว (ชลบุรี)/ หัสดำ (นครราชสีมา, สุราษฎร์ธานี)/ กูดน้ำ (แม่ฮ่องสอน)/ ไก้กวิลุ ปู่แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ แลโพโด้ แหละโพะโด้ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่)/ แทรอแปล๊ะ (กะเหรี่ยงแดง)/ หย่ายจ๊วด (เมี่ยน)/ เหล้าชั้ว (ม้ง)/ บ่ะฉ้อน (ลั้วะ)/ ร่านซู้ล (ขมุ)/ กูดคึ (ภาคเหนือ)/ ผักกูด (ภาคกลาง) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Paco fern, Small vegetable fern, Vegetable fern

ชื่อวิทยาศาสตร์: Diplazium esculentum (Retz.) Sw.

ชื่อวงศ์: ATHYRIACEAE

สกุล: Diplazium 

สปีชีส์: esculentum 

ชื่อพ้อง: 

-Anisogonium esculentum (Retz.) C.Presl

-Anisogonium serampurense C.Presl

-Anisogonium serrulatum C.Presl

-Asplenium ambiguum Sw.

-Asplenium bipinnatum Roxb.

-Asplenium esculentum (Retz.) C.Presl

-Asplenium malabaricum (Spreng.) Mett.

-Asplenium manilense Spreng.

-Asplenium moritzii Mett.

-Asplenium proliferum Wall.

-Asplenium puberulum Wall.

-Asplenium serrulatum C.Presl

-Asplenium umbrosum Mett.

-Asplenium vitiense Baker

-Athyrium ambiguum (Sw.) Milde

-Athyrium esculentum (Retz.) Copel.

-Athyrium serrulatum Milde

-Callipteris ambigua (Sw.) T.Moore

-Callipteris esculenta (Retz.) J.Sm.

-Callipteris esculenta var. pubescens (Link) Ching

-Callipteris malabarica (Spreng.) J.Sm.

-Callipteris serampurensis Fée

-Callipteris serrulata Fée

-Callipteris wallichii J.Sm.

-Digrammaria ambigua (Sw.) Hook.

-Digrammaria esculenta (Retz.) Fée

-Diplazium ambiguum (Sw.) Hook.

-Diplazium esculentum var. pubescens (Link) Tardieu & C.Chr.

-Diplazium malabaricum Spreng.

-Diplazium manilense (Spr.) C.Chr.

-Diplazium pubescens Link

-Diplazium serampurense Spreng.

-Diplazium umbrosum Moritz

-Diplazium vitiense (Baker) Carruth.

-Microstegia ambigua (Sw.) C.Presl

-Microstegia esculenta (Retz.) C.Presl

-Microstegia pubescens (Link) C.Presl

-Microstegia serrulata C.Presl

-Gymnogramma edulis Ces.

-Hemionitis esculenta Retz.

-Hemionitis incisa Blanco

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักกูด thai-herbs.thdata.co | ผักกูด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักกูด เป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ที่มีเหง้าตั้งตรง และมีความสูงมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป เหง้าปกคลุมไปด้วยใบเกล็ด เกล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกล็ดมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ขอบใบเกล็ดหยักเป็นซี่ 


ผักกูด thai-herbs.thdata.co | ผักกูด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ผักกูด thai-herbs.thdata.co | ผักกูด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีความยาวได้มากกว่า 1 เมตรและกว้างได้ถึง 50 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวอ่อน แม้แก่จะมีสีเขียวเข้ม มีใบย่อย 1-2 คู่ล่างจะเล็กกว่าใบย่อยที่อยู่ช่วงกลาง ซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 25 เซนติเมตร ช่วงขนาดสอบเล็กลงทันทีเป็นหลายแหลม ส่วนใบย่อยชั้นกลางจะมีใบที่มีขนาดใหญ่กว่า มีก้านสั้นหรือกึ่งไม่มีก้าน โคนใบมีลักษณะเว้าเป็นรูปหัวใจหรือเป็นติ่งหู ปลายสอบแหลมมีขนาด 2.5 เซนติเมตร ขอบหยัก ลึกประมาณ 1 ใน 4 ของระยะถึงเส้นกลางใบ ปลายเป็นรูปมน ขอบเป็นฟันเลื่อย เนื้อใบมีลักษณะบางคล้ายกระดาษ มีเส้นใบแตกแขนงแบบขนนก มีปลายเส้นถึง 10 คู่ กลุ่มสปอร์จะอยู่ใกล้และยาวตลอดความยาวของเส้นใบส่วนปลาย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 70 เซนติเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: ขึ้นอยู่บริเวณดินแฉะๆ หรือริมลำธารในบริเวณที่ได้รับแสงเต็มที่ บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนไปจนถึงแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้า ใช้สปอร์ หรือไหล

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

ผักกูด thai-herbs.thdata.co | ผักกูด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-ผักกูดอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและเบตาแคโรทีน การรับประทานผักกูดร่วมกับเนื้อสัตว์จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยบำรุงร่างกายอีกด้วย

-ผักกูดเป็นผักที่มีเส้นใยอาหารสูงมาก จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างดี

-แพทย์พื้นบ้านล้านนา ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร โดยใช้หัวผักกูดร่วมกับเมล็ดมะกอก รากถั่วพู รากกระทุงหมาบ้า เปลือกมะเดื่ออุทุมพร โดยนำหัวผักกูดมาฝนกับน้ำซาวข้าว ใช้ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา หลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว เป็นประจำทุกวัน

-อาการไข้ตัวน้อน ใช้ใบผักกูดนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน 

-ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ

-ช่วยบำรุงโลหิต เนื่องจากผักกูดเป็นผักที่มีธาตุเหล็กมากที่สุดเป็นอันดับ 1 

-ยอดอ่อนและใบอ่อน มีรสจืดอมหวานและกรอบ นิยมนำมาบริโภค โดยนำมาปรุงเป็นอาหารได้อย่างหลากหลาย ด้วยการนำมายำ ผัด ทำเป็นแกงจืด แกงเลียง แกงส้ม แกงแคร่วมกับผักชนิดต่าง ๆ ต้มกะทิ ฯลฯ ส่วนเมนูผักกูดก็เช่น ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักกูดหมูสับ ไข่เจียวผักกูด ผัดกับไข่หรือแหนม นำมาแกงกับปลาน้ำจืด ทำเป็นแกงกะทิกับปลาย่าง หรือนำมาราดด้วยน้ำกะทิรับประทานร่วมกับน้ำพริกหรือแกงรสจืด ส่วนชาวอีสานจะรับประทานยอดสดร่วมกับลาบ ก้อย ยำ ส้มตำ ปลาป่น หรือจะนำไปดัดแปลงเป็นเมนูอื่น ๆ ก็ทำได้ไม่ยาก นอกจากนี้ยังนิยมนำมาใช้ลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริก ใช้เป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริกตาแดง น้ำพริกถั่ว หรือน้ำพริกต่าง ๆ แต่จะไม่นิยมนำมารับประทานแบบสด ๆ เพราะจะมียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้าน โดยในช่วงหน้าแล้งผักกูดจะมีรสชาติอร่อยกว่าฤดูอื่น ๆ

-ในปัจจุบันมีการเก็บผักกูดไว้ขายส่งไปญี่ปุ่น โดยชาวญี่ปุ่นจำนำผักกูดไปดองกับเกลือไว้รับประทาน หรือที่เรียกว่า “วาราบิ”

-ต้นผักกูด สามารถใช้เป็นดัชนีเพื่อชี้วัดความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมได้ ถ้าหากบริเวณไหนมีอากาศไม่ดี หรือดินไม่บริสุทธิ์ หรือมีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่เจริญหรือแตกต้นในบริเวณนั้น เพราะผักกูดจะขึ้นเฉพาะในพื้นที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ดินสมบูรณ์และไม่มีสารเคมีเจือปน




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง