Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักชีลา

ชื่อท้องถิ่น: ยำแย้ (กระบี่)/ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ)/ ผักหอม (นครพนม)/ ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อสามัญ: Coriander

ชื่อวิทยาศาสตร์: Coriandrum sativum L.

ชื่อวงศ์: APIACEAE-UMBELLIFERAE

สกุล: Coriandrum 

สปีชีส์: sativum

ชื่อพ้อง: 

-Bifora loureiroi Kostel.

-Coriandropsis syriaca H.Wolff

-Coriandrum diversifolium Gilib.

-Coriandrum globosum Salisb.

-Coriandrum majus Garsault

-Coriandrum majus Gouan

-Coriandrum melphitense Guss. & Ten.

-Coriandrum sativum var. afghanicum Stolet.

-Coriandrum sativum var. africanum Stolet.

-Coriandrum sativum var. anatolicum Stolet.

-Coriandrum sativum var. arabicum Stolet.

-Coriandrum sativum var. microcarpum DC.

-Coriandrum sativum var. pygmaeum Stolet.

-Selinum coriandrum E.H.L.Krause

-Sium coriandrum Vest

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักชีลา thai-herbs.thdata.co | ผักชีลา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักชีลา เป็นไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ภายในจะกลวง และมีกิ่งก้านที่เล็ก ไม่มีขน มีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยจะมีมาก ซึ่งลำต้นนี้จะสูงประมาณ 20-40 เซนติเมตร  ลำต้นสีเขียวแต่ถ้าแก่จัดจะออกเสียเขียวอมน้ำตาล 


ผักชีลา thai-herbs.thdata.co | ผักชีลา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบขนนก ใบย่อยรูปทรงพัด ซึ่งใบที่โคนต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น เพราะส่วนมากที่ปลายต้นใบจะเป็นเส้นฝอย มีสีเขียวสด


ผักชีลา thai-herbs.thdata.co | ผักชีลา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก อกเป็นช่อ ตรงส่วนยอดของต้น ดอกนั้นมีขนาดเล็ก มีอยู่ 5 กลีบสีขาวหรือชมพูอ่อนๆ


ผักชีลา thai-herbs.thdata.co | ผักชีลา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมโตประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ตรงปลายผลจะแยกออกเป็น 2 แฉก ตาวผิวจะมีเส้นคลื่นอยู่ 10 เส้น

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ปากีสถานตะวันออก

การกระจายพันธุ์: -

ผักชีลา thai-herbs.thdata.co | ผักชีลา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ลูก รสขมฝาดร้อนหอม สรรพคุณ แก้ไข้เนื่องจากซาง แก้กระหายน้ำ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียน อาเจียน ขับลมในลำไส้ แก้สะอึก แก้ตาเจ็บ

*ราก รสหอมเย็น สรรพคุณ กระทุ้งพิษไข้หัว หัดเหือด สุกใส ดำแดง แก้ไอ เจ็บคอ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบและทั้งต้น พบ1)สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) เช่น quercetin, quercetin 3-glucuronide, isoquercitrin, quercetin-3-O-beta-glucuronide, rutin 2)สารกลุ่มแลคโตน (lactones) เช่น coumarins, coriandrin (furoisocoumarin), coriandrones (isocoumarins), alantolactone, isoalantolactone 3)สารกลุ่ม phenolic acids เช่น tannic, gallic, caffeic, cinnamic, chlorogenic, ferulic, และ vanillic acids 4)สารกลุ่มแทนนิน (tannins) 5)สารกลุ่มคาโรทีนอยด์ (carotenoids) เช่น beta-carotene; น้ำมันหอมระเหย (ประกอบด้วยสารกลุ่ม monoterpenes และ sesquiterpenes ได้แก่ 2E-decenal, decanal, nonanal linalool, 2E-decen-1-ol, และ n-decanol)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ทำการทดลองโดยให้ผงเมล็ดผักชีลา นำมากระจายตัวในน้ำ ในขนาด 250 และ 500 mg/kg แก่หนูแรท สายพันธุ์วิสตาร์ โดยให้สายอาหารไปยังกระเพาะอาหารหนู เป็นเวลา 30 นาที ก่อนจะได้รับสารที่กระตุ้นให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ 25% NaCl, 0.2M NaOH, 80% ethanol และยาต้านการอักเสบ indomethacin (30mg/kg) ผลยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร พบว่าผงผักชีลา ขนาด 250 mg/kg ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เหนี่ยวนำด้วย NaCl ได้ ผลผักชีลาขนาด 500 mg/kg ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เหนี่ยวนำด้วย NaCl และ ethanol ได้ ผลต่อการปกป้องเยื่อเมือกที่กระเพาะอาหาร ที่เหนี่ยวนำให้เยื่อเมือกในกระเพาะอาหารลดลง ด้วย 80% ethanol พบว่าการให้ผงผักชีลาในขนาด 250 และ 500 mg/kg แก่หนูแรท ก่อนให้เอทานอล ทำให้ระดับของเยื่อเมือกกลับมาสู่ภาวะปกติได้  แต่ผงผักชีลาไม่สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เหนี่ยวนำด้วย indomethacin (Al-Mofleh, et al., 2006)

-ฤทธิ์คลายความวิตกกังวล การศึกษาฤทธิ์คลายกังวล ของสารสกัดน้ำจากเมล็ดผักชีลา ในหนูถีบจักรเพศผู้ ด้วยวิธี elevated plus-maze ซึ่งเป็นวิธีประเมินฤทธิ์คลายกังวลโดยทดสอบความกลัว และอาการวิตกกังวลของหนู เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อันตราย โดยถ้าสารมีฤทธิ์คลายกังวล หนูจะเข้าไปใน open arm หรือใช้เวลาใน open arm นานขึ้นภายในเวลา 5 นาที การทดสอบใช้สารสกัดในขนาด 10, 25, 50,100 mg/kg โดยการฉีดเข้าช่องท้องของหนู พบว่าที่ขนาด 100 mg/kg มีฤทธิ์ในการคลายกังวล โดยทำให้หนูใช้เวลาอยู่ใน  open arm นานขึ้น ดังนั้นสารสกัดน้ำจากเมล็ดผักชีลา จึงมีศักยภาพในการนำไปพัฒนายาคลายความวิตกกังวล และอาจมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับได้ด้วย (Emamghoreishi, et al., 2005)

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดผลด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 6,250 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)

การใช้ประโยชน์:

-โรคริดสีดวงทวาร มีเลือดออก ใช้ผลสดนำมาบดให้แตกผสมกับเหล้า ดื่มวันละ 5 ครั้ง หรือจะใช้ต้นสดประมาณ 120 กรัม นำมาใส่นม 2 แก้วผสมน้ำตาลดื่ม

-อาการปวดฟัน เจ็บปาก ใช้ผลนำมาต้มน้ำ แล้วนำมาอมบ้วนปากบ่อย ๆ จะช่วยบรรเทาปวดปวด

-อาการบิด ถ่ายเป็นเลือด ใช้ผลประมาณ 1 ถ้วยชา นำมาตำผสมกับน้ำตาลทรายแล้วนำมาผสมน้ำดื่ม ช่วยบรรเทาอารปวดบิดท้อง

-อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้ผลประมาณ 2 ช้อนชานำมาต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยขับลด บรรเทาอาหารท้องอืดแน่นเฟ้อ

-อาการผื่นแดงในเด็ก ใช้ต้นสด นำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ใส่ลงไปในเหล้าแล้วต้มให้เดือด นำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการ 

-ช่วยขับเหงื่อ ใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปต้มกับน้ำดื่ม หรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่ม

-ช่วยละลายเสมหะใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปต้มกับน้ำดื่ม หรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่มแก้อาการก็ได้ 

-ช่วยบำรุงกระเพาะอาหารใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผงรับประทานหรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม

-ผักชีลา เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ เช่น ใส่ในลาบ ก้อย แหนมสด รากผักชีใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำพริกแกง ใส่ในทอดมัน ห่อหมก น้ำจิ้ม เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ใส่ในน้ำพริกแกง สะเต๊ะ บาเยีย ข้าวหมกไก่ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ 

-ผลแก่ ใช้เป็นเครื่องเทศ มีกลิ่นหอม เมื่อใช้ผสมกับตัวยาอื่น จะช่วยกระตุ้นต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพิ่มน้ำดีให้มากขึ้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง