Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: บวบหอม

ชื่อท้องถิ่น: บวบ (คนเมือง)/ มะบวบอ้ม มะนอยขม มะนอยอ้ม มะบวบ บวบกลม บวบอ้ม (ภาคเหนือ)/ บวบกลม บวบขม บวบหอม (ภาคกลาง)/ ตะโก๊ะสะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เบล่จูจ้า (ปะหล่อง)/ เล่ยเซ (เมี่ยน), เต้าหยัวเยี่ยะ (ม้ง)/ กะตอร่อ (มลายู-ปัตตานี)/ เทียงล้อ ซีกวย (จีนแต่จิ๋ว) ซือกวา (จีนกลาง) 

ชื่อสามัญ: Sponge gourd, Smooth loofah, Vegetable sponge, Gourd towel

ชื่อวิทยาศาสตร์: Luffa cylindrica (L.) M.Roem.

ชื่อวงศ์: CUCURBITACEAE

สกุล: Luffa 

สปีชีส์: cylindrica 

ชื่อพ้อง: 

-Bryonia cheirophylla Wall.

-Cucumis pentandrus Roxb. ex Wight & Arn

-Luffa acutangula var. subangulata (Miq.) Cogn.

-Luffa aegyptiaca Mill.

-Luffa aegyptiaca var. leiocarpa (Naudin) Heiser & E.E. Schill.

-Luffa aegyptiaca var. peramara F.M.Bailey

--Luffa cylindrica var. insularum (A.Gray) Cogn.

-Luffa cylindrica var. leiocarpa Naudin

-Luffa cylindrica var. minima Naudin

-Luffa insularum A.Gray

--Luffa leucosperma M.Roem.

-Luffa pentandra Roxb.

-Luffa petola Ser. Luffa subangulata Miq.

-Luffa sylvestris Miq.

-Melothria touchanensis H. Lév.

-Momordica carinata Vell.

-Momordica cylindrica L.

-Momordica luffa L.

-Momordica reticulata Salisb.

-Poppya fabiana K.Koch

-Turia cordata Forssk. ex J.F Gmel.

-Turia cylindrica Forssk. ex J.F Gmel.

-Turia sativa Forssk. 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

บวบหอม thai-herbs.thdata.co | บวบหอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นบวบหอม เป็นไม้เถาเลื้อย ล้มลุก มีอายุได้เพียง 1 ปี มักเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ชนิดอื่น ๆ หรือตามร้านที่ปลูกทำไว้ ลำต้นมีลักษณะเป็นเถาสี่เหลี่ยมหรือเป็นเถากลมและมีร่องเป็นเส้นตามยาว เถามีความยาวได้ประมาณ 7-10 เมตร และจะมีมือสำหรับยึดเกาะเป็นเส้นยาวประมาณ 3 เส้น ตามลำต้นอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนที่อ่อนนุ่ม เมื่อลำต้นแก่ขนเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ หลุดร่วงไป ทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็นเขียว


บวบหอม thai-herbs.thdata.co | บวบหอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเข้าหากันคล้ายรูปหัวใจ แผ่นใบจะมีรอยเว้าเข้าประมาณ 3-7 รอย และริมขอบใบจะเป็นรอยหยักหรือคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15-25 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-25 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวแก่ ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน ใบอ่อนจะมีขนมาก เมื่อใบแก่แล้วขนเหล่านั้นจะค่อย ๆ หลุดร่วงไป เห็นเส้นใบนูนได้ชัดเจนประมาณ 3-7 เส้น ส่วนก้านใบนั้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมและมีขนอ่อนนุ่ม โดยมีความยาวของก้านใบประมาณ 4-9 เซนติเมตร


บวบหอม thai-herbs.thdata.co | บวบหอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  บวบหอม thai-herbs.thdata.co | บวบหอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกแบบช่อ ภายในช่อมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย โดยดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นช่อ ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีก้านดอกยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร กลีบรองกลีบดอกที่โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อสั้น ๆ ส่วนปลายแยกเป็นกลีบเล็ก ๆ 5 กลีบ และมีขน ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลีบหรือเป็นรูปรี กลีบดอกเป็นสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อน ขอบกลีบดอกมีรอยย่นเป็นคลื่น ๆ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร โดยกลีบดอกจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 3 ก้าน ส่วนดอกเพศเมียมักจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และบางครั้งอาจออกติดกับดอกเพศผู้ในช่อดอกเดียวกัน ก้านดอกยาวประมาณ 1-7 เซนติเมตร กลีบดอกและกลีบรองดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ เกสรเพศผู้ประมาณ 3-5 ก้าน ส่วนอับเรณูมีอยู่ประมาณ 2 ห้อง และจะงอเป็นลักษณะรูปตัวเอส (S) บริเวณโคนก้านของเกสรเพศผู้มีลักษณะพองออกและมีขนอ่อนนุ่ม ส่วนเกสรเพศเมียนั้นจะฝ่อหายไป ก้านดอกมีความยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร และหลังจากที่ผสมเกสรแล้วก้านเกสรก็จะยาวขึ้นอีก ส่วนรังไข่มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมและยาวอยู่ต่ำกว่าส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด ภายในรังไข่จะมีอยู่ประมาณ 3 ห้อง และจะมีแนวขั้วติดไข่อ่อนประมาณ 3 แนวและมีไข่อ่อนเป็นจำนวนมาก โดยก้านเกสรเพศเมียจะมีลักษณะเป็นเส้นกลมสั้น ปลายเกสรจะแยกออกเป็น 3 ส่วน


บวบหอม thai-herbs.thdata.co | บวบหอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 16-60 เซนติเมตร ที่ปลายผลจะมีรอยของกลีบรองกลีบดอกเหลืออยู่ ผลอ่อนเป็นสีเขียวและมีลายเป็นสีเขียวแก่ ผิวผลด้านนอกมีนวลเป็นสีขาว ส่วนผลแก่จะเป็นสีเขียวออกเหลืองหรือเป็นสีเขียวเข้มออกเทา เนื้อด้านในมีเส้นใยที่เหนียวมาก มีลักษณะเป็นร่างแห เนื้อผลนิ่มเป็นสีขาว และมีเมล็ดลักษณะแบนรีหรือกลมแบน มีขนาดกว้างประมาณ 0.6-0.8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร โดยผลแก่นั้นจะมีเมล็ดข้างในเป็นสีดำ หรืออาจมีปีกออกทั้งสองข้างเมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ลูกอ่อน รสจืด สรรพคุณ บำรุงร่างกาย

*ราก รสจืด สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงน้ำดี ระบายพิษไข้

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ทั้งต้น พบสาร Citrulline, Cucurbitacin, Glucolin, Mannangalactan, Luffein, Xylan และยังพบโปรตีน ไขมัน วิตามินบี 1 และวิตามินซี

-ราก พบสารขม จำพวก Cucurbitacin B และ Cucurbitacin D เล็กน้อย

-ใบและเถา พบสาร ซาโปนิน (Saponins)

-เกสรดอกเพศผู้ พบสาร Alanine และสาร Lysine มาก เกสรดอกเพศเมีย พบสาร Aspartic acid, Asparagine, Arginine, และ Glutamine 

-ผลบวบ พบสาร Mucilage, Luffein และสาร Saponins เป็นจำนวนมาก และยังมีสารจำพวก Citrulline อีกด้วย

-ใยผล พบสาร Cellulose, Xylan และมีสารจำพวก Galactan, Mannan, และ Lignin

-เมล็ด พบสารประเภทไขมันอยู่ประมาณ 23.5-38.9% โดยประกอบไปด้วยกรดไขมันที่สำคัญ ได้แก่ Glycerol, Oleic acid, Palmitic acid, Linoleic acid, Stearic acid เป็นต้น และยังมี Phosphatide, Phospholipid และ Phospholipin รวมกันอีก ประมาณ 0.47%

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ในการกระตุ้นลำไส้เล็ก น้ำที่สกัดได้จากเถาและใบของบวบหอม มีฤทธิ์ในการกระตุ้นลำไส้เล็กของหนูตะเภาและกระต่ายเพียงเล็กน้อย แต่จะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของกระต่ายที่แยกออกมาจากตัวอย่างเห็นได้ชัด และยังมีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อหน้าท้องของคางคกได้อย่างชัดเจน เช่นกัน

-ฤทธิ์ในการช่วยแก้อาการไอ น้ำที่ต้มได้จากเถาให้สัตว์ทดลองกิน มีฤทธิ์ในการช่วยแก้อาการไอ แก้หืดหอบ และขับเสมหะในสัตว์ทดลองได้

-ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Coccus น้ำต้มที่ได้จากเถา หรือเหล้าที่ดองกับเถา มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Coccus

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคคางทูม ใช้ผลนำไปเผาให้เป็นถ่าน บดให้เป็นผง ใช้ผสมกับน้ำเป็นยาทา หรือจะใช้ใยผล (รังบวบ) ที่เผาเป็นถ่านแล้วนำมาผสมกับน้ำใช้ทาบริเวณที่ปวด

-โรคพยาธิ ใช้เมล็ดเป็นยาขับพยาธิตัวกลม โดยนำเมล็ดแก่ (เมล็ดแก่เปลือกดำจะได้ผลดี ส่วนเปลือกขาวจะไม่ได้ผล) นำมาเคี้ยวกินตอนท้องว่าง หรือจะนำเมล็ดมาบดให้ละเอียดใส่ในแคปซูลกินวันละครั้ง แล้วพยาธิตัวกลมก็จะถูกขับออกมา หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 40-50 เมล็ด (ถ้าเป็นเด็กให้ใช้ 30 เม็ด) นำมาตำให้ละเอียด แล้วใช้กินกับน้ำเปล่าตอนท้องว่าง โดยให้กินวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน ส่วนเถาก็ใช้เป็นยาขับพยาธิได้เช่นกัน

-อาการเหงื่อออกมาก ใช้ใบสดผสมกับเมนทอลแล้วนำมาตำใช้เป็นยาทาหรือใช้พอก 

-อาการร้อนใน ใช้น้ำจากเถาใช้ผสมกับน้ำตาลทราย ใช้กินพอประมาณเป็นยาบรรเทาอาการร้อนใน

-อาการปวดศีรษะ ใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทราย ใช้กินพอประมาณ หรือหากมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว ก็ให้ใช้รากนำมาต้มใส่ไข่เป็ด 2 ฟองแล้วนำมากิน

-อาการโพรงจมูกอักเสบ ใช้เถานำมาคั่วให้เหลืองแล้วบดให้เป็นผง ทำเป็นยานัตถุ์เป่าเข้าจมูก โดยให้ใช้ติดต่อกันประมาณ 2-4 วัน หรือจะใช้ดอกสดผสมกับฮั่วเถ่าเช่าสด นำไปตำพอกรักษาโพรงจมูกอักเสบ 

-อาการไอ ใช้น้ำคั้นจากเถานำมาผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณเป็นยาแก้ไอ หรือจะใช้ดอกแห้งประมาณ 6-10 กรัมนำมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วต้มจิบกิน หรือจะใช้เถานำไปต้มกับน้ำ หรือใช้น้ำคั้นจากเถาสดกินเป็นยาแก้ไอ

-อาการเจ็บคอ ใช้ดอกแห้งประมาณ 6-10 กรัม นำมาผสมกับน้ำผึ้ง แล้วต้มจิบกินเป็นยา หรือจะใช้ผลอ่อนคั้นเอาแต่น้ำ ใช้กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2-3 ครั้ง และผสมกับน้ำใช้กลั้วคอ 

-อาการเจ็บคอ ใช้ขั้วผลนำไปเผาไฟให้เป็นเถ้า บดให้เป็นผง ใช้เป่าคอรักษาอาการเจ็บคอ หรือจะใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายใช้กินพอประมาณก็ได้ หรือจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำรากมาแช่กับน้ำในภาชนะกระเบื้องแล้วเทเอาแต่น้ำกินก็เป็นยาแก้อาการเจ็บคอ    

-อาการปัสสวาะขัด ขับปัสสาวะ ใช้ใบร่วมกับยาขับปัสสาวะอื่น ๆ หรือน้ำต้มจากใบสดเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด หากใช้ใบแห้งให้ใช้ขนาด 5 กรัม นำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น 

-ผลอ่อนและยอดอ่อน สามารถนำไปประกอบอาหารได้ เช่น แกง แกงเลียง ผัด หรือนำไปลวกกินกับน้ำพริก

-ใยผล ใยบวบ หรือรังบวบสามารถนำมาใช้ในการทำความสะอาดเครื่องแก้ว เครื่องครัว รถยนต์ ทำใยขัดหม้อ เอามาขัดถูตัวหรือใช้ล้างจานได้ ฯลฯ หรือจะใช้เป็นที่บุรองภายในของหมวกเหล็ก ทำเบาะรองไหล่ ยัดในหมอน ในรถหุ้มเกาะ ใช้ใส่ในหีบห่อเพื่อป้องกันการกระทบกระแทก ใช้ผสมทำแผ่นเก็บเสียง ฯลฯ อีกทั้งใยผลหรือรังบวบยังมีคุณสมบัติที่ทนความร้อนได้ดี ใช้ทำหน้าที่สำหรับจับหม้อที่ร้อน ๆ หรือใช้รองหม้อนึ่งข้าว หรือใช้ในการกรองน้ำมันของเรือเดินทะเลและเครื่องยนต์ที่มีระบบการเผาไหม้ภายในต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ยังนำมาใช้สานเป็นเสื่อ หมวก ผ้าปูโต๊ะ ใช้ผสมในปูนปลาสเตอร์ ในสารเคลือบทำแผ่นเก็บความร้อน อีกทั้งใยผลหรือรังบวบก็ยังเป็นแหล่งที่ให้ Cellulose ที่นำมาใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษได้อีกด้วย




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง