Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะละกอ

ชื่อท้องถิ่น: มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ)/ หมักหุ่ง (ลาว,นครราชสีมา,เลย)/ ลอกอ (ภาคใต้) /กล้วยลา (ยะลา)/ แตงต้น (สตูล)

ชื่อสามัญ: Papaya

ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papaya L.

ชื่อวงศ์: CARICACEAE

สกุล:  Carica

สปีชีส์: papaya

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะละกอ thai-herbs.thdata.co | มะละกอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

มะละกอ thai-herbs.thdata.co | มะละกอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะละกอ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3-6 เซนติเมตร เส้นรอบวง 18-20 เซนติเมตร ลำต้นสีน้ำตาลออกขาว ผิวลำต้นเรียบ


มะละกอ thai-herbs.thdata.co | มะละกอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบตรงข้ามสลับตั้งฉากรอบต้น และจะไปเกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น  ใบเป็นรูปฝ่ามือ ปลายใบแหลม โคนใบรูปเงี่ยงใบหอก ขอบใบแฉกแบบนิ้วมือ เนื้อใบคล้ายกระดาษ ด้านบนแผ่นใบเกลี้ยง ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเหลือง ใบกว้างประมาณ 25-60 เซนติเมตร ยาวประมาณ 36-72 เซนติเมตร เส้นใบร่างแหแบบนิ้วมือ ก้านใบมีลักษณะเป็นหลอดกลมกลวงยาวประมาณ 25-100 เซนติเมตร


มะละกอ thai-herbs.thdata.co | มะละกอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

 ดอก ออกเป็นช่อกระจุก ดอกช่อสีขาวนวล มีกลิ่นหอม ออกที่ซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยก ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ1.5-2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 10 อัน ดอกเพศเมียและดอกสมบูรณ์เพศออกเดี่ยวหรือ 2-3 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ 


มะละกอ thai-herbs.thdata.co | มะละกอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นผลแบบผลสด ผลมีเนื้อหลายเมล็ด ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มเหลือง ผลแก่สีส้ม มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก รูปไข่ ผิวขรุขระ มีถุงเมือกหุ้ม ผลดิบเมล็ดจะมีสีขาว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำเมื่อผลสุก 

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*รากแก่ รสฉุนเอียน สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้กามโรค 

*รากอ่อน รสฉุนเอียนน้อย สรรพคุณ บำรุงน้ำนม 

*ยาง สรรพคุณ กัดแผล หัวหูด สิว ฆ่าพยาธิผิวหนัง

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา:

การใช้ประโยชน์:

มะละกอ thai-herbs.thdata.co | มะละกอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-อาการขัดเบา ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1 กำมือ รากแห้งอีกครึ่งกำมือ หั่นแล้วนำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำมาดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนมื้ออาหาร

-อาการท้องผูก ด้วยการกินเนื้อมะละกอสุก เนื่องจากมะละกอมีเส้นใยจำนวนมาก และช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายได้ดี

-อาการเท้าบวม ใช้ใบมะละกอสด ๆ นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเหล้าขาว นำมาพอกบริเวณนั้น ๆ

-อาการปวดบวม ด้วยการนำใบมะละกอสด ๆ ไปย่างไฟหรือใช้น้ำร้อนลวก แล้วนำมาประคบบริเวณที่มีอาการ หรือนำมาตำให้พอพยาบแล้วห่อด้วยผ้าขาวบาง นำมาทำเป็นลูกประคบก็ใช้ได้เหมือนกัน

-อาการเคล็ดขัดยอก ใช้รากมะละกอนำมาตำให้แหลกแล้วผสมกับเหล้าขาว นำมาทาบริเวณนั้น ๆ

-อาการคันอันเกิดมาจากพิษของหอยคัน ด้วยการใช้ยางมะละกอดิบ ๆ นำมาทาทั้งเช้าและเย็น

-โรคกลาก เกลื้อน เท้าเปื่อย ด้วยการใช้ยางมะละกอดิบมาทาวันละ 3 ครั้ง จะสามารถช่วยฆ่าเชื้อราได้

-อาการแผลพุพอง อักเสบ ใช้ใบมะละกอที่แห้งกรอบนำมาบดให้เป็นผง นำไปผสมกับน้ำกะทิผสมให้พอเหนียว แล้วนำมาทาแผลวันละ 3 ครั้ง

-อาการแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบ ๆ นำมาต้มจนเปื่อย นำมาตำแล้วพอกบริเวณบาดแผล

-อาการปวดกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้นำมาแช่เหล้าขาวทิ้งไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำมาทาบริเวณที่กล้ามเนื้อหรือบริเวณที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง

-ผลสุก มีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น

-ช่วยย่อยอาหาร เนื่องจากมะละกอมีเอนไซม์ที่ช่วยย่อยพวกโปรตีน

-ช่วยป้องกันลักปิดลักเปิดหรือเลือดออกตามไรฟันได้ เนื่องจากมะละกอมีวิตมินซีสูง

-ช่วยทำหน้าให้หน้าใส ใช้มะละกอสุกผสมกับน้ำผึ้งและนมสด แล้วนำมาปั่นให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำมาทาผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก

-ช่วยหมักเนื้อให้นุ่มนุ่ม ใช้ผลนำมะละกอนำไปหมักให้เนื้อนุ่มได้อีกด้วย เพราะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Papain ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผงหมักสำเร็จรูปที่เราเห็นขายกันอยู่ตามท้องตลาดนั่นเอง

-ผลมะละกอ สามารถนำมาแปรรูป เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น

-ผลดิบ นิยมนำมาปรุงป็นอาหาร ได้หลากหลาย เช่น แกงส้ม ส้มตำ เป็นต้น




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง