Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ม้ากระทืบโรง

ชื่อท้องถิ่น: ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร (ระนอง)/ พญานอนหลับ (นครสวรรค์)/ มาดพรายโรง (โคราช)/ ม้าทะลายโรง (ภาคอีสาน)/ เดื่อเครือ (เชียงใหม่)/ บ่าบ่วย (คนเมือง)/

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus sarmentosa Buch.-Ham. ex Sm.

ชื่อวงศ์: MORACEAE

สกุล: Ficus s

สปีชีส์: armentosa

ชื่อพ้อง: Ficus reticulata (Miq.) Miq.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ม้ากระทืบโรง thai-herbs.thdata.co | ม้ากระทืบโรง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นม้ากระทืบโรง จัดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เป็นไม้เถาขนาดใหญ่มักเลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้ชนิดอื่น มีความสูงได้ถึง 25 เมตร  เปลือกสีน้ำตาลเทา เปลือกนอกสีน้ำตาลกลางอมเขียว มีตุ่มหนามมนจำนวนมาก เปลือกในสีขาวอมเหลือง  มียางสีขาว เมื่อทิ้งไว้เนื้อไม้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มสลับขาวอมเหลือง  


ม้ากระทืบโรง thai-herbs.thdata.co | ม้ากระทืบโรง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก หรือรูปไข่ หรือเป็นรูปขอบขนานแกมวงรี ก้านใบและผิวใบด้านล่าง รวมไปถึงฐานรองดอกอ่อนจะมีขน ใบกว้างประมาณ 7-9 เซติเมตร และยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ที่ฐานรองดอกเป็นรูปทรงกลม


ม้ากระทืบโรง thai-herbs.thdata.co | ม้ากระทืบโรง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกผลสีเขียว ภายในผลเนื้อมีสีแดง

สภาพนิเวศวิทยา: มพบเกาะเลื้อยอยู่ตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการตัดเถาม้ากระทืบโรงประมาณ 1 คืบแล้วนำมาปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้งต้น รสขมน้อย สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ลำต้น พบสารกลุ่ม eudesmane sesquiterpene ได้แก่ foveolide A,foveoeudesmenone , 4(15)-eudesmene-1β,6α-diol, 4(15)-eudesmene-1β,5α-diol สารกลุ่ม sesquiterpenoid dimer คือ foveolide B, สารกลุ่ม phenolic ได้แก่ foveospirolide, ethyl rosmarinate สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ friedelin, taraxerol และ betulin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-สาร foveolide A จากลำต้นแสดงความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้, เซลล์มะเร็งตับ, เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร และมีฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้คือ 200 ไมโครโมลาร์  

-สาร foveolide B จากลำต้นแสดงความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ ลำต้น ผสมลำต้นคุย ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ และยังช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง