Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: อบเชยเทศ

ชื่อท้องถิ่น: อบเชยลังกา

ชื่อสามัญ: Ceylon cinnamon, True cinnamon

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum verum J.Presl

ชื่อวงศ์: LAURACEAE

สกุล:  Cinnamomum

สปีชีส์: verum 

ชื่อพ้อง: Cinnamomum zeylanicum Blume

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นอบเชยเทศ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่ไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ มีเส้นใบ 3 เส้น ใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียมเข้ม 

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีเหลืองและมีกลิ่นหอม 

ผล มีลักษณะคล้ายรูปไข่ สีดำ ผิวเปลือกเรียบบาง หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร 

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: อินเดียและศรีลังกา

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น ใช้บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย ทำให้มีกำลัง ขับลม บำรุงธาตุ บดเป็นผงใช้เป็นเครื่องเทศใส่อาหาร ใส่เครื่องสำอาง ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน และจุกเสียด

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้อบเชยเทศ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมอินทจักร์” มีส่วนประกอบของอบเชยเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด

2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุอบเชย” มีส่วนประกอบของอบเชยเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ตำรับ “ยาวิสัมพยาใหญ่” มีส่วนประกอบของอบเชยเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ตำรับ “ยาริดสีดวงมหากาฬ” มีส่วนประกอบของอบเชยเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก

3.ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ปรากฏตำรับ “ยาแก้ไอผสมกานพลู” มีส่วนประกอบของอบเชยเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ตำรับ “ยาแก้ไอผสมมะนาวดอง” มีส่วนประกอบของอบเชยเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

4.ยาบำรุงโลหิต ปรากฏตำรับ “ยาบำรุงโลหิต” มีส่วนประกอบของอบเชยเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บำรุงโลหิต 

5. ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยากษัยเส้น” มีส่วนประกอบของอบเชยเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย

องค์ประกอบทางเคมี: 

-น้ำมันหอมระเหยที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ cinnamaldehyde ประมาณ 51-76% พบ eugenol เล็กน้อยประมาณ 5-18%

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์การสลายลิ่มเลือด เมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศจีน พบว่าอบเชยสามารถช่วยทำให้การสลายลิ่มเลือด ขยายหยอดเลือด การไหลเวียนของเลือด และลดไขมันกับความหนืดของเลือดให้ดีขึ้นได้ และอบเชยยังสามารถนำมาใช้รักษาหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นของการเกิดลิ่มเลือดและเซลล์สมองฝ่อได้ ตัวยานี้จะส่งผลในการเปลี่ยนแปลงและผลของฤทธิ์ยาต่อสิ่งมีชีวิต โดยการใช้เป็นยาระบายเอาของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย ยาจะส่งผลได้ดรในการลดไขมันในเลือด โดยลดได้ถึง 94% และยังส่งผลในการรักษาการขาดแคลนโลหิตที่มาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 89% และลดการเกิดลิ่มเลือดที่เกิดจากไขมันในเลือดสูงได้ถึง 80% อีกทั้งการสกัดและการเตรียมยาก็ง่ายและมีประสิทธิภาพในการรักษา (2005)

-ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด เมื่อปี ค.ศ.2006 ที่ประเทศจีน กระบวนการเตรียมและการสกัดยาจากอบเชยนั้น สามารถทำได้โดยการแช่อบเชยสดในน้ำสะอาดแล้วเคี่ยวด้วยไฟปานกลางประมาณ 20 นาที และกรองเอากากออก น้ำยาที่ได้จะช่วยรักษาไขมันในเลือดสูง ซึ่งมีผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย มีประสิทธิภาพ และราคาถูก ถ้าสามารถหาแหล่งวัตถุดิบได้เอง (2006)

-ฤทธิ์ลดระดับไตรีกลีเซอไรด์ และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าอบเชยสามารถเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และลดระดับไตรีกลีเซอไรด์ในเลือดได้ และจากการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานพบว่าอบเชยนอกจากจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วยังช่วยปรับระดับไขมันในเลือดให้ดีขึ้นได้ โดยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิดเลว และไตรกลีเซอไรด์

-ฤทธิ์ลดความดันโลหิต เมื่อปี ค.ศ.2007 ที่ประเทศจีน ได้สรุปผลการทดลองว่า อบเชยนั้นสามารถนำมาใช้เป็นตัวยาในการรักษาโรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคทางประสาท โรคปัสสาวะขัด และโรคต่อมลูกหมากโตได้ (2007)

-ฤทธิ์กระตุ้นการทำงานกระเพาะและลำไส้ น้ำมันระเหยจากเปลือกต้นมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้มีการบีบตัวแรงขึ้น ทำให้มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เพิ่มมากขึ้น จึงมีการช่วยขับลมในกระเพาะลำไส้ และยังมีฤทธิ์คล้ายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในกระเพาะลำไส้ จึงสามารถช่วยแก้อาการปวดกระเพาะและลำไส้ได้

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าในอัตราส่วนขนาดสูงสุดที่ทำให้หนูขาวทนได้ (LD50) มีค่าเท่ากับ 4.16 กรัมต่อกิโลกรัม

-จากการศึกษาทางพิษวิทยา ด้วยการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากเปลือกอบเชยญวนด้วยเอทานอล 50% แล้วนำมาให้หนูทดลองกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 926 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน และให้โดยวิธีการฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ

การใช้ประโยชน์:

-อาการไอ ใช้เมล็ดนำมาทุบให้แตกผสมกับน้ำผึ้ง ให้เด็กกินเป็นยาแก้ไอ 

-ช่วยลดความดันโลหิต ใช้ผงอบเชยที่หาซื้อได้ทั่วไปที่เป็นแท่งนำมาบด โดยให้ใช้ผงอบเชยหนัก 1 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น

-ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร ใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงธาตุ และช่วยทำให้เจริญอาหาร

-ช่วยทำให้ร่างกายมีความสามารถในการใช้อินซูลินเพื่อการสันดาปกลูโคสได้ดีขึ้น อบเชยสามารถลดการดื้ออินซูลินทำให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานให้หมดไปไม่ค้างอยู่ในเลือด สมุนไพรอบเชยจึงเหมาะสมกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน ให้ใช้อบเชยวันละ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 1,200 มิลลิกรัม โดยให้แบ่งการรับประทานออกเป็น 4 มื้อ ซึ่งจะได้ผงอบเชยในปริมาณ 300 มิลลิกรัม หรือมีขนาดเท่ากับแคปซูลเบอร์ 1 แต่สำหรับผู้ไม่เป็นเบาหวานสามารถกินได้วันละ 500-600 มิลลิกรัม หรือประมาณวันละ 2 แคปซูล 

-เปลือกต้น เมื่อนำมาย่างไฟจะมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใส่ในแกงมัสมั่นและอาการประเภทต้มหรือตุ๋นเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เพื่อลดความคาว หรือจะลองหาผงอบเชยมาเหยาะลงในอาหารหรือเครื่องดื่มก็ได้ อย่างเช่น ชา กาแฟ น้ำผลไม้ แซนด์วิช ก็ได้ แล้วแต่จะดัดแปลงสูตร

-ใบมีน้ำมัน ใช้สำหรับแต่งกลิ่น แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง แต่งกลิ่นสบู่ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตน้ำหอม ใช้เป็นแหลงของสารยูจีนอลเพื่อนำมาสังเคราะห์เป็นสารวานิลลิน ใช้เป็นส่วนผสมในยาทาถูนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อ



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง