Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: รางแดง

ชื่อท้องถิ่น:  (ภาคกลาง)/ ก้องแกบ เขาแกลบ เห่าดำ ฮองหนัง ฮ่องหนัง (เลย)/ ปลอกแกลบ (บุรีรัมย์)/ เถามวกเหล็ก เถาวัลย์เหล็ก (สระบุรี)/ กะเลียงแดง (ชลบุรี-ศรีราชา)/ แสงอาทิตย์ แสงพระอาทิตย์ รางแดง (ประจวบคีรีขันธ์)/ เถาวัลย์เหล็ก เถามวกเหล็ก กะเลียงแดง รางแดงทรงแดง (ภาคใต้)/ ก้องแกบ ก้องแกบเครือ ก้องแกบแดง เครือก้องแกบ หนามหัน (ภาคเหนือ)/ ซอแพะแหล่โม (กะเหรี่ยง)/ ตะแซทูเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ventilago denticulata Willd.

ชื่อวงศ์: RHAMNACEAE

สกุล: Ventilago 

สปีชีส์: denticulata

ชื่อพ้อง: 

-Berchemia laotica Tardieu

-Ventilago calyculata Tul.

-Ventilago calyculata var. trichoclada Y.L.Chen & P.K.Chou

-Ventilago denticulata var. acuta Bhandari & Bhansali

-Ventilago denticulata var. bifida Bhandari & Bhansali

-Ventilago laotica (Tardieu) J.F.Maxwell

-Ventilago macrantha Tul.

-Ventilago silhetiana M.A.Lawson

-Ventilago smithiana Tul.

-Ventilago sulphurea Tul.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

รางแดง thai-herbs.thdata.co | รางแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ต้นรางแดง เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง พาดพันตามต้นไม้และกิ่งไม้ เถาเมื่อยังอ่อนจะเป็นรูปทรงกระบอกสีเขียว เมื่อแก่เถาเปลี่ยนเป็นเป็นสีเทา ผิวของลำต้นหรือเถาเป็นรอยแตกระแหงเป็นร่องสีแดงสลับ ทำให้เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้น 


รางแดง thai-herbs.thdata.co | รางแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร ส่วนก้านใบสั้น


รางแดง thai-herbs.thdata.co | รางแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้กับปลายยอด ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีเขียวแกมเหลืองหรือสีเขียวอมขาว


รางแดง thai-herbs.thdata.co | รางแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นผลแห้งไม่แตก ผลมีรูปร่างกลม ด้านปลายผลแผ่เป็นครีบคล้ายปีกแข็ง ภายในมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าโปร่ง 

ถิ่นกำเนิด: ออนุทวีปอินเดียไปจนจนถึงจีน (ยูนนานใต้, กวางสีตะวันตก กุ้ยโจวตะวันตกเฉียงใต้) และอินโดจีน

การกระจายพันธุ์: หมู่เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนตอนใต้-กลาง, หิมาลายาตะวันออก, อินเดีย, ลาว, เมียนมาร์, เนปาล, ไทย, เวียดนาม, หิมาลายาตะวันตก

รางแดง thai-herbs.thdata.co | รางแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การทาบเถา การปักกิ่งชำ และการกิ่งตอน

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสจืดเย็น สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้กระษัยเส้นตึง กระษัยกร่อนทุกชนิด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของรา จากการศึกษาผลของสารสกัดที่ความเข้มข้น 0, 5000, 10000, 15000, และ 20000 ppm ต่อการเจริญของรา Colletotrichum gloeosporioides และ Fusarium oxysporum พบว่าสารสกัดที่มีความเข้มข้น 15000 และ 20000 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของรา Colletotrichum gloeosporioides และ Fusarium oxysporum ได้ดีที่สุด และเมื่อความเข้มข้นเพิ่มข้น จะทำให้ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบความเป็นพิษพบว่าเมื่อฉีดสารสกัดจากทั้งต้นรางแดงด้วยแอลกอฮอลล์และน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 เข้าที่ช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง พบว่าในขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (ค่า LD₅₀) คือ 800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

การใช้ประโยชน์:

-หมอยาอีสาน ใช้เถานำมาต้มกิน หรือนำใบมาชงเป็นชา เพื่อเป็นยาบำรุงกำลัง แก้เส้น แก้เอ็น อาการปวดหลัง ปวดเอง ปวดแข้ง ปวดขา หรือใช้รากดองเหล้า 

-หมอยาไทยใหญ่ ใช้ใบรางแดงนำมาปิ้งกับไฟชงกับน้ำร้อนกินแทนชา เป็นยารักษาอาการปวดเมื่อย ปวดหลังปวดเอว แก้อาการอ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาล้างไต ด้วยการใช้ใบชงใส่น้ำร้อน หรือจะใช้รากหรือเถานำมาหั่นตากแห้ง แล้วต้มกินก็ได้ และยังเชื่อว่าหากกินสมุนไพรรางแดงเป็นประจำจะช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต และทำให้เจริญอาหาร

-ช่วยให้เจริญอาหาร ใช้เถารางแดง, ต้นกำแพงเจ็ดชั้น, ต้นขมิ้นเครือ, ต้นเถาวัลย์เปรียง และต้นนมควาย นำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยให้เจริญอาหาร หรือใช้ใบนำมาลนไฟหรือตากให้แห้งแล้วชงกับน้ำดื่ม 

-ช่วยขับปัสสาวะ  ใช้ใบนำมาปิ้งไฟให้กรอบ ใช้ชงกับน้ำกินต่างน้ำชาเป็นยาช่วยขับปัสสาวะ 

-ช่วยแก้เส้นเอ็นตึง ปวดเมื่อย ใช้ใบนำมาปิ้งไฟให้กรอบ ใช้ชงกับน้ำกินต่างน้ำชาจะช่วยทำให้เส้นเอ็นในร่างกายอ่อนดี หรือทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้เส้นเอ็นตึง

-ยอดอ่อน ใบ และเปลือกต้น ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำน้ำยาสระผมสูตรแก้รังแค ซึ่งจะประกอบไปด้วยสมุนไพรอื่น ๆ อีก เช่น ส้มป่อยหรือมะนาวหรือมะกรูด ใบหมี่เหม็น และน้ำด่าง (น้ำขี้เถ้า) นำมาต้มรวมกันแล้วนำน้ำที่ได้มาสระผมจะช่วยแก้รังแคได้




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง