Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักแว่น

ชื่อท้องถิ่น: ผักลิ้นปี่ (ภาคใต้)/ ผักแว่น (ภาคกลาง, ภาคเหนือ, ภาคอีสาน) หนูเต๊าะ (กระเหรี่ยง-ภาคเหนือ)/ เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Water clover, Water fern, Pepperwort

ชื่อวิทยาศาสตร์: Marsilea crenata C. Presl

ชื่อวงศ์: MARSILEACEAE

สกุล:  Marsilea  

สปีชีส์: crenata

ชื่อพ้อง: 

-Lemma minuta (L.) Desr.

-Marsilea aegyptiaca Wall.

-Marsilea brachycarpa A.Braun

-Marsilea brachypus A.Braun

-Marsilea cornuta (A.Braun) A.Braun

-Marsilea crenata C.Presl

-Marsilea crenulata Desv.

-Marsilea diffusa Lepr. ex A.Braun

-Marsilea elata var. crenata (C.Presl) Sadeb.

-Marsilea erosa Willd.

-Marsilea fimbriata Schumach.

-Marsilea gracilenta A.Braun

-Marsilea kedarmalii Bhardwaja, Gena & D’Souza

-Marsilea maheshwarii Gopal

-Marsilea mearnsii Christ

-Marsilea microcarpa A.Braun

-Marsilea perrieriana C.Chr.

-Marsilea poonensis Kolh.

-Marsilea sinensis Hand.-Mazz.

-Marsilea tenax Peter

-tetraphylla Thunb.

-Marsilea vulgaris Bory

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักแว่น thai-herbs.thdata.co | ผักแว่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักแว่น เป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีลำต้นสูงได้ถึง 20 เซนติเมตร เจริญเติบโตในน้ำตื้น ๆ มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อย และแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมและใบอยู่เหนือน้ำ โดยต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนของรากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ 

  ผักแว่น thai-herbs.thdata.co | ผักแว่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบพัด โดยมีใบย่อย 4 ใบคล้ายกังหัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือเป็นรูปลิ่มหรือเป็นไข่กลับ แต่ละใบย่อยมีขนาดเท่ากัน ออกจากตรงกลางจากตำแหน่งเดียวกันเป็นลักษณะกลม โดยขนาดของใบย่อยจะมีความกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 0.8-1.8 เซนติเมตร โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย แผ่นใบมีลักษณะเรียบและไม่มีขน ใบย่อยจะไม่มีก้าน ส่วนก้านใบจะมีความยาวประมาณ 4.5-15 เซนติเมตร ใบมีสปอร์โรคาร์ป (Sporocarps) ออกที่โคนก้านใบเป็นก้อนแข็ง ๆ ออกเดี่ยว ๆ หรือออกหลายอัน มีสีดำ ก้านยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ลักษณะของสปอโรคาร์ปรูปขอบขนานยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร บนก้านชูสั้น ๆ โดยจะออกที่โคนก้านใบ ขณะที่อ่อนอยู่เป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำและร่วงได้ง่าย และภายในจะมีสปอร์จำนวนมาก

ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นหลายดอกแทงออกบริเวณซอกใบหรือข้อปล้อง ก้านดอกขนาดเล็กสีเขียว มีขนปกคลุมเล็กน้อย ยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ตัวดอกมีใบประดับขนาดเล็กรูปหอกสีเขียว ขนาด 2-4 × 1 มิลลิเมตร กลีบดอกลักษณะรูปไข่กลับแกมขอบขนานมีจำนวน 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน แผ่นกลีบดอกมีสีเหลืองสด ขนาดกลีบดอกกว้าง 3-8 มิลลิเมตร ยาว 7-10 มิลลิเมตร 


ผักแว่น thai-herbs.thdata.co | ผักแว่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ผักแว่น thai-herbs.thdata.co | ผักแว่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะกลมรี ขั้วผลและปลายผลแหลมเปลือกผลสาก ผลขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ภายในประกอบด้วยเมล็ดจำนวนมาก

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นทั่วไปตามที่ชื้นแฉะหรือโผล่ขึ้นเหนือน้ำ บริเวณน้ำตื้น 

ถิ่นกำเนิด: โลกเก่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

ผักแว่น thai-herbs.thdata.co | ผักแว่น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการใช้เถา, ไหล, สปอร์

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้งต้น รสจืด สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้ดีเดือด เจริญอาหาร

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบและเถา พบสาร เช่น tartaric acid ,dyclonine ,  citric acid ,  pederin , potassium oxalate , lintopride , madecassic acid , dibutyl phthalate , carotene , Asiatic acid

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากผักแว่น กระแตไต่ไม้ และกีบม้าลม พบว่า การใช้สารเอทิลอะซิเตทในการสกัดพืชทั้ง 3 ชนิดจะมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าสารสกัดชนิดอื่น และเมื่อเทียบความสามารถของเฟิร์นทั้ง 3 ชนิด พบว่า ผักแว่นมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระได้สูงสุด โดยมีค่า DPPH ที่ 107.77 มิลลิกรัม/Trolox/กรัมแห้ง และมีค่า ABTS ที่ 153.75 มิลลิกรัม/Trolox/กรัมแห้ง นอกจากนั้น ยังพบว่า ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระยังมีความสัมพันธ์กับปริมาณเบต้าแคโรทีนที่พบในเฟิร์นทั้ง 3 ชนิด (ตรวจพบปริมาณเบต้าแคโรทีนในผักแว่นสูงที่สุดที่ 2,291.06 มิลลิกรัม/ 100 กรัม ผักแว่นแห้ง)

-ฤทธิ์ต้านเบาหวาน มีการศึกษาสารสกัดจากพืชตระกูลเฟิร์น(ผักแว่น , กระแตไต่ไม้, ผักกูด) ที่มีต่อการยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน พบว่า สารสกัดจากผักแว่นมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดสได้สูงสุดที่ร้อยละ 98.57 เมื่อเทียบกับพืชอีก 2 ชนิด (กระแตไต่ไม้ และผักกูด) และเมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส พบว่า สามารถที่จะยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าวได้กว่าร้อยละ 97.14

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการไข้ ตัวร้อน อาการท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เจ็บคอ และช่วยสมานแผลในปากและลำคอ แก้อาการปากเปื่อย ใช้ใบและลำต้นมาต้มกับน้ำดื่ม

-อาการไข้ ใช้ลำต้นผสมกับใบธูปฤาษี ทุดบพอแตก ใช้แช่น้ำที่มีหอยขม ประมาณ 2-3 นาทีแล้วนำมาดื่ม

-อาการแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ใช้ใบสด 1 กำมือ เมื่อนำไปล้างให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียดแล้วนำน้ำที่ได้ไปทาและนำกากประคบบริเวณที่เป็นแผล 

-อาการปวดฝีในบริเวณต่าง ๆ แก้อาการปวด และฟกช้ำ ใช้ทั้งต้นมาโขลกแล้วผสมกับสุรา ใช้ทาหรือประคบ

-ช่วยบำรุงสายตา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดไข้ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ดีพิการ โดยนำยอดและใบมารับประทานสดๆหรือรับประทานสดเป็นอาหารหรือจะนำไปประกอบอาหารก็ได้เช่นกัน 

-ใบอ่อน ยอดอ่อน สามารถนำมารับประทานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  นำมารับประทานสดคู่กับน้ำพริกชนิดต่าง ๆ หรือจะนำมารับประทานคู่กับซุปหน่อไม้ ลาบ และใช้เป็นผักผสมในเมนูยำหรือสลัดต่าง ๆ ก็ได้  รวมถึงยังสามารถนำไปใช้ประกอบอาหาร เช่น แกงผักแว่น แกงจืด หรือใช้ผสมในไข่เจียว เป็นต้น 

-ในประเทศอินโดนีเซีย นิยมใช้ผักแว่นนำมาใช้เป็นอาหารเช่นกัน โดยจะนำมาเสิร์ฟร่วมกับมันเทศและเพเซล (Pacel) หรือซอสเผ็ดที่ผลิตจากถั่วลิสง 




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง