Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: แค

ชื่อท้องถิ่น: -

ชื่อสามัญ: Agasta, Sesban, Vegetable humming bird, Humming bird tree, Butterfly tree, Agati

ชื่อวิทยาศาสตร์: Sesbania grandiflora (L.) Pers.

ชื่อวงศ์:  FABACEAE-LEGUMINOSAE อยู่ในวงศ์ย่อย FABOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Sesbania 

สปีชีส์: grandiflora 

ชื่อพ้อง: 

-Aeschynomene grandiflora (L.) L.

-Agati grandiflora (L.) Desv.

-Agati grandiflora var. albiflora Wight & Arn.

-Coronilla coccinea Willd.

-Coronilla grandiflora (L.) Willd.

-Dolichos arborescens G.Don

-Dolichos arboreus Forssk.

-Emerus grandiflorus (L.) Hornem.

-Resupinaria grandiflora (L.) Raf.

-Robinia grandiflora L.

-Sesbania mannii Sachet

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นแค เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่เป็นระเบียบ มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร เนื้อไม้อ่อน ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด  

  แค thai-herbs.thdata.co | แค สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยขนาดเล็กใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ปลายใบมนหรือเว้าบุ๋ม มีติ่งเล็กน้อย ขอบใบเรียบ โคนใบเฉียง แผ่นใบสีเขียว ผิวใบอาจมีขนเล็กน้อยหรือผิวเกลี้ยง  กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวอ่อนอมชมพู


แค thai-herbs.thdata.co | แค สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ตามซอกใบ คล้ายดอกถั่ว ช่อหนึ่ง ๆ มีประมาณ 2-4 ดอก เป็นดอกแบบสมมาตรด้านข้าง มีกลีบดอก 5 กลีบ ขนาดของกลีบดอกไม่เท่ากัน กลีบบนสุดจะมีขนาดใหญ่สุด ถัดเข้าด้านในมีขนาดเล็ก และมักจะกิ่วคอดตอนโคน ส่วนกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนเป็นรูประฆัง ดอกมีทั้งชนิดสีขาวและสีแดง มีความยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร

ผล มีลักษณะเป็นฝักกลมยาว มีความยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ผสมเกสรโดยนก ฝักเมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดเรียงอยู่ตรงกลางแถวเดียว ปลายฝักแหลม ภายในมีเมล็ด 15-50 เมล็ด

เมล็ด มีลักษณะเหมือนลิ่ม เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล คล้ายเมล็ดถั่วค่อนข้างแข็ง

สภาพนิเวศวิทยา: พบทั่วไปในเขตร้อนชื้น 

ถิ่นกำเนิด: มาเลีเซียไปจนถึงนิวกินี

การกระจายพันธุ์: จาวา, มาเลเซีย, นิวกินี, ฟิลิปปินส์, หมู่เกาะอันดามัน, อัสสัม, บาฮามาส, บังกลาเทศ, เบนิน, กัมพูชา, เคปเวิร์ด, เกาะเคย์แมน, หมู่เกาะชากอส, จีนตอนใต้ - กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, โคลอมเบีย, คิวบา, สาธารณรัฐโดมินิกัน, หิมาลายาตะวันออก, เอธิโอเปีย, ฟิจิ, ฟลอริดา, กาบอง, กานา, กินี, ไหหลำ, เฮติ, ฮาวาย, อินเดีย, จาเมกา, ทะเลแลกคาดิฟ, ลาว, หมู่เกาะลีเวิร์ด, มาลาวี, มัลดีฟส์, หมู่เกาะมาร์เคซัส, มอริเชียส, พม่า, เนปาล, นิวแคลิโดเนีย, ไนจีเรีย, โอมาน, ปากีสถาน, เปอร์โตริโก, ควีนส์แลนด์, เรอูนียง, เซเนกัล, เซียร์ราลีโอน, แคริบเบียนตะวันตกเฉียงใต้, ศรีลังกา, ไต้หวัน, แทนซาเนีย, ไทย, ตองกา, ตรินิแดด - โตเบโก, เติกส์ - เคคอส, เวเนซุเอลา, เวเนซุเอลาแอนทิลลิส, เวียดนาม, เทือกเขาหิมาลัยตะวันตก,หมู่เกาะวินด์เวิร์ด, เยเมน

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสฝาดจัด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง คุมธาตุ บิดมูกเลือด สมานแผลทั้งภายในและภายนอก

*ใบ รสจืดมัน สรรพคุณ แก้ไข้เปลี่ยนอากาศ (ไข้หัวลม) แก้ไข้หวัด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านเชื้อรา สารสกัดน้ำจากทั้งต้น ความเข้มข้น 0.3 มล./หลุม สารสกัดเฮกเซน สารสกัดเอทานอลและสารสกัดเอทิลอะซีเตทจากเปลือกต้น ไม่ระบุความเข้มข้น ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans

-ฤทธิ์ปกป้องตับ มีผลการศึกษาวิจัยของประเทศอินเดียพบว่า สารสกัดเอ-ทานอลของใบแคมีฤทธิ์ป้องกันการถูกทำลายของตับในหนูทดลองที่ได้รับยาเกินขนาดโดยพบปริมาณเอนไซม์ แอสพาร์เทตทรานส์อะมิเนส อะลานีนทรานส์อะมิเนส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสต่ำในหนูที่รับยาและสารสกัดใบแคบ้าน ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวมีปริมาณสูงในหนูซึ่งรับยาเกินขนาดเนื่องจากตับถูกทำลายนอกจากนี้หนูที่ได้รับยาและสารสกัดใบแคมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์ โคเลสเตอรอล ฟอสโฟไลพิด และกรดไขมันอิสระต่ำกว่าหนูกลุ่มที่ได้รับยาอย่างเดียวและพบว่าสารสกัดใบแคทำให้ปริมาณสารต้าน อนุมูลอิสระในกระแสเลือดหนูกลับสู่สภาวะปกติ ขณะที่ปริมาณสารดังกล่าวในหนูที่รับยามีปริมาณต่ำผลการวิจัยนี้เป็นข้อสนับสนุนข้อมูลแพทย์ทางเลือกที่ใช้ใบแคบำรุงตับและแก้ความผิดปกติของตับได้อย่างดี

การศึกษาทางพิษวิทยา:

  -การทดสอบความเป็นพิษ สารสกัดน้ำจากทั้งต้น ไม่ระบุขนาดและวิธีที่ให้ เป็นพิษต่อหนูถีบจักร ขณะที่ใบแค ไม่ระบุสารสกัด ขนาดและวิธีที่ให้ ไม่พบความเป็นพิษต่อหนูขาว สารสกัด 50% เอทานอลจากใบ ขนาด 10 ก./กก. ไม่เป็นพิษต่อหนูถีบจักร เมื่อให้โดยการกรอกเข้าทางปาก และฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

-พิษต่อเซลล์ สารสกัด 80% เอทานอลจากใบ เป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ Hela โดยมีค่า CD50 เท่ากับ 30 มคก./มล.

การใช้ประโยชน์:

-ดอกแค ฝักอ่อน ยอดอ่อน และใบอ่อน สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เมนูดอกแค เช่น แกงแค, แกงส้มดอกแค, ดอกแคสอดไส้, ดอกแคห่อกุ้งทอด, แกงเหลืองปลากะพง, แกงจืดดอกแค, ดอกแคชุบแป้งทอด, ดอกแคผัดหมู, ดอกแคผัดกุ้ง, ดอกแคผัดเต้าเจี้ยว, ดอกแคผัดกะเพรา, ยำดอกแค, ส่วนใบอ่อน ยอดอ่อน และฝักอ่อนนำมาลวกจิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้ เป็นต้น

-ชาวอีสานนิยมนำดอกแคและยอดอ่อนมานึ่งหรือย่าง รับประทานร่วมกับลาบ ก้อย แจ่ว และดอกยังนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทอ่อมอีกด้วย

-นิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้าน ปลูกตามคันนา ริมถนนข้างทาง และปลูกไว้ในบริเวณบ้าน

-แค เป็นพืชที่มีจุลินทรีย์ที่ปมราก เมื่อจับกับก๊าซไนโตรเจนในอากาศจะผลิตเป็นปุ๋ยที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้นแคจึงเป็นพืชที่ช่วยปรับปรุงดินไปได้ในตัวอีกด้วย

-ใบ ใช้เป็นอาหารสัตว์ เลี้ยงโคกระบือได้ดี และเป็นที่ชื่นชอบของโคกระบือ

-ลำต้น นิยมนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดหูหนูได้ดี

-ไม้ ใช้ทำเป็นฟืนหรือเชื้อเพลิงได้



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง