Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ทองหลางป่า

ชื่อท้องถิ่น: ตองหลาง (แพร่)/ ทองบก (น่าน)/ ทองมีดขูด (ภาคเหนือ)/ ทองหลาง (ภาคกลาง)/ เก๊าตอง (คนเมือง)/ ไม้ตองหนาม ไม้ตองน้ำ (ไทใหญ่)/ ยาเซาะห่ะ (อาข่า) 

ชื่อสามัญ: -Indian Coral tree,1  December tree

ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrina subumbrans (Hassk.) Merr.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSA และอยู่ในวงศ์ย่อย FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Erythrina 

สปีชีส์: subumbrans 

ชื่อพ้อง: 

-Corallodendron holosericeum (Kurz) Kuntze

-Corallodendron lithospermum (Blume ex Miq.) Kuntze

-Corallodendron sumatranum (Miq.) Kuntze

-Erythrina holosericea Kurz

-Erythrina hypaphorus Boerl. ex Koord.-Schum.

-Erythrina lithosperma Blume ex Miq.

-Erythrina mysorensis Gamble

-Erythrina secundiflora Hassk.

-Erythrina sumatrana Miq.

-Hypaphorus subumbrans Hassk

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ทองหลางป่า thai-herbs.thdata.co | ทองหลางป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นทองหลางป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในระยะสั้น ๆ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร และอาจสูงได้ถึง 25 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเป็นสีขาวหม่น มีหนามแหลมสั้น ๆ ขึ้นกระจายทั่วลำต้นและกิ่ง 


ทองหลางป่า thai-herbs.thdata.co | ทองหลางป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ใบกลางมีขนาดใหญ่กว่าใบข้าง ลักษณะของใบย่อยเป็นหัวใจ รูปไข่แกมสามเหลี่ยม หรือรูปไข่แกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม โคนใบตัดหรือมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร เส้นใบด้านล่างเด่นชัด ที่โคนก้านใบมีต่อม 1 คู่


ทองหลางป่า thai-herbs.thdata.co | ทองหลางป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจะบริเวณปลายกิ่ง มีขนสั้นปกคลุม ดอกย่อยมีจำนวนมาก ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร กลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม ดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว ดอกล่างจะบานก่อน กลีบรองดอกเป็นหลอด กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบบนแผ่โค้งเป็นรูปเรือ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกันที่โคนด้านล่าง ก้านเกสรเป็นสีแดง อับเรณูเป็นสีเหลือง ติดดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์


ทองหลางป่า thai-herbs.thdata.co | ทองหลางป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นฝักโค้งแบน ตอนโคนแบน ไม่มีเมล็ด ตอนปลายหนา แบ่งเป็นห้อง ๆ มีเมล็ดประมาณ 1-5 เมล็ด รูปรี เมื่อแก่ฝักจะแตกอ้าออกตามทางยาวจากส่วนปลาย

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าดิบบริเวณที่ชุ่มชื้นและตามริมห้วยในป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 100-900 เมตร

ถิ่นกำเนิด: แถบเอเชียไปจนถึงจีนยูนาน และเปซิฟิกตะวันเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บอร์เนียว, จีนตอนกลางตอนใต้, ฟิจิ, อินเดีย, จาวา, ลาว, ซุนดา, มาลายา, มาลูกู, เมียนมาร์, ฟิลิปปินส์, ซามัว, ศรีลังกา, สุลาเวสี, สุมาตรา, ไทย, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ เปลือกต้น รสเฝื่อนเอียนเย็น สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้ลมเป็นพิษ หยอดตาแก้ตาแดงตาฝ้าฟางและตาแฉะ

*ราก รสเมาเอียนเย็น สรรพคุณ แก้พยาธิในท้อง แก้ตาฟาง แก้เสมหะ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ใบอ่อน ใช้รับประทานสดหรือใช้ใส่ในแกง หรือจะนำยอดอ่อนมาลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ใส่ในแกง แกงหน่อ แกงขนุน ฯลฯ

-เนื้อไม้ เป็นสีขาว ค่อนข้างอ่อน ใช้ทำของเล่นสำหรับเด็ก หรือนำมาใช้ทำรั้วบ้าน เพราะมีหนาม

-ชาวอาข่าจะใช้ใบเป็นส่วนผสมของยารักษาวัณโรค

-ชาวเขาเผ่าเย้า จะใช้ใบทองหลางป่า นำมาตำพอกรักษากระดูกหักและแก้อาการปวดกระดูก 

-ชาวกะเหรี่ยง นำเนื้อไม้ด้านในเปลือกต้นเอาไปฝนทำแป้งทาหน้า ทำให้ผิวขาว ไม่มีสิว



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง