Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หางไหลแดง

ชื่อท้องถิ่น: ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Derris elliptica (Roxb.) Benth.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Derris 

สปีชีส์: elliptica

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หางไหลแดง thai-herbs.thdata.co | หางไหลแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

หางไหลแดง thai-herbs.thdata.co | หางไหลแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหางไหลแดง เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เถาหรือลำต้นมีลักษณะกลม โดยเถาที่แก่จะมีสีน้ำตาลปนแดง ส่วนเถาอ่อนและบริเวณเถาใกล้ๆปลายยอดจะมีสีเขียวซึ่งจะเห็นได้ชัดตรงปล้องที่อยู่ก่อนถึงยอดประมาณ 2-3 ปล้อง


หางไหลแดง thai-herbs.thdata.co | หางไหลแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่เรียงสลับ ยาวประมาณ 22.5-37.5 เซนติเมตร โดยจะมีใบย่อยสีเขียว 9-13 ใบ แต่ส่วนมากจะพบ 9 ใบ โดยใบจะเกิดเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ซึ่งใบคู่แรก (นับจากโคนก้านใบ) จะมีขนาดเล็กที่สุดและเริ่มใหญ่ขึ้นเป็นลำดับจนถึงใบสุดท้ายที่อยู่ตรงยอดจะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งมีขนาดของใบใหญ่ที่สุดลักษณะของใบจะเป็นรูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้างประมาณ 2.5-3.5  เซนติเมตร ยาวประมาณ 7.5-15  เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ พื้นใบด้านบนเป็นสีเขียวมัน มองเห็นเส้นแขนงลักษณะด้านท้องใบมีสีเขียวและเห็นเส้นใบชัดกว่าด้านบน ใบอ่อนและยอดอ่อนจะมีสีสีน้ำตาลแดงและปกคลุมไปด้วยขนสั้นๆ หางไหลแดง thai-herbs.thdata.co | หางไหลแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกแคฝรั่งซึ่งช่อดอกแต่ละช่อมีความยาวประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร มีขนสั้นหนานุ่ม ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบล่างเป็นรูปโล่ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูประฆัง กลีบเลี้ยงยาวได้ถึงประมาณ 6 มิลลิเมตร  ดอกเป็นสีชมพูอมม่วง เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีชมพูอ่อนและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว 


หางไหลแดง thai-herbs.thdata.co | หางไหลแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลออกเป็นฝักลักษณะแบนรูปขอบขนานปลายแหลม กว้าง 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3.5-8.5 เซนติเมตร ตะเข็บบนจะแผ่เป็นปีก ฝักอ่อนมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่ และปริแตกเมื่อฝักแห้ง ภายในมีเมล็ดลักษณะกลมแบนเล็กน้อย 1-4 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: ป่าดงดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสเอียนเล็กน้อย สรรพคุณ ถ่ายเสมหะและโลหิต ถ่ายลม ถ่ายเส้นเอ็น

องค์ประกอบทางเคมี: 

-รากและเถา พบสาร Rotenone มากที่สุด (ซึ่งเป็นสารที่มีความเป็นพิษกับมนุษย์และสัตว์) นอกจากนี้ยังพบสารอื่นๆอีกเช่น Deguelin , Elliptone , α-toxicarol , Luteolin , Formonnetin , Apigenin 7-0-B-D-glucoside ฯลฯ

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-มีรายงานสารสำคัญที่พบในหางไหลแดงส่วนใหญ่ คือ โรติโนน (rotenone) โดยพบในส่วนของโคนต้น ก้านใบ ลำต้น ใบ รากกิ่ง รากขนาดเล็ก รากขนาดใหญ่ ในขนาด 0.4, 0.5, 2.7, 16.6, 26.7, 1003.9 และ 8981.1 ppm ตามลำดับ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าพบสารโรติโนนมากในส่วนของราก และในการศึกษาความเป็นพิษของสาร rolenone พบว่าสารพิษเฉียบพลันทางปากต่อหนู (rats) LD50 132-1500 มก./กก. ความเป็นพิษทางปากต่อหนูตะเภา (guinea pig) LD50 60-1500 มก./กก.    

-การศึกษาในหนูเม้าส์พบว่า ระดับที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (ค่า LD50) ของสารสกัดคลอโรฟอร์ม น้ำร้อน และปิโตรเลียมอีเธอร์จากส่วนราก มีค่า 700, 600 และ 700 มก./กก. ตามลำดับ

-การศึกษาความเป็นพิษเรื้อรังใช้เวลาในการศึกษา 90 วัน ทางปากของหนูทดลองพบว่า ทำให้หนูเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ อาเจียนบ่อย เบื่ออาหาร และเมื่อศึกษาเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในกระเพาะ ลำไส้ ตับ ไต พบว่ามีความพิษปกติของเนื้อเยื่อ 

-การทดสอบเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ พบว่า เมื่อหนู กระต่าย และหนูตะเภา ได้รับสาร rotenone หนูตัวเมียจะลดการตั้งครรภ์ และหนูที่ตั้งครรภ์แล้วลูกหนูจะตายในครรภ์แม่ ส่วนลูกหนูที่รอดตายน้ำหนักตัวจะน้อยกว่าปกติซึ่งแสดงให้เห็นว่าrotenone เป็นพิษกับตับอ่อนเมื่อเริ่มปฏิสนธิ

การใช้ประโยชน์:

-ตำรายาท้องถิ่นภาคต่างๆของไทยนั้นได้ระบุถึงสรรพคุณไว้ว่า เถาหรือรากหางไหลแดงใช้ผสมกับเครื่องยาอื่นๆ สำหรับเป็นยาขับประจำเดือนสตรี แก้ระดูเป็นลิ่มหรือก้อน เถาหางไหลแดงหั่นเป็นชิ้นตากแห้ง และนำมาดองสุรารับประทาน สำหรับเป็นยาขับลม บำรุงโลหิต ขับระดู ลดเสมหะ ถ่ายเส้นเอ็นทำให้เอ็นหย่อน ใช้รักษาหิดเหาและเรือดตามเส้นผม

-ราก ใช้ผสมกับสบู่และน้ำสำหรับใช้ฆ่าสัตว์ เช่น หิดและเหาได้เป็นอย่างดี

-ในสมัยโบราณมีการนำรากของหางไหลแดงมาทุบแช่น้ำ 0.5-1 กก.ต่อวัน 20 ลิตร ค้างคืนไว้ 2-3 วัน หลังจากนั้น นำน้ำหมักมากรองแยกเอาเฉพาะส่วนน้ำนำมารดหรือฉีดพ่นบริเวณแปลงผักหรือแปลงเกษตรอื่นๆ เพื่อป้องกัน และกำจัดหนอนหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆ  และยังมีการนำหางไหลแดงมาใช้เป็นยาเบื่อปลา โดยนำรากหรือลำต้นมาทุบแล้วนำไปแช่ไว้ในลำห้วย จะทำให้ปลาเมา สามารถจับมากินได้ง่าย




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง