Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ควินิน 

ชื่อท้องถิ่น: ซิงโคนา (ทั่วไป)/ กิมโกยนับ กิมโกยเล็ก (จีน)/ จินจีเล่อ จินจีน่า (จีนกลาง) 

ชื่อสามัญ: Quinine

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinchona pubescens Vahl

ชื่อวงศ์:  RUBIACEAE

สกุล:  Cinchona  

สปีชีส์: pubescens

ชื่อพ้อง: 

-Cinchona caloptera Miq.

-Cinchona chomeliana Wedd.

-Cinchona coronulata Miq.

-Cinchona decurrentifolia Pav.

-Cinchona elliptica Wedd.

-Cinchona goudotiana Klotzsch ex Triana

-Cinchona govana Miq.

-Cinchona howardiana Kuntze

-Cinchona lechleriana Schltdl.

-Cinchona lutea Pav.

-Cinchona morado Ruiz

-Cinchona ovata Ruiz & Pav.

-Cinchona palescens Vell.

-Cinchona pelalba Pav. ex DC.

-Cinchona pelletieriana Wedd.

-Cinchona platyphylla Wedd.

-Cinchona pubescens var. cordata DC.

-Cinchona pubescens var. ovata (Ruiz & Pav.) DC.

-Cinchona purpurascens Wedd.

-Cinchona purpurea Vell.

-Cinchona purpurea Ruiz & Pav.

-Cinchona rosulenta Howard ex Wedd.

-Cinchona rotundifolia Pav. ex Lamb.

-Cinchona rubicunda Tafalla ex Wedd.

-Cinchona rufinervis Wedd.

-Cinchona rugosa Pav. ex DC.

-Cinchona subsessilis Miq.

-Cinchona succirubra Pav. ex Klotzsch

-Cinchona tucujensis H.Karst.

-Quinquina obovata (Pav. ex Howard) Kuntze

-Quinquina ovata (Ruiz & Pav.) Kuntze

-Quinquina pubescens (Vahl) Kuntze

-Quinquina succirubra (Pav. ex Klotzsch) Kuntze

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นควินิน เป็นไม้ยืนต้นเขียวตลอดปี มีความสูงของต้นได้ประมาณ 8-30 เมตร ลำต้นตั้งตรงถึง 6 เมตร จึงมีการแตกกิ่งก้าน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ       ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ออกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลมสั้น โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หลังใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีเขียวอ่อนกว่า หรือเป็นสีเขียวอ่อนปนแดงเล็กน้อย มักมีสีแดงและมีขนสั้น ๆ ตามเส้นใบใหญ่ ก้านใบสั้นเป็นสีแดง มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ใบอ่อนเป็นสีแดง


ควินิน thai-herbs.thdata.co | ควินิน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพู กลีบเลี้ยงดอกติดกันเป็นหลอดสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 2.4-3.6 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ตามกลีบดอกมีขนสีขาว ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 5 อัน จะติดกับหลอดกลีบดอก ส่วนก้านเกสรเพศเมียมีอยู่ 1 อัน และยาวพันอยู่ติดกับหลอดดอก ส่วนปลายแยกเป็น 2 แฉก ภายในรังไข่นั้นแบ่งออกเป็น 2 ห้อง-

ผล มีลักษณะเป็นทรงกระสวย รูปกลมรี หรือรูปไข่ยาว มีความยาวประมาณ 2.5-3.2 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมน้ำตาล พอแห้งแล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดประมาณ 25 เมล็ด      

เมล็ด มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ สีน้ำตาลแดง

สภาพนิเวศวิทยา: พบที่ความสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 900-2,700 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เทือกเขาแอนดีสของเอกวาดอร์และเปรู

การกระจายพันธุ์: อินโดนีเซีย อังกฤษ อินเดีย และศรีลังกา

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ก้าน,ใบและเปลือกต้น รสขมจัด สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น (มาลาเรีย) บำรุงน้ำดี แก้ร้อนใน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เปลือกต้น เปลือกราก และเมล็ด จะมีสารอัลคาลอยด์ประมาณ 26 ชนิด เรียกรวม ๆ ว่า Cinchona alkaloids พบสาร Quinine, Cinchonine, Cinchonidine, Quinovinm Quinidine, Quinic acid, Cinchotannic acid เป็นต้น โดยอัลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์สำคัญที่สุดคือ ควินิน (Quinine) รองลงมา ได้แก่ Cinchonine, Cinchonidine, Quinidine ส่วน Tataquin ที่เป็นอัลคาลอยด์รวมจากเปลือกต้นจะประกอบด้วยอัลคาลอยด์ที่ตกผลึกได้ไม่น้อยกว่า 70% และมีควินินไม่น้อยกว่า 20% ในส่วนของใบนั้นจะมีอัลคาลอยด์รวมประมาณ 1%[2],[3]

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์รักษาโรคไข้มาลาเรีย ควินินมีฤทธิ์รักษาโรคไข้มาลาเรียและระงับอาการเจ็บไข้หนาวสั่นได้อย่างรวดเร็ว ในการฆ่าเชื้อมาลาเรียนั้นจะฆ่าได้เฉพาะเชื้อที่อยู่ในเลือดเท่านั้น แต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อมาลาเรียที่อยู่ในตับได้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีฤทธิ์กดกล้ามเนื้อหัวใจ และทำให้กล้ามเนื้อมดลูกสตรีมีครรภ์หดตัว

จากการทดลองไม่ว่าจะกับคนหรือหนู ก็พบว่าควินินมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมาลาเรียได้ดี แต่การรักษาไข้มาลาเรียของควินินนั้น พบว่าการรักษาโรคมาลาเรียที่แสดงอาการวันเว้นวัน จะดีกว่าการรักษาโรคมาลาเรียที่แสดงอาการ 3-4 วันแล้วหายไปแล้วก็กำเริบขึ้นมาใหม่ ถ้าจะใช้รักษาโรคมาลาเรียเพื่อให้หายขาดหรือเพื่อไม่ให้โรคระบาด ควรใช้สารที่สกัดจากเปลือกซึ่งจะมีฤทธิ์มากกว่า

สารอัลคาลอยด์ควินินใช้บำบัดรักษาโรคมาลาเรียที่ปลอดภัยกว่าการใช้ยาสังเคราะห์ไม่เป็นพิษร้ายแรง แต่ถ้าใช้มากเกินขนาดจะทำให้เกิดอาการหูอื้อขั้นร้ายแรงถึงขนาดได้ยินเสียงกระดิ่งแบบประสาทหลอน ซึ่งเรียกอาการนี้ว่า ซิงโคนิซึ่ม (Cinchonism)

-ฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจคลาย จากการทดลองพบว่า สารอัลคาลอยด์ควินิดีน (Quinidine)ในต้นควินิน มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจคลาย

ควินินมีฤทธิ์ในการควบคุมการทำงานของเซลล์ที่กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้การบีบตัวของหัวใจช้าลง และในทางคลินิกนั้น จะใช้ควินินกินเป็นยารักษาอาการหัวใจเต้นผิดปกติ

-ฤทธิ์กระตุ้นให้มดลูกบีบตัว  จากการทดลองกับมดลูกของหนูตั้งครรภ์ พบว่าจะมีฤทธิ์กระตุ้นให้มดลูกของหนูบีบตัวเป็นจังหวะได้มากขึ้น

-ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียน จากการทดลองพบว่า ควินินมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และใช้เป็นยารักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ

-เปลือก นำมาทำเหล้าหรือไวน์ที่มีรสขมได้อีกด้วย เช่น เหล้าเวอร์มุธ

-ชาวอินเดียนบางคนก็ยังใช้ควินินเป็นยาบำรุง ยาทากันแดด และกันแมลงบ้าง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง