Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เทพทาโร (ข่าต้น)

ชื่อท้องถิ่น: พลูต้นขาว (เชียงใหม่)/ เทพทาโร เทพธาโร (ปราจีนบุรี)/ กะเพาะต้น กระเพราต้น พลูต้น (สระบุรี)/ ข่าต้น (กรุงเทพฯ)/ ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ จะไคหอม จะไคต้น จะไค้ต้น (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ)/ จวง จวงหอม ไม้จวง (ภาคใต้)/ มือแดกะมางิง มือแดกะมาริง (มลายู-ปัตตานี)/ เซียงจาง หวางจาง (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. 

ชื่อวงศ์: LAURACEAE

สกุล: Cinnamomum

สปีชีส์: porrectum

ชื่อพ้อง: Cinnamomum parthenoxylon (Jack) Meisn.

ลัษณะทางพฤกษศาสตร์:

เทพทาโร thai-herbs.thdata.co | เทพทาโร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเทพทาโร จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ บางต้นอาจสูงได้ถึง 25 เมตร เนื้อไม้จะฟ่ามเบาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ  เปลือกต้นเมื่อถากออกมาจะมีกลิ่นหอมฉุน ร้อน ๆ คล้ายกลิ่นการบูร


เทพทาโร thai-herbs.thdata.co | เทพทาโร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ ใบเป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ ไม่มีหูใบ โคนสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีเส้นใบคล้ายขนนก เรียงเป็นคู่ประมาณ 6-8 คู่ มีกิ่งขนาดเล็ก


เทพทาโร thai-herbs.thdata.co | เทพทาโร สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก มีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อคล้ายร่ม กลีบดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกนั้นมีลักษณะเป็นรูปไข่ สีขาวอมเขียว ภายในดอกมีขนเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพศผู้ 9 อัน

ผล ผลสดเมล็ดเดียว มีกานดอกที่พองโตขึ้นมาหุ้มตอนโคน ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมไข่กลับสีดำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ตรงขั้วเมล็ดจะมีสีแดง รูปเป็นแบบลูกกลมสามเหลี่ยม

สภาพนิเวศวิทยา: มักพบบนเขาในป่าดงดิบ

ถิ่นกำเนิด: มาเลเซีย แถบทะเลอันดามัน มัทราช และอ่าวเบงกอล

การกระจายพันธุ์: แถบเอเชียเขตร้อน นับตั้งแต่ทิวเขาตะนาวศรีในพม่า ไทย มลายู จนถึงแถบคาบสมุทรอินโดจีนและสุมาตรา

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสร้อน สรรพคุณ แก้ลมจุกเสียด แน่น เฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ขับผายลม บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ และกระเพาะอาหาร

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดตรีสุรผล ได้แก่ โสมุลแว้ง เนื้อไม้ เทพธาโร มีสรรพคุณแก้ลมสัมปะชวน บำรุงโลหิต แก้ลมสลบ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ พบน้ำมันระเหย 6-3.3% มีส่วนประกอบเช่น การบูร น้ำมันเขียว น้ำมันไพล น้ำมันสน เป็นต้น

-เมล็ด กิ่ง เปลือกต้น และราก พบน้ำมันระเหยประมาณ 2-4% ในน้ำมันระเหยพบ Safrale 60-95%, Eugenol (น้ำมันกานพลู), Cinnamic Aldehyde และ B-pinene Phellandrene

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ใบและราก ใช้เป็นเครื่องเทศ 

-ใบอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก 

-เนื้อไม้หรือยอดอ่อน ตากแห้งชงเป็นชาดื่มบำรุงร่างกาย 

-เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นไม้ตีพริก เพื่อทำให้พริกมีกลิ่นหอม

-ใบ ผล เนื้อไม้ และรากเทพทาโรให้น้ำมันหอมระเหย ใช้ทาถูนวดแก้ปวดรูมาติซึ่ม เปลือกเป็นยาบำรุงธาตุอย่างดี เป็นยาบำรุงโลหิตสำหรับสุภาพสตรีที่มีรอบเดือนไม่ปกติ ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ 

-เนื้อไม้ ใช้ในงานแกะสลัก ทำเตียงนอน ตู้ และหีบใส่เสื้อผ้าี่กันมอดและแมลงอื่น ๆ ได้ ทำเครื่องเรือนและไม้บุผนัง ทำแจว พาย กรรเชียง กระเบื้องไม้ และใช้เป็นสมุนไพรแก้ท้องร่วง ท้องเฟ้อ อาเจียน โรคบิด เป็นลม แน่นจุกเสียดหน้าอก หอบหืด หวัด และป้องกันยุง ไล่มด ปลวก มอด และแมลงอื่นๆ 

-น้ำจากผล ใช้ทานวดแก้ปวดเมื่อยเคล็ดขัดยอก แก้ผื่นบวม แก้แมลงสัตว์กัดต่อย ทาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลอักเสบ ทาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ทาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในหู แก้ปวดฟัน 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง