Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ชะลูดขาว

ชื่อท้องถิ่น: ลูด (ปัตตานี)/ ชะนูด (สุราษฎร์ธานี)/ ขี้ตุ่น ช้างตุ่น ต้นธูป (ภาคอีสาน)/ ชะลูด (ตราด, ภาคกลาง)/ นูด (ภาคใต้)/ ชะรูด (ไทย)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Alyxia reinwardtii Blume

ชื่อวงศ์: APOCYNACEAE

สกุล: Alyxia 

สปีชีส์: reinwardtii

ชื่อพ้อง: 

-Alyxia aromatica Reinw. ex A.DC.

-Alyxia calcicola Markgr.

-Alyxia cinerea Bakh.f.

-Alyxia flavescens Pierre ex Pit.

-Alyxia forbesii King & Gamble

-Alyxia kerrii D.J.Middleton

-Alyxia kurzii Burkill

-Alyxia lucida Wall.

-Alyxia nitens Kerr

-Alyxia odorata Wall. ex G.Don

-Alyxia pisiformis Pierre ex Pit.

-Alyxia pumila Hook.f.

-Alyxia quinata Miq.

-Alyxia reinwardtii var. cinerea (Bakh.f.) Markgr.

-Alyxia reinwardtii var. insularis Markgr.

-Alyxia reinwardtii var. lucida (Wall.) Markgr.

-Alyxia reinwardtii var. meiantha (Stapf) Markgr.

-Alyxia reinwardtii var. obovatula Markgr.

-Alyxia reinwardtii var. pumila (Hook.f.) Markgr.

-Alyxia winckelii Bakh.f.

-Gynopogon breviflorus Kurz

-Gynopogon flavescens Pierre

-Gynopogon pisiformis Pierre

-Gynopogon pumilus (Hook.f.) K.Schum.

-Gynopogon reinwardtii (Blume) Koord.

Pulassarium breviflorum (Kurz) Kuntze

-Pulassarium flavescens Pierre

-Pulassarium odoratum (Wall. ex G.Don) Kuntze

-Pulassarium pisiforme Pierre

-Pulassarium pumilum (Hook.f.) Kuntze

-Pulassarium quinatum (Miq.) Kuntze

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ชะลูดขาว thai-herbs.thdata.co | ชะลูดขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชะลูดขาว thai-herbs.thdata.co | ชะลูดขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นชะลูด เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นเกลี้ยง เปลือกต้นเป็นสีดำ ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นกระจัดกระจายอยู่ในป่าดิบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และทางภาคใต้


ชะลูดขาว thai-herbs.thdata.co | ชะลูดขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว จะออกรอบข้อ ข้อละ 3 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเป็นครีบ ส่วนขอบใบม้วนลง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 3.5-9 เซนติเมตร แผ่นใบด้านบนเป็นมัน เนื้อใบหนาและแข็ง มีก้านใบยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร


ชะลูดขาว thai-herbs.thdata.co | ชะลูดขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อละประมาณ 4-10 ดอก ดอกมีกลิ่นหอม (ดอกจะเริ่มหอมตอนพลบค่ำ และจะเริ่มหอมแรงในตอนกลางคืน) เป็นสีเหลือง ดอกมีใบประดับที่มีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบประดับจะแหลม มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนกลีบรองกลีบดอกจะมีอยู่ประมาณ 5 กลีบ เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร โคนกลีบติดกันเป็นท่อยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ส่วนตรงคอท่อจะแคบและมีขน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน โดยจะติดอยู่ภายในใกล้กับปากท่อดอก ก้านเกสรมีขนาดสั้นมาก ส่วนท่อเกสรเพศเมียจะมีลักษณะยาวเรียว ส่วนรังไข่นั้นจะมีอยู่ 2 ช่อง โดยจะแยกออกจากกัน


ชะลูดขาว thai-herbs.thdata.co | ชะลูดขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย ชะลูดขาว thai-herbs.thdata.co | ชะลูดขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อผลแห้งจะแข็ง

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: จีน (ยูนนานใต้) ถึงฟิลิปปินส์ (ปาลาวัน) และหมู่เกาะซุนดา (บาหลี)

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, บังกลาเทศ, บอร์เนียว, กัมพูชา, จีนตอนใต้-กลาง, จาวา, ลาว, เกาะซุนดา, มาลายา, เมียนมาร์, เกาะนิโคบาร์, ฟิลิปปินส์, สุมาเตรา, ไทย, เวียดนาม


ชะลูดขาว thai-herbs.thdata.co | ชะลูดขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกเถา รสหอมเย็น สรรพคุณ ขับผายลม แก้ปวดในท้อง

*ใบ ลูก รสร้อนหอมสุขุม สรรพคุณ แก้ไข้ร้อนใน กระสับกระส่าย สะอึก แก้ดีพิการ แก้คุดทะราด

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้ชะลูด ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมทิพโอสถ” มีส่วนประกอบของชะลูดร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน ตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” มีส่วนประกอบของชะลูดร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย (อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม) ใจสั่น และบารุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของชะลูดร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด และอ่อนเพลีย) ตำรับ “ยาหอมแก้ลมวิงเวียน” มีส่วนประกอบของชะลูดร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ  ตำรับ “ยาหอมอินทจักร์” มีส่วนประกอบของชะลูดร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด

2.ยาบำรุงโลหิต ปรากฏตำรับ “ยาบำรุงโลหิต” มีส่วนประกอบของชะลูดร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บำรุงโลหิต

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เปลือกต้น พบสาร alyxialactone, coumarin, irridoid glycoside, saponin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ มีการศึกษาในลำไส้เล็กหนูตะเภา พบว่า coumarinที่สกัดได้จากเปลือกต้นชะลูดสามารถยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้เล็กกระต่าย ทั้งที่เกิดขึ้นเองและที่เกิดจากการกระตุ้นด้วย acetylcholine, 5-hydroxytrypatamine,histamine และ barium chloride และสารคูมาริน ดังกล่าวยังทั้งคู่ลดการหดเกร็งของหลอดเลือดแดงใหญ่หนูขาว ทั้งที่มีเยื่อบุและไม่มีเยื่อบุหลอดเลือด เมื่อกระตุ้นการหดเกร็งด้วยphenylelphrine และเมื่อกล้ามเนื้อหลอดเลือดถูก depolarized ด้วยสารละลายที่มี potassium ion ความข้มเข้นสูง พบว่าสารดังกล่าว แสดงผลยับยั้งการหดเกร็งที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยcalcium chloride โดยยับยั้งแบบ non-competitive antagonistคำนวณค่า PD2 ได้ 2.42

-ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น มีการทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในพืชสมุนไพรไทยโดยทดสอบกับ2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่มีความเสถียร พบว่าสารสกัดไดคลอโรมีเทนและสารสกัดเอธิลอะซิเตตของลำต้นชะลูด (I Alyxia reinwardtii i)ให้ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันที่ดี จากนั้นจึงนำส่วนของสิ่งสกัดเหล่านี้มาศึกษา พบว่าสามารถแยกสารได้ 8 ชนิดได้แก่ coumarin (1), 3-hydroxycoumarin (2), 6-hydroxycoumarin(3), 8-hydroxycoumarin (4), scopoletin (5), (+)-pinoresinol (6), zhebeiresinol(7) และ ip-hydroxybenzoic acid (8) จากนั้นหาสูตรโครงสร้างของสารทั้งหมด โดยใช้วิธีทางสเปกโทรสโคปีและเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้มีรายงานไว้แล้ว ในส่วนของสาร 7 ได้ยืนยันสูตรโครงสร้างด้วย X-ray crystallography สำหรับการทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสารบริสุทธิ์ที่แยกได้ มีวิธีการทดสอบทั้งหมด 3 วิธี คือ วิธีทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPHวิธีทดสอบฤทธิ์เกี่ยวเนื่องกับเอนไซม์ (xanthine oxidase) และวิธีการทดสอบการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันในไขมัน จากผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH พบว่าสาร 7 (IC(,50) =0.19 mM) แสดงฤทธิ์สูงสุด ตามด้วยสาร 6 (IC(,50) = 0.31 mM) สาร 2 (IC(,50 = 0.61 mM)สาร 5 (IC(,50) = 3.17 mM) และสาร 4 (IC(,50) = 71.05 mM) ในขณะที่สาร 1, 3 และ 8แสดงฤทธิ์ที่ต่ำ (IC(,50) > 100 mM) ส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ superoxide พบว่าสาร 2(IC(,50) = 4.55 mM) สาร 6 (IC(,50) = 4.51 mM) และสาร 7 (IC(,50) = 3.38 mM)แสดงฤทธิ์ที่ดี ในขณะที่สาร 1 และ 8 ไม่แสดงฤทธิ์ (IC(,50) > 100 mM) อย่างไรก็ตามสารทั้งหมดไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ xanthine oxidase จากผลการทดสอบการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันในไขมัน พบว่าสาร 6 และ 7 แสดงฤทธิ์ที่สูง (IC(,50) = 3.31 และ 2.08 mMตามลำดับ) ขณะที่สาร 1, 2, 3, และ 4 แสดงฤทธิ์ปานกลางโดยมี IC(,50) = 67.64, 69.07,67.45, และ 58.13 mM ตามลำดับ

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-การศึกษาทางพิษวิทยา ด้วยการนำมาทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากเปลือกชะลูดด้วยเอทานอล 50% โดยนำมาให้หนูทดลองกินและให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 1,613 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ

การใช้ประโยชน์:

ชะลูดขาว thai-herbs.thdata.co | ชะลูดขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-เปลือกต้น นำมาใช้ทำเครื่องหอมและใช้เป็นยาสมุนไพร

-เปลือกชั้นใน นำมาใช้ปรุงแต่งผ้าให้มีกลิ่นหอม ใช้ปรุงแต่งกลิ่นใบยาสูบหรือใช้อบเสื้อผ้า หรือนำมาใช้ทำเป็นเครื่องหอมอื่น ๆ เช่น ธูปหอม น้ำอบ น้ำปรุง เป็นต้น

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับซุ้มได้ เพราะดอกมีกลิ่นหอมชื่นใจ เหมาะนำมาปลูกในที่ร่มรำไรหรือกลางแจ้ง แต่ต้องมีต้นไม้อื่นหรือเสาให้เลื้อยเกา




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง