Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักเสี้ยนไทย

ชื่อท้องถิ่น: ผักเสี้ยนขาว ผักเสี้ยนไทย ผักเสี้ยนบ้าน ผักเสี้ยนตัวผู้ (ภาคกลาง)/ ส้มเสี้ยน ผักส้มเสี้ยน (ภาคเหนือ) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Wild spider flower, Spider weed, Spider Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cleome gynandra L.

ชื่อวงศ์: CLEOMACEAE

สกุล: Cleome 

สปีชีส์: gynandra

ชื่อพ้อง: 

-Cleome acuta Schumach. & Thonn.

-Cleome affinis (Blume) Spreng.

-Cleome alliacea Blanco

-Cleome alliodora Blanco

-Cleome blumeana D.Dietr.

-Cleome bungei Steud.

-Cleome candelabrum Sims

-Cleome denticulata Schult. & Schult.f.

-Cleome eckloniana Schrad.

-Cleome heterotricha Burch.

-Cleome muricata (Schrad.) Schult. & Schult.f.

-Cleome oleracea Welw.

-Cleome pentaphylla L.

-Cleome pentaphylla var. glabra Kuntze

-Cleome pubescens Sieber ex Steud.

-Cleome rosea Eckl. ex Steud.

-Cleome sessilifolia (DC.) Schult. & Schult.f.

-Cleome triphylla L.

-Gynandropsis affinis Blume

-Gynandropsis candelabrum (Sims) Sweet

-Gynandropsis denticulata DC.

-Gynandropsis glandulosa C.Presl

-Gynandropsis gynandra (L.) Briq.

-Gynandropsis heterotricha DC.

-Gynandropsis muricata Schrad.

-Gynandropsis ophitocarpa DC.

-Gynandropsis palmipes DC.

-Gynandropsis pentaphylla (L.) DC.

-Gynandropsis sessilifolia DC.

-Gynandropsis sinica Miq.

-Gynandropsis triphylla DC.

-Gynandropsis viscida Bunge

-Pedicellaria gynandra (L.) Chiov.

-Pedicellaria pentaphylla (L.) Schrank

-Podogyne pentaphylla (L.) Hoffmanns.

-Sinapistrum pentaphyllum Medik.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักเสี้ยนไทย thai-herbs.thdata.co | ผักเสี้ยนไทย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักเสี้ยน เป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่าง ๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก 


ผักเสี้ยนไทย thai-herbs.thdata.co | ผักเสี้ยนไทย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบ มี 3-5 ใบย่อย ก้านใบมีความยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กลับหรือรูปใบหอกกลับ ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนเรียวสอบ ส่วนขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยละเอียด และมีใบประดับจำนวนมาก ใบย่อยมี 3 ใบ ยาวประมาณ 0.5-2.5 เซนติเมตร ก้านสั้น


ผักเสี้ยนไทย thai-herbs.thdata.co | ผักเสี้ยนไทย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 5-2 เซนติเมตร ขยายอีกในช่อผล มีดอกจำนวนมาก ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปใบหอก ยาวได้ประมาณ 7 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้ 6 อันติดบนก้านชูเกสรร่วมที่ยาวประมาณ 0.8-2.3 เซนติเมตร ก้านมีเกสรสีม่วง ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร อับเรณูมีสีเขียวอมน้ำตาล ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร ก้านรังไข่สั้น ยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ยื่นยาว 1-1.4 เซนติเมตร ในผล รังไข่เป็นรูปทรงกระบอกสั้น ๆ ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ก้านเกสรตัวเมียสั้น ยอดเกสรเป็นตุ่มและติดทน


ผักเสี้ยนไทย thai-herbs.thdata.co | ผักเสี้ยนไทย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นฝักยาวคล้ายถั่วเขียว ฝักมีสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ฝักยาวประมาณ 4-9.5 เซนติเมตร ด้านในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีสีน้ำตาลแดงปนสีดำ ผิวเมล็ดมีรอยย่น ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร

ถิ่นกำเนิด: โลกเก่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

ผักเสี้ยนไทย thai-herbs.thdata.co | ผักเสี้ยนไทย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น รสชื่นร้อนฉุน สรรพคุณ ขับโลหิตระดูที่เน่าเสีย

*เมล็ด รสเมา สรรพคุณ ขับไส้เดือนในท้อง

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคเลือดออกตามไรฟัน  รากใช้ต้มรับประทานเป็นยารักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน 

-โรคฝี ยาพอกฝี ใช้ทั้งต้นหรือใบตำพอกรักษาฝี แก้พิษฝี และบรรเทาอาการระคายเคือง

-อาการพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แมงป่องกัด หรืองูกัด ช้ทั้งต้นหรือใบตำพอกแต่ไม่ควรพอกนานเพราะจะทำให้ผิวไหม้ได้

-ใบอ่อน ยอด นิยมใช้ทำเป็นผักดองไว้รับประทาน สำหรับวิธีการทำผักเสี้ยนดองก็คือ ให้นำผักเสี้ยนมาหั่นให้มีขนาดพอเหมาะ แล้วนำไปตากแดดพอหมาด เพื่อกำจัดกลิ่นเหม็นเขียว หลังจากนั้นให้นำข้าวเย็นสุก 1 กำมือต่อผักเสี้ยน 5 ถ้วยแกง นำมาขยำกับเกลือให้มีรสเค็มเล็กน้อย เมื่อเสร็จให้นำผักเสี้ยนที่เตรียมไว้ใส่ลงไป แล้วเติมน้ำตาลโตนด 5 ช้อนแกง คลุกเคล้าจนเข้ากัน และปิดฝาภาชนะตั้งทิ้งไว้ประมาณ 3-4 คืน ผักที่ดองจะมีรสเปรี้ยว สามารถนำมารับประทานเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปแกงใส่กระดูกหมู แกงส้มกุ้งหรือปลา เป็นต้น

-ในอินเดียมีการใช้เมล็ดผักเสี้ยนผีนำมาสกัดทำเป็นยาฆ่าแมลง

-ในแอฟริกามีการใช้ยอดและใบอ่อนผักเสี้ยน นำมาใช้ปรุงรสและแต่งกลิ่นซอส

-ในอินโดนีเซียใช้เมล็ดเป็นอาหาร และใบใช้เป็นอาหารสัตว์สำหรับเลี้ยงสัตว์



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง