Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: พุงดอ

ชื่อท้องถิ่น: พุงดอ (ภาคกลาง)/ ขี้แฮด (ภาคเหนือ)/ ปี๊ดเต๊าะ (ภาคเหนือ) 

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Azima sarmentosa (Blume) Benth. & Hook. f.

ชื่อวงศ์: SALVADORACEAE

สกุล: Azima 

สปีชีส์: sarmentosa 

ชื่อพ้อง: 

-Actegeton sarmentosum Blume

-Azima nova Blanco

-Azima scandens Baill.

-Monetia brunoniana Wall.

-Monetia laxa Planch.

-Monetia sarmentosa Baill.

-Salvadora madurensis Decne.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นพุงดอ เป็นไม้พุ่ม หรือไม้ต้น แต่บางครั้งก็พบเป็นไม้เถา ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-8 เมตร กิ่งอ่อนจะเป็นสีเทา หรือเป็นสีน้ำตาลลำต้น แตกกิ่งก้านมากห้อยลู่ลงปลายกิ่งสัมผัสพื้นดิน มีหนามแหลมตามซอกใบ 1- 2 อัน หูใบ 2 อัน รูปลิ่มแคบขนาดเล็ก


พุงดอ thai-herbs.thdata.co | พุงดอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ตรงปลายใบแหลมจะเป็นติ่ง เส้นใบจะเป็นสีน้ำตาล หรือสีเหลือง ใบจะมีความกว้างประมาณ 3-4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-9 ซนติเมตร  ส่วนก้านใบจะมีความยาวประมาณ 0.5-1.3 ซนติเมตร

ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบ หรือปลายกิ่ง ยาวได้ประมาณ 25 ซนติเมตร ดอกสีเหลืองอมเขียวกลีบเลี้ยงรูประฆัง กลีบดอก 4 กลีบ อับละอองเรณู 4 อัน ดอกเพศผู้เกือบไร้ก้าน ออกหนาแน่น กลีบเลี้ยงแฉกลึก กลีบดอกยาวกว่าเล็กน้อย เกสรเพศผู้ยื่นเลยกลีบดอก ดอกเพศเมียเล็กกว่าดอกเพศผู้เล็กน้อย แต่ก้านดอกยาวได้ประมาณ 0.8 ซม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันสั้นกว่ากลีบดอก


พุงดอ thai-herbs.thdata.co | พุงดอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ผลกลมสีขาว ลักษณะฉ่ำน้ำ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่ถึงสุก สีขาวขุ่นเกือบใส เป็นพวงเรียงลงมา  หนึ่งช่อมี  7-8 ผล เมล็ดมี 1-3 เมล็ด ใน 1 ผล เป็นรูปทรงกลม แข็ง 

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามที่โล่งชายป่าชายเล็น และป่าชายหาด บางครั้งพบในป่าเต็งรังผสมสน จนถึงระดับความสูง 800 เมตร

ถิ่นกำเนิด: อินโดจีนถึงตอนใต้ของไห่หนาน และ เกาะนิวกินี

การกระจายพันธุ์: กัมพูชา, ไหหลำ, จาวา, ลาว, ซุนดาน้อย, เมียนมาร์, นิวกินี, ฟิลิปปินส์, สุลาเวสี, ไทย, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเปรี้ยวเย็น สรรพคุณ แก้พิษฝีตานซาง ดับพิษทั้งปวง ทำให้นอนหลับ กระทุ้งพิษแก้ร้อนใน แก้ไข้ แก้ประดง ผื่นคัน ฝนกับน้ำสุกหรือปูนใส ทาแก้อัณฑะบวม

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ใบอ่อน, ยอดอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกงอ่อมหนามพุงดอปูทะเลไข่ ต้มยำกะทิกุ้งสดหรือปลาสดหนามพุงดอ หรือจะยำหนามพุงดอสดๆ ดิบๆ








ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง