Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะงั่ว

ชื่อท้องถิ่น: มะนาวควาย (ยะลา, ปัตตานี/) มะโว่ยาว ส้มโอมะละกอ(เชียงใหม่)/ ส้มมะงั่ว(ภาคกลาง)

ชื่อสามัญ: Citron

ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrus medica L. var. medica

ชื่อวงศ์: RUTACEAE

สกุล: Citrus 

สปีชีส์: medica

ชื่อพ้อง: 

-Citrus acida Pers.

-Citrus alata (Yu.Tanaka) Yu.Tanaka

-Citrus balotina Poit. & Turpin

-Citrus bicolor Poit. & Turpin

-Citrus bigena Poit. & Turpin

-Citrus cedra Link

-Citrus cedrata Raf.

-Citrus crassa Hassk.

-Citrus fragrans Salisb.

-Citrus gaoganensis Hayata

-Citrus gongra Raf.

-Citrus grandis var. pyriformis (Hassk.) Karaya

-Citrus hassaku Yu.Tanaka

-Citrus hiroshimana Yu.Tanaka

-Citrus kizu Yu.Tanaka

-Citrus kwangsiensis Hu

-Citrus limonimedica Lush.

-Citrus lumia Risso

-Citrus medica var. alata Yu.Tanaka

-Citrus medica subf. aurea (Yu.Tanaka) M.Hiroe

-Citrus medica subf. dulcis (Risso & Poit.) M.Hiroe

-Citrus medica subf. hassaku (Tanaka) M.Hiroe

-Citrus medica subf. hiroshimana (Tanaka) M.Hiroe

-Citrus medica subf. kizu (Tanaka) M.Hiroe

-Citrus medica var. nana Wester

-Citrus medica var. odorata Wester

-Citrus medica subf. pyriformis (Hassk.) M.Hiroe

-Citrus medica f. sudachi (Shirai) M.Hiroe

-Citrus medica var. yunnanensis S.Q.Ding ex C.C.Huang

-Citrus nana (Wester) Yu.Tanaka

-Citrus odorata (Wester) Tanaka

-Citrus pyriformis Hassk.

-Citrus sarcodactylis Hoola van Nooten

-Citrus tuberosa Mill.

-Limon racemosum Mill.

-Limon spinosum Mill.

-Limon vulgare Mill.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะงั่ว thai-herbs.thdata.co | มะงั่ว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะงั่ว เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 3 เมตร เปลือกต้นมีสีเทาอมขาว เมื่อต้นยังอ่อนอยู่กิ่งก้านจะเป็นเหลี่ยม  

ใบ เป็นใบประกอบแบบลดรูปเหลือใบเดียว เรียงสลับกัน มีใบย่อยขนาด 12.5-15 ซม. เป็นรูปรีแกมรูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก ด้านบนใบจะมีสีเข้มกว่าด้านล่าง ปลายใบมน ส่วนโคนใบจะกลมหรือเป็นรูปลิ่ม ขอบใบจักแบบฟันเลื่อย หรือหยักมน มีก้านใบสั้นมาก ไม่มีปีก ยอดอ่อนมีสีม่วง มีหนามแหลม ใบแก่สีเขียวผิวมัน มีต่อมน้ำมันหอมระเหย

ดอกออกตามซอกใบเป็นช่อสั้นๆ มีดอกย่อยที่ช่อดอกประมาณ 3-10 ดอก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีความคงทน มีกลีบดอก 5 กลีบ ด้านนอกจะเป็นสีชมพูหรือม่วง หลุดร่วงได้ง่าย มีเกสรตัวผู้ 20-40 อัน มีความยาวเสมอๆ กันกับกลีบดอก รังไข่มี 10 ช่อง เป็นชนิดอยู่สูง 


มะงั่ว thai-herbs.thdata.co | มะงั่ว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย มะงั่ว thai-herbs.thdata.co | มะงั่ว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลแบบส้ม รูปไข่ถึงรูปขอบขนาน มีผิวขรุขระ มีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม เปลือกหนา เนื้อในมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: หิมาลัยตอนกลาง-ตะวันตกไปจนถึงเมียนมาร์

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บังกลาเทศ, หิมาลายาตะวันออก, พม่า, เนปาล, หิมาลัยตะวันตก, อลาบามา, แอลจีเรีย, เกาะอันดามัน, เบนิน, เกาะบอร์เนียว, เกาะแคนารี, จีนตอนกลางตอนใต้, จีนตะวันออกเฉียงใต้, คิวบา, สาธารณรัฐโดมินิกัน, เอกวาดอร์, ฟิจิ, เฮติ, อินเดีย, จาไมก้า, ลาว, เกาะลีวาร์ด, มาเดรา, มอริเตเนีย, เม็กซิโกกลาง, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้, โมร็อกโก, นิโคบาร์อิส, โอมาน, เปรู, เปอร์โตริโก, เกาะโซไซตี้, ศรีลังกา, ทิเบต, ตรินิแดด-โตเบโก, ตูนิเซีย, ไทย, เวียดนาม

มะงั่ว thai-herbs.thdata.co | มะงั่ว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสปร่าจืด สรรพคุณ กระทุ้งพิษ แก้ผิดสำแดง แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะเป็นโทษ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-เปลือกผล (ผิวลูก) นำผิวมาเชื่อม เเช่อิ่ม ทำขนมหวาน เค้ก หรือใช้ทำน้ำหอม 

-เปลือกผล (ผิวลูก) มีน้ำมันมากเรียกน้ำมันผิวมะงั่ว น้ำมะงั่วรสเปรี้ยว ใช้แก้ไอ ใช้เป็นน้ำกระสายยา

-ในจีนใช้รากต้มน้ำรักษาอาการผิดปกติของระบบหายใจและปวดหลัง 





ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง