Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ส้มจีน (ส้มเกลี้ยง)

ชื่อท้องถิ่น: มะเกลี้ยง, มะขุน, ส้มตรา, ส้มจีน, น้ำผึ้ง, หมากหวาน, เช้ง, เซซุยเญอ, เซาะกา, ลีมาก, ลีแย, ลีมามานิห์

ชื่อสามัญ: Sweet orange, Bigarade, Bilti oranges, Orange, Sevile orange, Sour orange, Surect orange

ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrus sinensis (L.) Osbeck

ชื่อวงศ์: RUTACEAE

สกุล: Citrus 

สปีชีส์: sinensis

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ส้มจีน thai-herbs.thdata.co | ส้มจีน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นส้มจีน เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 5-7 เมตร ทรงต้นค่อนข้างทึบ แผ่กว้าง ลำต้นและกิ่งก้านแข็งแรง ส่วนมากจะมีหนามตามลำต้น เป็นหนามแข็งขนาดใหญ่ ยิ่งต้นที่เกิดจากเมล็ดจะยิ่งมีหนามมากและยาวเรียวแหลม

ใบ  เป็นใบประกอบมีใบย่อยใบเดียว ออกเรียงสลับ ใบอ่อนเป็นเหลี่ยมและมีหนามแหลมที่ซอกใบ ใบแก่ลักษณะเป็นรูปวงรีถึงรูปไข่ ปลายใบแหลมมน บางครั้งเว้าตื้นเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นถึงหยักมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 นิ้วฟุต และยาวประมาณ 2-3 นิ้วฟุต สีของใบด้านหลังใบจะเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบจะเป็นสีเขียวอ่อน ก้านใบสั้น แผ่เป็นครีบ มีหูใบเล็กเรียวแทบมองไม่เห็น


ส้มจีน thai-herbs.thdata.co | ส้มจีน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจะตามซอกใบ ดอกย่อยดอกเดียวถึงหลายดอก ประมาณ 10-20 ดอก เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีขนาดปานกลาง เมื่อดอกดอกบานจะมีกลิ่นหอมมาก กลีบดอกเป็นสีขาว มีประมาณ 4-5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 20-25 อัน


ส้มจีน thai-herbs.thdata.co | ส้มจีน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมถึงกลมแป้น ผลอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมเขียวถึงส้มสด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร ผิวผลมีตุ่มน้ำมันเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบผล เปลือกผลมีความหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร ลักษณะค่อนข้างแข็ง ภายในผลแบ่งเป็นช่องประมาณ 12 ช่อง อัดกันแน่นด้วยเนื้อผล มีลักษณะเรียวยาว สีเหลือง ภายในมีน้ำรสหวานอมเปรี้ยว ตรงกลางมีแกนแข็งสีขาว เปลือกด้านในเป็นสีขาว ภายในมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปลิ่ม เมล็ดย่น สีขาว เมล็ดค่อนข้างแบน

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ตอนใต้ของประเทศจีน

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอน การติดตา และต่อกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกลูก รสร้อนหอม สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้ส้มจีน ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” มีส่วนประกอบของส้มจีนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย (อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม) ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น

2.ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจปรากฏตำรับ “ยาแก้ไอผสมกานพลู” มีส่วนประกอบของส้มจีนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ “ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม” มีส่วนประกอบของส้มจีนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เนื้อผล สารสำคัญที่พบ ได้แก่ abscisic acid, acetaldehyde, acrimarin G, amyrin, aniline, apigenin, anthanilic acid, aurapten, bergamoltin, bergapten, bisabolene, braylin, cadinene, caffeic acid, camphene, campesterol, β-carotene, carvone, cirantin, citbismine, flavones, eriocitrin, glucoside, pectin, piperitone, poncirin, quercetin, linalool, nexanthin B, scoppsrone, sitosterol, stigmasterol, vicenin

-เปลือกผล สกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธีบีบเย็น จะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 0.3-0.5 การสกัดด้วยน้ำมีน้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.8 มีองค์ประกอบคือ limonene (95.37%), myrcene (2.08%), linalool (0.25%), alpha-pinene, citronellal, decanal, geraniol, octanal, neral, sabinene

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด เมื่อปี ค.ศ.2000 ที่ประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาทดลองผลของส้มเกลี้ยงในการลดไขมันในเลือด และได้พบว่ามีสาร casein ในส้มเกลี้ยง และได้ทำการทดลองในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงและมีไขมันในตับจำนวน 14 ราย โดยพบว่ามีสาร Limonoid aglycons, glycoside และ Limonoid glucoside ในส้มเกลี้ยง ภายหลังการทดลองพบว่าผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดลง

-เมื่อปี ค.ศ.2004 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีทฤษฎีที่ว่าการมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง จะทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจล้มเหลว ดังนั้นจึงได้มีการค้นคว้าทดลองหาสารที่จะมาช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งมีสาร Phytosterol ที่มีผลลดระดับคอเลสเตอรอล โดยทำการทดลองกับผู้ป่วยที่ระดับไขมันในเลือดสูงจำนวน 72 ราย และให้ดื่มน้ำส้มเกลี้ยง ขนาด 2 gm. เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 2 ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และหลัง 8 สัปดาห์ ระดับคอเลสเตอรอลลดลง 7.2%, LDL-C ลดลง 12.4%, HDL0C เพิ่มขึ้น 7.8% และพบว่าสาร Folate Vit B12 เพิ่มระดับขึ้น ในขณะที่สาร homocysteine ไม่มีการเปลี่ยน

-เมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศจีน ได้ทำการทดลองใช้สมุนไพรหลายตัวซึ่งมีสารสกัดจากส้มเกลี้ยงผสมอยู่ โดยใส่สารแต่ละชนิด 1-5 gm. พบสาร peoniflorin 15-40%, flavonoid 15-40% ในสมุนไพร นำมาทดลองกับหนู ภายหลังการทดลองพบว่าระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง

-เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศไนจีเรีย ได้นำส้มเกลี้ยงมาศึกษาทดลองผลในการลดน้ำหนัก โดยทำการทดลองในหนูขาว (albino rat) โดยใช้สารสกัดจากส้มเกลี้ยงในขนาด 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยหนูทดลองถูกแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 ให้อาหารที่มีไขมันสูง นาน 7 วัน ก่อนจะให้อาหารเป็นสารสกัดจากส้มเกลี้ยง, กลุ่มที่ 2 ให้มะนาว (Lemon), กลุ่มที่ 3 ให้มะนาวฝรั่ง (Lime), กลุ่มที่ 4 ให้ tangerine, กลุ่มที่ 5 ให้องุ่น (grape) ในขนาด 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นาน 14 วัน, กลุ่มที่ 6 เป็นกลุ่มที่ให้สารรวมทุกชนิด, กลุ่มที่ 7 เป็นกลุ่ม positive control ให้แต่อาหารไขมันสูง, และกลุ่มที่ 8 เป็นกลุ่ม negative control ให้สารอาหารปกติธรรมดา ซึ่งจากการทดลองผลนาน 7-14 วัน พบว่าสารสกัดทั้งหมด มีสาร flavonoid และ alkaloid เป็นส่วนสำคัญ ส่วนองุ่นมีสาร saponin ภายหลังการทดลองพบว่าหนูในกลุ่มที่ 1-5 มีระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ลดลง

-ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อปี ค.ศ.1924 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการทดสอบผลไม้ เช่น ส้ม, มะนาว, องุ่น ว่ามีผลเป็น insulin-like substanees หรือไม่ ภายหลังการทดลองพบว่าส้มเกลี้ยงมีไฟเบอร์และ Pectin มาก จึงทำให้มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

-เมื่อปี ค.ศ.1989 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากผลส้มเกลี้ยงกับหนูขาวทดลอง ผลการทดลองพบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

-เมื่อปี ค.ศ.1994 มีการทดลองที่พบว่าไฟเบอร์ในผลส้มเกลี้ยงสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้จริง

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-จากการทดสอบความเป็นพิษ สารสกัดจากผลเมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำของหนูถีบจักรทดลอง พบว่าในขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง คือ 71.8 กรัมต่อกิโลกรัม

การใช้ประโยชน์:

-โรคลักปิดลักเปิด( เลือดอกตามไรฟัน) เนื่องจากผลส้มจีนมีวิตมินซีสูง

-ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากส้มเกลี้ยงมีไฟเบอร์และมีสาร pectin สูง ซึ่งเป็นตัวช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหาร จึงทำให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ 

-ส้มจีน (ส้มเกลี้ยง) เป็นผลไม้ที่มีรสชาติดีและมีกลิ่นหอม นิยมนำมารับประทานสด ๆ หรือทำน้ำส้มคั้น หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ส้มเกลี้ยงแก้ว เป็นต้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง