Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักปอดตัวเมีย

ชื่อท้องถิ่น: ผักปอดนา ผักปุ่มปลา (ไทย) ผักกุ่มป๋า ผักจุ๋มป๋า ผักกาดนา (เชียงใหม่) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Sphenoclea zeylanica Gaertn.

ชื่อวงศ์:  SPHENOCLEACEAE

สกุล: Sphenoclea 

สปีชีส์: zeylanica

ชื่อพ้อง: 

-Gaertnera pangati Retz. 

-Gaertnera pongatii Retz. 

-Pongatium indicum Lam. 

-Pongatium spongiosum Blanco 

-Pongatium zeylanicum Kuntze 

-Rapinia herbacea Lour. 

-Reichelia palustris Blanco 

-Sphenoclea pongatia A. DC.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักปอดตัวเมีย thai-herbs.thdata.co | ผักปอดตัวเมีย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักปอดตัวเมีย เป็นไม่้ล้มลุกขึ้นในน้ำ อายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรงอวบน้ำ  สูงประมาณ 20-70 เซนติเมตร แตกกิ่งแขนงจำนวนมาก ภายในมีช่องอากาศอยู่โดยรอบ มีนมสีขาวๆ คล้ายฟองน้ำ หุ้มรอบโคนต้นตรงส่วนที่แช่นํ้า


ผักปอดตัวเมีย thai-herbs.thdata.co | ผักปอดตัวเมีย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับข้างกัน ก้านใบสั้น ยาวประมาณ 2-10 มิลลิเมตร ใบยาวเรียว ยาวประมาณ 2-9เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร โคนใบแคบ ปลายใบทู่ บางครั้งแหลม ขอบใบเรียบ


ผักปอดตัวเมีย thai-herbs.thdata.co | ผักปอดตัวเมีย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อ รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 0.75-1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็ก และไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวติดกันที่ฐาน ปลายแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ที่ขอบมีสีขาว กลีบดอกติดกันเป็นรูปถ้วย สีขาว ตรงปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านสั้นมาก ติดอยู่กับกลีบดอก อับละอองเรณู 2 เซล แตก ตามยาว เกสรตัวเมียมีรังไข่เชื่อมกับฐานดอกครึ่งหนึ่ง รังไข่แบ่งออกเป็น 2 ช่อง มีท่อรังไข่สั้นๆ 1 อัน

ผล ลักษณะค่อนข้างกลมแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เมื่อแก่จะแตกออกโดยรอบเป็นวงกลม คล้ายกับเปิดฝาภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีขนาดเล็ก สีเหลืองใส ผิวขรุขระ

สภาพนิเวศวิทยา: พบทั่วไปในบริเวณน้ำตื้นๆ หรือริมฝั่ง

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น รสขื่นเล็กน้อย สรรพคุณ แก้ปวดมดลูกแก้สันนิบาตหน้าเพลิง

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการร้อนใน ตัวร้อนคอแห้ง ใช้ผักปอดนํ้า ใบบัวบก อย่างละ 1 ตำลึง ต้มใส่นํ้าผึ้ง รับประทาน

-อาการร้อนใน ขัดเบา ใช้ผักปอดนํ้า 2 ตำลึง ต้มชงกับน้ำผึ้ง รับประทาน

-อาการแผลอักเสบ ตัวร้อน ใช้ผักปอดน้ำ ต้นดอกแก้ว โคกกะออม  ตำด้วยกันแล้วทาบริเวณที่มีอาการ

-ต้นอ่อน สามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น แกง หรือต้ม ลวกกับน้ำพริก เป็นต้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง