Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เร็ดหนู 

ชื่อท้องถิ่น: แหร็ดหนู เร็ดหนู(สงขลา)/  กาเล็ดกาเว๊า กาเร็ด (อื่นๆ)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Stachyphrynium jagorianum (K.Koch) K.Schum.

ชื่อวงศ์:   MARANTACEAE

สกุล: Stachyphrynium  

สปีชีส์: jagorianum

ชื่อพ้อง: 

-Phrynium jagorianum K.Koch

-Phrynium minus K.Schum.

-Phrynium repens Körn.

-Stachyphrynium jagorianum (K.Koch) K.Schum.

-Stachyphrynium minus (K.Schum.) K.Schum.

-Stachyphrynium thorelii Gagnep.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เร็ดหนู thai-herbs.thdata.co | เร็ดหนู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเร็ดหนู เป็นไม้ลงหัวขนาดเล็กสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ต้นและใบคล้ายต้นสาคู  แต่เล็กกว่ามาก


เร็ดหนู thai-herbs.thdata.co | เร็ดหนู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปใบพายปลายและโคนแหลม ก้านเป็นกาบแข็งตั้งยาว   ตามแนวเส้นใบมีแต้มสีม่วงดำ   สลับกันข้างละ  4-5  แต้ม   ขึ้นตามป่าดงดิบชื้นเขา  มีมากทางภาคใต้

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสั้น ออกตอนกลางของลำต้น ก้านช่อดอกยาว 1-2 ซม. และยาวขึ้นเรื่อย ๆ ดอกเล็ก สีขาว กลีบดอกชั้นนอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็นกลีบแคบ ๆ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นกลาง 2 กลีบ

ผล ลักษณะผลค่อนข้างกลม เมื่อแห้งจะแตก เมล็ดเล็ก สีน้ำตาล รูปขอบขนาน ผิวเรียบ ด้านหนึ่งโค้งคล้ายหลังเต่า อีกด้านหนึ่งแบนราบ มีเยื่อนุ่มสีแดง

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: อินโดจีนไปจนถึงสุลาเวสี

การกระจายพันธุ์: -

เร็ดหนู thai-herbs.thdata.co | เร็ดหนู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว ราก รสร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย แก้กามตายด้าน

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์: 

-ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นเร็ดหนูมีใบสวยงาม ลายแปลกตา และดูแลรักษาง่าย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง