Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: จิงจ้อขาว 

ชื่อท้องถิ่น: จิงจ้อขาว, เถาดอกบานตูม, เอน

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Merremia umbellata Haller f.

ชื่อวงศ์: CONVOLVULACEAE

สกุล: Merremia 

สปีชีส์: umbellata

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

จิงจ้อขาว thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นจิงจ้อขาว เป็นไม้เถาเลื้อย มักทอดเลื้อยต่ำๆ ยาวประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นกลม ตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน กระจายทั่วไป


จิงจ้อขาว thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  จิงจ้อขาว thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ขอบใบเรียบ กว้างประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-9 เซนติเมตร


จิงจ้อขาว thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อออกที่ซอกใบ มักมี 1-3 ดอก  กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายบานนอก ขอบจักเป็นแฉกเล็กน้อย ดอกมีสีขาวเหลืองเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปากแตร กว้างประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร  ด้านนอกมีแถบขนที่กลางกลีบ ก้านดอกยาวประมาณ 0.8-2 เซนติเมตร 


จิงจ้อขาว thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย จิงจ้อขาว thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

 ผล ลักษณะผลรูปทรงกลมกลมรึ มียางเหนียวสีใส เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ขนาดยาวประมาณ 10-20 มิลลิเมตร ผิวค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง สีคล้ายฝาง มีขนยาวตรงหนาแน่น มีช่องเปิด 4 ช่อง เมล็ดมี 4 เมล็ดหรือน้อยกว่า ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร สีดำหรือน้ำตาลดำ ผิวเกลี้ยง

สภาพนิเวศวิทยา: พบทั่วไปบนพื้นราบระดับน้ำทะเลไปจนสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,100 เมตร

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

จิงจ้อขาว thai-herbs.thdata.co | จิงจ้อขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา  รสร้อน  สรรพคุณ แก้ลมพรรดึก กระตุ้นลำไส้ช่วยย่อยอาหาร แก้เสมหะ โลหิตและกำเดา

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้จิงจ้อ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยาสหัศธารา” มีส่วนประกอบของจิงจ้อร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับลมในเส้น แก้โรคลมกองหยาบ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ผลอ่อน สามารนำมาประกอบอาการ โดยทำให้สุกเป็นผักกับน้ำพริก

-ในประเทศอินโดนีเซียใช้ใบตำผสมขมิ้นพอกแก้เท้าแตก 

-ในอินโดนีเซียมีภูมิปัญญาพื้นบ้านในการนำรากมาล้างน้ำ ทำให้แห้งแล้วนำมาตำให้แหลกหรือทำเป็นผง จากนั้นนำมาผสมกับแป้งชวา (Java flour) ใช้พอกเพื่อลดอาการบวม ส่วนยางที่ได้จากรากใช้เป็นยาถ่ายด้วย

-ในประเทศอินเดียใช้เป็นสมุนไพรยาระบายและขับปัสสาวะ และถ้าปรุงยาโดยการนำทั้งต้นมาต้มน้ำดื่มจะช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ ปวดเส้นประสาทตามใบหน้า ปวดหัว

-แคว้นเบงกอล ในประเทศอินเดียจึงนำเมล็ดแช่น้ำจนได้เมือกแล้วนำมาเป็นยาเสริมและปรับสภาพในการรักษาโรคผิวหนัง

-ในประเทศฟิลิปปินส์นำรากมาต้มดื่มรักษาอาการโลหิตเป็นพิษ (haematuria)

-ในหมู่เกาะโมลุกกะใช้ใบเป็นเครื่องประทินผิว แก้ฝีหนองและแผลต่างๆ

-ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังนำเอาหัวที่อยู่ใต้ดินใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อนและใช้แก้อาการบิด



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง