Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เมี่ยง (ชา)

ชื่อท้องถิ่น: เมี่ยง เมี่ยงป่า (ภาคเหนือ)/ ชา (ภาคกลาง)/ ลาบ่อ (อาข่า)/ นอมื่อ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)/ แต๊ (จีนแต้จิ๋ว)/ ฉา (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Tea, Thea

ชื่อวิทยาศาสตร์: Camellia sinensis var. sinensis

ชื่อวงศ์: THEACEAE

สกุล: Camellia 

สปีชีส์: sinensis 

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เมี่ยง-ชา thai-herbs.thdata.co | เมี่ยง-ชา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเมี่ยง (ชา) มีความสูงของต้นประมาณ 1-6 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ตามกิ่งอ่อนมีขนปกคลุม 


เมี่ยง-ชา thai-herbs.thdata.co | เมี่ยง-ชา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักเล็ก ๆ หรือเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน แผ่นใบหนาและเหนียว เรียบเป็นมัน คล้ายใบข่อยแต่จะยาวและใหญ่กว่า เส้นใบเป็นตาข่าย ส่วนก้านใบสั้น


เมี่ยง-ชา thai-herbs.thdata.co | เมี่ยง-ชา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกส้มเขียวหวาน โดยดอกชาจะมีลักษณะใหญ่สีสวย ดอกเป็นสีขาวนวล และมีกลิ่นหอม ในช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 1-4 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่กลางดอกจำนวนมาก


เมี่ยง-ชา thai-herbs.thdata.co | เมี่ยง-ชา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นผลแบบแคปซูล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออก ในหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-3 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมแบน หรือค่อนข้างกลม ผิวเมล็ดเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำหรือสีน้ำตาลอมแดง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-14 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200-2,000 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เทือกเขาทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*กิ่งและใบ รสฝาดเมาน้อย สรรพคุณ ก้พิษยาอันตราย สมานแผล (มีกรดแทนนิน) รมแก้หืด

องค์ประกอบทางเคมี:

-พบสาร ได้แก่ acetaldehyde, acetamide, acetone, acetophenone, afzelechin, amyrin, apigenin, aromadendrin, benzaldehyde, benzolthiazole, brassinolide, butyroin, caffeine, camellia galactoglucanm camelliaside A, B, C, carvacrol, fluoride, linalool-β-D-glucopyranoside

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจ สาร Caffeine และสาร Theophylline มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหัวใจแข็งตัว ทำให้หัวใจถูกกระตุ้นและมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น

-เมื่อนำสารที่สกัดได้จากใบชามาทดลองกับหัวใจที่อยู่นอกร่างของกบ พบว่า มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจกบ และมีผลต่อการเต้นของหัวใจให้แรงขึ้น โดยเฉพาะในใบชาเขียว จะมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

-ฤทธิ์ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของท่อไต สาร Caffeine และสาร Theophylline มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของท่อดูดซึมน้ำในไต จึงมีประสิทธิภาพในการขับปัสสาวะได้มากขึ้น

-ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด จากการศึกษาฤทธิ์ของสาร Catechins ในหนูขาวเพศผู้อายุ 7 สัปดาห์ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมให้กินน้ำ และกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ที่ให้กินสารละลาย catechins เข้มข้น 0.1% และ 0.5% ผสมในน้ำตามลำดับ หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ พบว่าน้ำหนักตัวของหนูขาวในกลุ่มทดลองลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และยังพบว่ากลุ่มทดลองที่กินสารละลาย catechins เข้มข้น 0.5% สามารถลดระดับไขมัน ระดับคอเลสเตอรอล และระดับไตรีกลีเซอไรด์ในเยื่อยึดลำไส้และตับได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมในซีรัม และลดระดับกรดน้ำดีในซีรัมด้วย จากการศึกษาครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าสาร catechins ในชาไม่เพียงแต่จะช่วยเผาผลาญไขมันได้ในคนอ้วนเท่านั้น แต่ยังได้ผลดีกับคนที่ไม่อ้วนอีกด้วย

-เมื่อปี ค.ศ.2003 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดลองผลการลดไขมันในเลือดของชา โดยทำการทดลองกับผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีไขมันในเลือดสูง แบ่งเป็นชาย 7 คน และหญิง 3 คน ทำการทดลองให้ชาผู้ป่วยดื่ม ในกลุ่มควบคุมให้ชาที่ free caffeine พบว่าหลังจาก 3 เดือนผ่านไป ผู้ป่วยที่ได้รับชา จะมีค่าคอเลสเตอรอลลดลง 6.5%, LDL-c 0.1%, lipoprotein 16.4% จึงสรุปได้ว่า ชาสามารถลดระดับไขมันในเลือดได้ (2003)

-เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศบราซิล ได้ทำการศึกษาทดลองในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูงจำนวน 100 คน แบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งให้ซุป (kinako) 50 กรัมต่อวัน กลุ่มที่สองให้ชาเขียว 3 กรัมต่อวัน กลุ่มที่สามให้ซุป (kinako) และน้ำชา ขนาด 50 กรัม และ 3 กรัมต่อวัน ส่วนกลุ่มที่สี่เป็นกลุ่มควบคุม โดยใช้เวลาทำการทดลอง 45 วัน และ 90 วัน ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่สองและสามที่ให้น้ำชา มีระดับคอเลสเตอรอลลดลง (2008)

-เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการทดลองในคนที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 47 คน โดยให้สารสกัดใบชาในรูปของยาเม็ด ขนาด 333 มิลลิกรัม ส่วนกลุ่มควบคุมให้ placebo ให้กิน 3 เวลาต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน ผลการทดลองพบว่าอาสาสมัครมีระดับคอเลสเตอรอลลดลง 4.32-0.14 mol/L P<0.01 ค่า LDL-c ลดลง 3.81-0.13 mol/L ค่าไตรกลีเซอไรด์ลดลง P<0.01 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2008)

-เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการทดลองผลการลดไขมันในเลือดของ bleak tea ชาจีน ซึ่งสามารถลดระดับไขมันในเลือด หลังการให้สารละลายในหนูที่ให้ไขมันคอเลสเตอรอล 130 mg./kg. และให้ชาจีนขนาด 0.3 g./kg. หลังจากให้ชาแล้วพบว่า ค่า postprandial ของน้ำตาลในเลือดลดลง ระดับไขมันในเลือดลดลง แต่สำหรับชาเขียวที่ไม่ได้ผ่านการหมักบ่ม ไม่ได้ให้ผลดังกล่าว โดยใช้เวลาในการทดลอง 3 สัปดาห์ และพบว่าระดับไขมันในเลือดลดลง 1.36 mol/L P<0.05 และพบไขมันในไตลดลง 0.3% P<0.05 พบค่า LDL-c ลดลง 0.51 m mol/L , 0.1% P<0.05 ซึ่งค่าทางคลินิกดงกล่าวจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงต่อไป (2008)

-เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศเกาหลี ได้ทำการศึกษาผลการลดไขมันในเลือดของใบชา ซึ่งมี GCG-Rich Tea Catechins เป็นสารสำคัญในใบชา โดยทำการทดลองกับหนูทดลองที่ให้อาหารและกระตุ้นให้มีไขมันในเลือดสูง ผลการทดลองพบว่า หลังจากให้สารสกัดจากใบชาในหนูทดลองดังกล่าว ระดับไขมันในเลือดของหนูจะลดลง (2008)

-เมื่อปี ค.ศ.2009 ที่ประเทศจีน ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดระดับไขมันในเลือดของ Kombucha tea ในหนูทดลอง โดยพบว่าใบชาดังกล่าวจะกระตุ้นการผลิต D-saceharic acid-1, 4-lactone และเพิ่ม antioxidant enzyme ทำให้สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของหนูได้ภายหลังการทดลอง (2008)

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-จากการทดสอบความเป็นพิษ สารสกัดจากชาด้วยเอทานอลและน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 ในขนาด 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้ทางปาก มีสารสกัด Sapponin เป็นสารพิษ เกิดความเป็นพิษผสม tannic acid จากชาปริมาณ 0.25-15.25% ในอาหาร ให้หนูขาวกินเป็นเวลา 80 สัปดาห์ จะทำลายลำไส้ ตับและไต ถ้าให้หนูขาว หนูตะเภากินสารสกัดจากชา ขนาดต่ำกว่า 5 กรัมต่อกิโลกรัม ครั้งเดียว หนูจะตายภายใน 14 วัน

การใช้ประโยชน์:

-โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ใบน้ำมันจากเมล็ดทาบริเวณที่มีอาการจนกว่าจะหาย

-อาการปวดท้อง ท้องร่วง แผลในกระเพาะ ใช้ใบแห้ง ใช้ชงใส่น้ำตาล กินเป็นยารักษาอาการปวดท้อง

-อาการแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้กากใบชาใช้เป็นยาพอกแผล 

-ช่วยกระตุ้นให้ตื่นตัว ใช้ใบนำมาต้มเคี่ยวเอาน้ำกิน ช่วยกระตุ้นทำให้กระชุ่มกระชวย ไม่ง่วงนอน ทำให้ตาสว่าง กระตุ้นให้หายเหนื่อย

-ช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น ในใบชา มีสารโพลีฟีนอล กรดอะมิโน และคาร์โบไฮเดรต เมื่อสารเหล่านี้เกิดปฏิกิริยากับน้ำลายจะช่วยกระจายความร้อนส่วนเกินในร่างกายได้

-ช่วยบำรุงร่างกายให้มีสุขภาพดี ช่วยกระตุ้นระบบประสาทและร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากใบชามีสารคาเฟอีนที่ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยหมุนเวียนโลหิต มีอิทธิพลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ภายในร่างกาย และยังมีการใช้ชาผสมกับยาแก้ปวด รักษาโรคไมเกรน เพื่อช่วยเพิ่มฤทธิ์ในการรักษาและทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานยิ่งขึ้น

-ช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงสดชื่น ขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความชราและมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ

-ช่วยสลายไขมัน ลดระดับคอเลสเตอรอล เนื่องจากใบชามีสาร Catechins ช่วยเพิ่มการขับคอเลสเตอรอลในร่างกายผ่านทางน้ำดีในอุจจาระ

-ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เนื่องจากใบชามีสารคาเฟอีนที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย

-ใบอ่อน นำมาปรุงแต่งและอบกลิ่นเป็นใบชา ส่งไปขายเป็นสินค้าตามต่างประเทศ ในบ้านเราเรียกว่าต้นเมี่ยง ส่วนมากทางภาคเหนือรู้จักกันมานาน

-กากเมล็ด มีสารซาโปนิน (Saponin) ที่มีคุณสมบัติช่วยล้างสิ่งต่าง ๆ ได้สะอาดดีมาก และยังใช้สระผมเพื่อล้างสิ่งสกปรกออกจากผล นอกจากนี้น้ำมันที่ติดกากเมล็ดยังช่วยทำให้เส้นผมชุ่มชื้นเป็นมันอีกด้วย

-กากชา มีประโยชน์ช่วยในการดูดกลิ่น ส่วนใบชายังใช้ใส่ลงในโลงศพ เพื่อดูดกลิ่นเหม็นจากศพได้ด้วย

-คนเมืองจะใช้ใบอ่อนหมักเป็นเมี่ยงขาย ส่วนยอดอ่อนเก็บเป็นผลผลิตไว้ขาย

-ในประเทศจีนรู้กันมานานแล้วว่า ชาจีนสามารถควบคุมการเกิดโรคอ้วนได้ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ต้านจุลชีพ ลดการอักเสบ สมานแผล ช่วยขับและล้างสารพิษในร่างกาย เนื่องจากใบชามีสารโฟลีฟีนอลที่สามารถช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ได้ ส่วนฤทธิ์ต้านการอักเสบเชื่อว่าชาสามารถช่วยป้องกันโรคที่ก่อการอักเสบเรื้อรังได้ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์

-คนญี่ปุ่นเชื่อว่าการดื่มชาสามารถช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร เพราะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเสริมสุขภาพ



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง