Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มังคุด

ชื่อท้องถิ่น: -

ชื่อสามัญ: Mangosteen

ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia × mangostana L.

ชื่อวงศ์: CLUSIACEAE-GUTTIFERAE

สกุล:  Garcinia 

สปีชีส์: mangostana 

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มังคุด thai-herbs.thdata.co | มังคุด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมังคุด เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นทรงกลม สูงประมาณ 10-12 เมตร แตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น มีทรงพุ่มแบบกรวยคว่ำหรือแบบพีระมิด เปลือกลำต้นมีสีดำ มีทรงพุ่มหนาทึบ ทุกส่วนมียางสีเหลือง  

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ขนาดกว้างประมาณ 6-11 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า 


มังคุด thai-herbs.thdata.co | มังคุด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศหรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ


มังคุด thai-herbs.thdata.co | มังคุด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  มังคุด thai-herbs.thdata.co | มังคุด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม เปลือกนอกค่อนข้างแข็ง แก่เต็มที่มีสีม่วงแดง ยางสีเหลือง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 เซนติเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกลูก รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด สมานแผล 

*เนื้อในลูก รสเปรี้ยวหวาน สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บิดมูกเลือด 

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ผลและเปลือผล พบสาร Chrysanthemin, Xanthone, Garcinone A, Garcinone B, Gartanin, Mangostin, Kolanone เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคผิวหนังต่าง ๆ อย่าง กลากเกลื้อน ผดผื่นคันต่าง ๆ ใช้เปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำอาบ หรือใช้น้ำต้มเปลือกมาทาบริเวณที่เป็น

-โรคน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย  เปลือกผลสด หรือแห้ง ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ๆ พอควร ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย  เนื่องจากเปลือกผล มีสารให้รสฝาด คือแทนนิน แซนโทน (โดยเฉพาะแมงโกสติน) แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว 

-อาการสิว เปลือกมังคุดมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และยังออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบ

-อาการท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้  ใช้เปลือกมังคุดครึ่งผล (ประมาณ  4-5 กรัม) ต้มกับน้ำ ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว   

-อาการท้องร่วง ใช้เปลือกผลมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำปูนใส หรือฝนกับน้ำรับประทาน ใช้เปลือกต้มน้ำให้เด็กรับประทานครั้งละ  1-2 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ทุก 4 ชั่วโมง

-ยางมังคุด ใช้เป็นสารเจือปนในอาหาร เนื่องจากมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus Aureus ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ

-เปลือกผล นำมาแปรรูปเป็นสบู่เปลือกมังคุด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นเต่า รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของโรคผิวหนัง

-ผลสุก นำมาประกอบอาหารบ้างทั้งอาหารคาว เช่น แกง ยำ และอาหารหวาน เช่น มังคุดลอยแก้ว แยมมังคุด มังคุดกวน มังคุดแช่อิ่ม 

-ผลสุก นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น  น้ำส้มสายชูมังคุด มังคุดไซเดอร์ มังคุดสำเร็จรูปชนิดเกล็ด เป็นต้น

-หมักปุ๋ย ใช้เปลือกผล ที่มีสารป้องกันเชื้อราเหมาะแก่การหมักปุ๋ย 

-จังหวัดนครศรีธรรมราชมีการทำมังคุดคัด ด้วยการแกะเนื้อมังคุดห่ามออกมาเสียบไม้รับประทาน

-ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก มาเลเซียใช้เปลือกผลแห้งรักษาแผลเปิด




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง