Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: คัดเค้า

ชื่อท้องถิ่น: เค็ดเค้า (เหนือ)/ หนามลิดเค้า จีเก๊า (เชียงใหม่)/ พญาท้าวเอว (กาญจนบุรี) คัดเค้าเครือ(นครราชสีมา)/ คัดเค้าหนาม (ชัยภูมิ)

ชื่อสามัญ: Siamese randia

ชื่อวิทยาศาสตร์: Oxyceros horridus Lour.

ชื่อวงศ์: RUBIACEAE

สกุล: Oxyceros 

สปีชีส์: horridus

ชื่อพ้อง: 

-Gardenia horrida (Lour.) Spreng.

-Griffithia siamensis Miq.

-Randia horrida (Lour.) Schult.

-Randia siamensis (Miq.) Craib

-Randia uncata Ridl.

-Solena horrida (Lour.) D.Dietr.

-Webera siamensis

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

คัดเค้า thai-herbs.thdata.co | คัดเค้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

คัดเค้า thai-herbs.thdata.co | คัดเค้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นคัดเค้า เป็นไม้รอเลื้อยเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 3-6 เมตร เนื้อไม้เหนียวมาก มีหนามแหลม ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายโค้งแข็งเป็นคู่ตามข้อและโคนใบ เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปลายกิ่งก้านมีสีเขียว


คัดเค้า thai-herbs.thdata.co | คัดเค้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม เนื้อใบหนาแข็ง แผ่นใบเรียบ หลังใบผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียวสด ด้านท้องใบสีอ่อนกว่า เรียบและลื่น เนื้อใบเหนียว  ใบรูปรี แกมขอบขนาน กว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีหูใบเล็กรูปสามเหลี่ยม อยู่ระหว่างก้านใบ


คัดเค้า thai-herbs.thdata.co | คัดเค้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกเป็นช่อใหญ่ แต่ละช่อมีขนาดตั้งแต่ 4-10 เซนติเมตร ดอกย่อย 10-25 ดอก มีลักษณะคล้ายดอกเข็ม บานพร้อมกันทั้งช่อ เมื่อแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแกมเหลือง กลิ่นหอมแรงในตอนกลางคืน กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อบานกลีบดอกจะบิด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2  เซนติเมตร เกสรเพศผู้ 5 อัน ยาวและยื่นพ้นกลีบดอก เกสรเพศเมียรูปกระสวย สีขาว กลีบเลี้ยง สีขาวอมเขียว โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม


คัดเค้า thai-herbs.thdata.co | คัดเค้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลสดแบบผลกลุ่ม รูปกลมรี สีเขียวเข้ม เมื่อแก่สีดำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ส่วนก้นนูนเป็นวง เมล็ดขนาดเล็กมีจำนวนมาก 

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และตามป่าละเมาะตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึง 500 เมตพบขึ้นทั่วไปตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณ

ถิ่นกำเนิด: ไทย

การกระจายพันธุ์: กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์, ไทย, เวียดนาม

คัดเค้า thai-herbs.thdata.co | คัดเค้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ และการตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสฝาด สรรพคุณ แก้เสมหะ บำรุงโลหิต

*ลูก รสฝาดอมเปรี้ยว สรรพคุณ ขับฟอกโลหิตระดูสตรีที่เน่าร้าย

*ราก รสเย็นฝาดเล็กน้อย สรรพคุณ ขับและแก้ไข้เพื่อโลหิต

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ต้นคัดเค้า พบสาร β-sitosterol,  D-Mannitol, campesterol, 3 β-Acetyl oleanolic acid, 3-O-a-L-Arabinopyranosyl oleanolic acid, Mesembryanthe moidigenic acid หรือ 3b-29-dihydroxy-olean-12-enl-28-oic acid, urolic acid,  Pseudoginsenoside-RP , 3-O-hydroxy ursolic acid,  β-acetyloleanolic acid, pseudoginsenoside-RP1 (3-O-B-Gl CUA-(2-1)-B-Xyl  of oleanolic acid,  siamenoside (3-O-B-Gl cUA-(2-1)-B-Xyl-(2-1)- Rha of glucosyl oleanolate , pseudoginsenoside-RT1 (3-O-B-GlcUA-(2-1)-B-Xylof glucosy olearolate)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านการอักเสบ การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของคัดเค้าในการต้านการอักเสบโดยวิธี Carrageenan foot edema test ในหนู พบว่าสารสกัดหยาบด้วยน้ำขนาด 5, 10 และ 50 mg/kg สามารถยับยั้งอาการบวมของอุ้งเท้าหนูได้ 20.45%  36.36% และ 59.09%

-ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาพบว่า น้ำสกัดจากคัดเค้ามีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบหลอดลม ที่เกิดจากการใช้คาร์บาคอล และพบว่า ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบหลอดลมเป็นแบบ dose-reiated และฤทธิ์ดังกล่าวไม่ผ่านการกระตุ้นตัวรับอะดรีเนอร์จิกชนิดเบต้า เนื่องจากโพรพราโนลอล ไม่สามารถต้านผลการคลายตัวที่เกิดจากน้ำสกัดจากคัดเค้าได้

และยังมีรายงานการศึกษาวิจัยอีกหลายฉบับระบุว่าคัดเค้ามีฤทธิ์บีบตัวของมดลูกอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าสารPseudoginsenoside-RPที่พบในคัดเค้ามีฤทธิ์ลดความดันเลือด และเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงเพิ่มความแรงในการหดตัวได้เองของมดลูกได้อีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การศึกษาทางพิษวิทยาของคัดเค้าระบุว่า จากการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดรากด้วยเอธานอลและน้ำ (1:1) ขนาด 10 ก./กก. โดยให้ทางกระเพาะอาหาร หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด

การใช้ประโยชน์:

-อาการไข้ รากหรือแก่น ใช้ฝนกับน้ำดื่ม หรือจะใช้ใบนำมาแช่กับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้

-ขับระดู ขับโลหิตประจำเดือนเสียของสตรี โดยใช้ผลประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ส่วนรากก็มีสรรพคุณขับระดูเช่นกัน

-ยอดอ่อน สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทานได้ เช่น ยำใส่มะพร้าวคั่ว หรือใช้รับประทานแกล้มกับลาบ

-ผลอ่อนหรือผลแก่ ใช้รับประทานเป็นผักเหนาะหรือผักสดร่วมกับน้ำพริกได้ ด้วยการนำมารับประทานสดหรือนำไปลวกให้สุกก่อนนำมารับประทาน

-ผล มีสารจำพวกไตรเทอร์ปีนซาโปนินที่มีฤทธิ์เป็นยาเบื่อปลา

-นิยมใช้ปลูกเป็นรั้วกันแนว เนื่องจากต้นคัดเค้าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีหนามแหลมคมมาก นิยมเป็นไม้เลื้อยตามซุ้มหรือตามรั้วเพื่อทำเป็นรั้วป้องกันคนหรือสัตว์ผ่านได้ดี 

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับได้ เนื่องจากต้นคัดเค้าออกดอกจะดูสวยงามมาก อีกทั้งดอกยังมีกลิ่นหอมแรงและออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น แต่การปลูกต้นคัดเค้าให้สวยงามจะต้องคอยตัดแต่งทรงพุ่มอยู่เสมอ  เนื่องจากต้นคัดเค้าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีหนามแหลมคมมาก อาจเกิดอันตรายได้



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง