Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เห็ดหูหนู

ชื่อท้องถิ่น: เห็ดหูหนูดำ, เห็ดหูแมว, เห็ดหูลัวะ เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Jew’s ear, Wood ear, Jelly ear

ชื่อวิทยาศาสตร์: Auricularia cornea Ehrenb.

ชื่อวงศ์: AURICULARIACEAE

สกุล: Auricularia 

สปีชีส์: cornea

ชื่อพ้อง: 

-Agarico-gelicidium Paule

-Auricula Battarra ex Kuntze

-Auriculariella Clem. 

-Conchites Paulet

-Hirneola Fr.

-Laschia Fr. 

-Laschia subgen. Auriculariella Sacc.

-Oncomyces Klotzsch

-Patila Adans.

-Seismosarca Cooke

-Zonaria Roussel

ลักษณะเฉพาะ: ดอกเห็ดเป็นรูปครึ่งวงกลมหรือรูปพัด มีขนาดกว้างประมาณ 2-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร เนื้อเห็ดบางสีน้ำตาลโปร่งแสง สีน้ำตาลเทา ผิวด้านบนเรียบมีขนเล็กๆ เป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านในสีเหมือนด้านนอก อาจจะอ่อนกว่าเล็กน้อย ไม่มีขน มีรอยหยักย่นแผ่ออกเป็นรัศมีออกไปจากโคน เมื่อถูกความชื้นดอกเห็ดจะมีเมือกลื่น ส่วนสปอร์มีรูปไข่แกนคอดเล็กน้อย ใส ผิวเรียบ ขนาดกว้างประมาณ 5-6 ไมโครเมตร ยาวประมาณ 12-14 ไมโครเมตร

เห็ดหูหนู thai-herbs.thdata.co | เห็ดหูหนู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*รสจืดหวาน สรรพคุณ บำรุงร่างกาย ทำให้เนื้อเย็น แก้ช้ำใน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-พบสาร Licithin, D-Mannanm Glueuronic acid,Sphingomyelin, glutamic acid , adenosine ,  Cephalin, Ergosterol ,Methyl pentose เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-มีผลการศึกษาวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ระบุว่าเห็ดหูหนูดำมีฤทธิ์ต้านมะเร็งในหลอดทดลองได้ โดยมีการสันนิฐานว่า กรดกลูตามิคที่พบในเห็ดหูหนูน่าจะเป็นสารออกสารฤทธิ์สำคัญที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้

-นอกจากนี้จากงานวิจัยฉบับอื่นๆ ยังระบุผลการศึกษาว่าเห็ดหูหนูมีฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด เพราะพบสารอะดีโนซีน ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่มีในกระเทียมและหอมหัวใหญ่ โดยเมื่อทานไปแล้วจะช่วยลดความเหนียวข้นของเลือดทำให้เลือดไม่เป็นลิ่มเลือดไปอุดตันเส้นเลือดหัวใจ และยังมีฤทธิ์ลดไขมันในเลือด ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ตามตำราแพทย์แผนจีนระบุไว้ว่า เห็ดหูหนู มีฤทธิ์ทางยาไม่ร้อน ไม่เย็น รสหวาน วิ่งเส้นลม-ปราณไต (สีดำเป็นสีของไต) เป็นเห็ดที่ได้รับพลังเย็นสะสม ทำให้ลดความร้อน หรือเกิดความเย็นแก่กระเพาะอาหาร ให้เป็นยาบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงธาตุหยินที่ตับและไต  ช่วยวิ่งเส้นลมปราณไต บำรุงสมอง ใช้รักษาเลือดออกเนื่องจากเลือดร้อน เช่น อุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ประจำเดือนมากผิดปกติ ริดสีดวงทวาร โรคบิด ใช้บำรุงกระเพาะ แก้ริดสีดวง และช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญๆ เช่น สมอง หัวใจ ตับ ไต ทำให้มีพลังชีวิตที่เป็นระบบ ช่วยหยุดอาการเส้นโลหิตฝอยแตก ช่วยการไหลเวียนของโลหิต มีผลให้การทำงานและการขับเคลื่อนของลำไส้ดีขึ้น

-ตำรับยารักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือเส้นเลือดแข็งตัว ให้ใช้เห็ดหูหนู 3 กรัม นำมาแช่ในน้ำ 1 คืน จากนั้นนำมานึ่งประมาณ 1-2 ชั่วโมง ใส่น้ำตาลกรวดลงผสมกัน ใช้รับประทานวันละครั้งก่อนนอน

-โรคหัวใจ เนื่องจากเห็ดหูหนูมีฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และมีคุณสมบัติในการลดไขมันในเลือด โดยมีสารอะดีโนซีนที่ช่วยลดความเข้มข้นของเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน จึงไม่ทำให้เกิดเป็นลิ่มเลือดไปอุดตันเส้นเลือดหัวใจ สมอง และอวัยวะอื่น ๆ จึงเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคหัวใจ

-โรคริดสีดวงทวารมีเลือด หรือถ่ายเป็นเลือด ใช้เห็ดหูหนู 3-6 กรัม และลูกพลับอบแห้ง 30 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน

-อาการท้องผูก ใช้เห็ดหูหนู 3-6 กรัม และลูกพลับอบแห้ง 30 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน

-อาการประจำเดือนมามากหรืออาการตกขาวของสตรี ใช้เห็ดหูหนูอบแห้งนำมาบดให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำรับประทานครั้งละ 3-6 กรัม วันละ 2 ครั้ง

-อาการตกเลือด หรือแก้สตรีตกเลือด ใช้เห็ดหูหนูอบแห้งนำมาบดให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำรับประทานครั้งละ 3-6 กรัม วันละ 2 ครั้ง

-ช่วยในการระบายและขับของเสีย เนื่องจากเห็ดหูหนูมีน้ำยางธรรมชาติและไฟเบอร์ที่ช่วยในการระบายและขับของเสียในลำไส้

-ช่วยเสริมสร้างโลหิต ทำให้หัวใจแข็งแรง ช่วยบำรุงสายตา บำรุงตับ นอกจากนี้เห็ดหูหนูยังมีส่วนช่วยทำให้ร่างกายเกิดความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียดให้คลายตัว บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส

-เห็ดหูหนูเป็นเห็ดที่ราคาค่อนข้างถูกกว่าเห็ดชนิดอื่น และสามารถหาซื้อได้ง่าย จึงเป็นที่นิยมบริโภคเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ทางภาคเหนือนิยมนำเห็ดหูหนูมาประกอบอาหาร เช่น นำมาแกงใส่ถั่วฝักยาว ผักชะอม หรือใส่แกงแค  ส่วนทางภาคกลางหรือทั่วๆไป นำมาทำยำวุ้นเส้น ใส่ในแกงจืด ยำเห็ดหูหนู ผัดเนื้อไก่ใสขิงใส่เห็ดหูหนู แกงจืดเห็ดหูหนู เป็นต้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง