Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ




ชื่อไทย: มะขามเทศ

ชื่อท้องถิ่น: มะขามข้อง (แพร่)

ชื่อสามัญ: Manila tamarind

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย CAESALPINIOIDEAE-CAESALPINIACEAE

สกุล: Pithecellobium 

สปีชีส์: dulce

ชื่อพ้อง: 

-Acacia obliquifolia M.Martens & Galeotti

-Albizia dulcis (Roxb.) F.Muell.

-Feuilleea bertolonii (Benth.) Kuntze

-Feuilleea dulcis (Roxb.) Kuntze

-Inga camatchili Perr.

-Inga dulcis (Roxb.) Willd.

-Inga javana DC.

-Inga lanceolata Blanco

-Inga leucantha C.Presl

-Inga nitens M.Martens & Galeotti

-Inga pungens Humb. & Bonpl. ex Willd.

-Mimosa dulcis Roxb.

-Mimosa monilifera Bertol.

-Mimosa pungens Poir.

-Pithecellobium bertolonii Benth.

-Pithecellobium littorale Britton & Rose ex Record

-Zygia dulcis (Benth.) A.Lyons

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะขามเทศ thai-herbs.thdata.co | มะขามเทศ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะขามเทศ เป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็ง ไม่ผลัดใบ มีอายุนานหลายปี ลำต้นสูงได้ถึง 15เมตร กิ่งมักจะแตกออกมากในระดับต่ำ ลำต้นค่อนข้างกลมเปลือกเรียบ เปลือกมีสีเทาแกมขาว หรือเทาดำเป็นร่องเล็ก ตามลำต้น และกิ่งมีหนามแหลมคม ในตำแหน่งรอยก้านใบ  


มะขามเทศ thai-herbs.thdata.co | มะขามเทศ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบเรียงสลับ แบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปรี กว้างประมาณ 0.5-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว ปลายใบมนขอบใบเรียบ ขอบใบ 2 ข้างโค้งไม่เท่ากัน ผิวใบมีสีเขียวลักษณะเรียบถึงมีขนเล็กน้อย ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุม โคนก้านใบมีหูใบคล้ายหนาม โดยจะแทงออกบริเวณหนามของกิ่ง


มะขามเทศ thai-herbs.thdata.co | มะขามเทศ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ที่บริเวณข้อติดกับก้านใบ และปลายกิ่ง โดยช่อดอกจะยาวได้ถึง 10 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีขนละเอียดปกคลุม ดอกย่อยสมบูรณ์เพศรวมเป็นกลุ่ม 15-20 ดอกในแต่ละช่อย่อยในแต่ละดอกย่อยจะมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเขียวแกมขาว ติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบมน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเชื่อม ติดกันเป็นหลอด เกสรเพศเมีย 1 อัน 


มะขามเทศ thai-herbs.thdata.co | มะขามเทศ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นฝักค่อนข้างแบนถึงทรงกระบอกมีรอยคอดตามแนวสัน และเปลือกนูนตามจำนวนเมล็ด ผลขดเป็นวงหรือเป็นเกลียวกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว และเมื่อแก่จัดจะมีสีชมพูหรือสีแดง โดยในแต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 2-10 เมล็ด เมล็ดมะขามเทศมีลักษณะแบน และนูนตรงกลาง มีรูปทรงคล้ายหยดน้ำ ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 9 มิลลิเมตร หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เมล็ดอ่อนมีสีเขียว เมื่อฝักแก่ เมล็ดจะมีสีดำมัน

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ในป่าเบญจพรรณ พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 800 ม.

ถิ่นกำเนิด: เม็กซิโกไปจนถึงกายอานาและเปรู 

การกระจายพันธุ์: เบลีซ, โคลอมเบีย, เอลซัลวาดอร์, กัวเตมาลา, กายอานา, ฮอนดูรัส, เม็กซิโกกลาง, อ่าวเม็กซิโก, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงเหนือ, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงเหนือ, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้, นิการากัว, ปานามา, เปรู, เวเนซุเอลา, เกาะอันดามัน, อัสสัม, บาฮามาส, บังกลาเทศ, เบนิน, บอร์เนียว, บราซิลตะวันออกเฉียงเหนือ, บราซิลตะวันออกเฉียงใต้, บูร์กินา, บุรุนดี, กัมพูชา, ชาด, จีนตอนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, คิวบา, จิบูตี, สาธารณรัฐโดมินิกัน, หิมาลายาตะวันออก, อียิปต์, เอริเทรีย, เอธิโอเปีย, ฟิจิ, ฟลอริดา, เฟรนช์เกียนา, แกมเบีย, กานา, ไหหลำ, เฮติ, อินเดีย, อิรัก, จาเมกา, จาวา, เคนยา, ลาว, มลายู, มาลาวี, มลายูมอริเตเนีย, มอริเชียส, โมซัมบิก, เนปาล, นิวแคลิโดเนีย, นิวกินี, เกาะนิโคบาร์, ไนจีเรีย, เกาะโอกาซาวาระ, โอมาน, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, เปอร์โตริโก, เรอูนียง, ซาอุดีอาระเบีย, เซเนกัล, เซียร์ราลีโอน, โซมาเลีย, แคริบเบียนตะวันตกเฉียงใต้, ศรีลังกา, ซูดาน, สุมาเตรา, ซูรินาเม, ไต้หวัน, แทนซาเนีย, เท็กซัส, ไทย, โตโกตรินิแดด-โตเบโก, ยูกันดา, เวเนซุเอลา, แอนทิลลิส, เวียดนาม, เทือกเขาหิมาลัยตะวันตก, เยเมน, สาธารณรัฐซาอีร์, ซิมบับเว

มะขามเทศ thai-herbs.thdata.co | มะขามเทศ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการทาบกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง คุมธาตุ ต้มเอาน้ำชะล้างบาดแผลทำให้หายเร็ว

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เมล็ด พบสาร saponins, polysaccharides, oleanolic acid, steroids, lipids, echinocystic acid glycosides, phospholipids, triterpene oligoglycosides, glycosides, glycolipids และ ส่วนใบ ประกอบไปด้วย quercetin, dulcitol, kaempferol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ฆ่าพยาธิตืดแคระ มีการศึกษาวิจัยและการทดสอบฤทธิ์ต้านพยาธิตืดแคระ (Hymenolepis nana) ในหลอดทดลองของสารสกัดเมทานอลของผลมะขามเทศ (Pithecellobium dulce (Roxb.)) และสารสำคัญที่แยกได้ คือสาร N-malonyl-(+)-tryptophan (NMT) พบว่าสารสกัดเมทานอลและสาร NMT มีประสิทธิภาพดีกว่ายาฆ่าพยาธิ praziquantel (PZQ) เมื่อให้ในขนาดที่เท่ากันคือ 20 มก./มล. โดยพยาธิที่ได้รับสารสกัดเมทานอลเกิดภาวะอัมพาตและตายใช้เวลา 10 และ 25 นาที ตามลำดับ และพยาธิที่ได้รับสาร NMT เกิดภาวะอัมพาตและตายใช้เวลา 5 และ 7 นาที ตามลำดับ ในขณะที่พยาธิที่ได้รับยา PZQ เกิดภาวะอัมพาตและตายใช้เวลา 15 และ 30 นาที ตามลำดับ การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดเมทานอลของผลมะขามเทศและสาร NMT พบว่ามีความปลอดภัย

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัย ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของมะขามเทศอีกหลายฉบับพบว่า afzelin ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ วัณโรค ฤทธิ์ยับยั้งน้ำย่อย ฤทธิ์ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร ต้านพิษงู (Anti-venom) และ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้ออสุจิ

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ฝักสด ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เส้นใย เป็นต้น 

-ฝักสด บรรเทาอาการโรคเบาหวาน ลดอาการแสบแผล และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยให้กระปรี่กระเปร่า มีกำลังช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท ช่วยเสริมสร้างการสร้าง และซ่อมแซมกระดูก

-ทั้งต้น ต้มดื่มแก้อาการปวดท้อง

-ใบ ตำพอกแก้อาการเจ็บปวดอันเกิดจากเพศสัมพันธ์ บรรเทาอาการอาเจียนกินกับเกลือแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย หรือกินมากๆให้เกิดการแท้ง

-ราก เป็นยาระงับเชื้อ ชำระล้างบาดแผล ใช้ภายในต้มดื่มแก้ท้องร่วง เป็นยากระชับโลหิตและน้ำเหลือง

-เปลือกลำต้น ใช้ภายนอกต้มเป็นยาระงับเชื้อ ชำระล้างบาดแผล ห้ามโลหิต สมานแผล แก้บาดแผลติดเชื้อ ต้มเอาน้ำอมแก้ปวดฟัน โรคในปากในคอ ดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเสีย ขับพยาธิในท้อง ใช้ย้อมแห ใช้ย้อมหนัง หรือทำให้หนังอ่อนตัว

-เมล็ด ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ช่วยให้อาเจียน

-เนื้อไม้ เนื้อไม้ และกิ่งใช้ทำฟืนหุงหาอาหาร หรือนำมาเผาถ่าน เนื้อไม้นำมาแปรรูปเป็นไม้ก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เนื่องจากแก่นในของไม้มะขามเทศให้เนื้อสีน้ำตาลปนแดงถึงดำ ด้านข้างมีสีเลืองน้ำตาล เนื้อไม้เหนียว แข็ง และทนต่อหมอดปลวกได้ดี

-ปลูกเพื่อการบำรุงดิน เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วที่ช่วยตรึงไนโตรเจนได้ แต่ควรปลูกถึงในระยะที่ต้นไม่สูงมากนัก เพราะหากปลูกให้ต้นสูงใหญ่ ร่มเงาจะคลุมพืชอื่นๆทำให้ผลผลิตพืชในแปลงลดลง

-คนโบราณนิยมนำมาใช้รักษาโรคปากนกกระจอกเทศนั่นเอง และยังช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง